ค้นหา
หน้าหลัก
SEARCH
ฐานข้อมูลคำเรียกชื่ออาหารล้านนา
อาหารประจำธาตุ
หมวดอาหาร
การเรียกชื่ออาหารล้านนา
สรรพคุณของวัตถุดิบ
แหล่งข้อมูล (สัมภาษณ์)
ประวัตินักวิจัย
ดาวน์โหลดเอกสาร
องค์ความรู้
อัขรวิธีภาษาล้านนา
อักษรพิเศษในล้านนา
ภาษาล้านนาเชิงสนทนา
คำเรียกชื่ออาหารล้านนา
วรรณกรรมมุขปาฐะล้านนา
ประเภท
41
หมวดแกง
26
หมวดน้ำพริก
16
หมวดอาหารว่าง/ ของทานเล่น/ ขนม
15
หมวดยำ
9
หมวดตำ
9
หมวดคั่ว
8
หมวดนึ่ง
7
หมวดอุ๊ก
7
หมวดส้า
5
หมวดแอ็บ
4
หมวดต้ม
4
หมวดจอ
4
หมวดเจี๋ยว
4
หมวดอ่อม
3
หมวดโสะ
3
หมวดจ่อม
3
หมวดลาบ
2
หมวดปิ้ง
2
หมวดจ่าว
2
หมวดหลู้
2
หมวดอ็อก
1
หมวดป่าม
1
หมวดจื๋น
1
หมวดหลาม
1
หมวดมอก
จำนวน 2 รายการ
จิ๊นฮุ่ม
หมวดอุ๊ก
คำว่า จิ๊น หมายถึง เนื้อวัว ควาย เนื้อหมู หรือเนื้อเค็มตากแห้ง (ที่เรียกว่า จิ๊นแห้ง) ส่วนคำว่า ฮุ่ม มาจากการนำเนื้อที่ตากแห้งและมีกลิ่นเล็กน้อยมาปรุงแบบแกงพอมีน้ำขลุกขลิก ดังนั้น การทำ จิ๊นฮุ่ม จึงปรุงอย่างแกง เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ ให้เนื้อเปื่อย และเหลือน้ำเพียงเล็กน้อย ส่วนผสมคือ เนื้อหมู (หรือเนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อเค็มตากแห้ง ชนิดใดชนิดหนึ่ง) ตะไคร้ซอย ผักชีลาว รากผักชี ผักชีซอย ต้นหอมซอย เครื่องแกงมีพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม กะปิ ตะไคร้ซอย ข่าหั่น ขมิ้น เกลือ
แกงผักกาดหน้อยใส่ถั่วฝักยาว/ ใส่ผักชีลาว
หมวดแกง
แกงผักกาดหน้อย หมายถึง ผักกาดอ่อนที่ใบขนาด ๒-๔ เซนติเมตร ใส่ถั่วฝักยาว ใส่ผักชีลาว หรือใส่ผักโขมแดงอ่อน ใส่ผักขี้หูดอย่างละนิดอย่างละหน่อยบางท้องถิ่นเรียกแกงชนิดนี้ว่า “แกงผักอะหยิอะเหยาะ” ซึ่งหมายถึง แกงผักหลากหลายชนิด (เฉพาะผักที่กล่าวมาอย่างละนิดอย่างละหน่อยนั่นเอง) แกงชนิดนี้อาจใส่ถั่วเน่า และปลาแห้ง หรือหัวปลาชะโดแห้งด้วยก็ได้