เจดีย์


เจดีย์คือ สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งความเคารพบูชา ซึ่งหมายถึงพระรัตนตรัย‑10 เมื่อพระพุทธองค์เสด็จ ดับขันธปรินิพพานแล้ว ความหมายของเจดีย์ได้เพิ่มขึ้นจากเดิม คือ เป็นที่สร้างขึ้นอย่างเป็นรูป ธรรมเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีมีการกล่าวถึงความเชื่อในการสร้างเจดีย์ที่สำคัญ ในล้านนา เช่น

พระธาตุแช่แห้ง

“..............ในป่าไผ่ที่รัศมีผ้าแผ่นคำส่องไปนั้น คนทั้งหลายจะมาสร้างขึ้น เป็นที่วัด จักได้ชื่อว่า วัดไผ่เหลือง ในที่พระยาเอาหมากสมอแช่น้ำเกลือ แห้งนั้นศาสนาล่วงไปได้ 1,500 ปียังจักมีพระยาตนหนึ่งชื่อว่า ท้าวคาน เมือง จะมาสร้างเสริมเจดีย์ธาตุตถาคตขึ้น จะได้ชื่อว่า พระธาตุแช่แห้ง ตามนิมิตแช่หมากสมอแห้งไปถวายพระพุทธเจ้า ที่พระยาอมละว่าแม่ หญิงนี้ไปไหนช้านานนักนั้น จะมีพระยาตนหนึ่งมากินเมืองจะใส่ชื่อว่า เมืองนานแล สัตว์ที่มาขุดน้ำให้ตถาคตฉัน เมื่อศาสนาล่วงไปแล้ว 1,522 ปีจักได้มาเกิดเป็นเจ้า กินเมืองที่นี้มีชื่อว่าท้าวขาก่านแล ท้าวขาก่านตน นี้จะเป็นผู้อุปถัมภ์พระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งนักแล เมื่อพระพุทธเจ้า ทำนายเช่นนั้นแล้ว ก็เสด็จไปยังที่ริมหนองแห่งหนึ่ง พระมหาอานันทจึง ไปตัดเอาน้ำที่นั้นมาแช่หมากสมอ อันพระยาอมละเอามาถวายนั้น พระ จึงตรัสถามว่า ดูกร อานันทจะกระทำอะสังจา พระเถรเจ้าทูลว่า แช่ หมากสมอไปพลาง ๆ ก่อน ทีนั้นไปข้างหน้า คนจะมาสร้างบ้านขึ้นที่นี้ ได้ชื่อว่าบ้านแช่พลาง เมื่อศาสนาล่วงไปครั้งหนึ่งแล้ว เถระองค์หนึ่งจะ มาสร้างบรรจุธาตุตถาคตในที่นี้ขึ้น 2 หนก่อนจึงจะมั่นคงต่อไปแล หนองอันนี้ ภายหน้าจะมีพระยาเจ้าสองพี่น้องจะมารบกันในที่นี้ชิงกิน เมืองน่าน ริมหนองอันนี้ริพลโยธาจะแตกขจัดขจายกันจะได้ชื่อว่าหนอง กระจาย พระพุทธเจ้าก็เสด็จไปที่แห่งหนึ่งเวลาตะวันใกล้ตก ส่องแสงมา ต้องพระองค์เหลืองฮ่าม (อร่าม) ไปทั่วทิศทั้งสี่ พระอานันทได้ยินดั่งนั้น จึงขอให้ตั้งและไว้ศาสนาที่นี้พระผู้มีมหากรุณาอันใหญ่ก็เสด็จเหยียบผา ก้อนหนึ่ง เป็นรอยพระบาทไว้เบื้องภายหน้าคนทั้งหลายจะเรียกว่า พระบาทเมืองฮาม (พระบาทเมืองฮามอยู่ที่ตำบลนาเหลือง อำเภอสา จังหวัดน่าน) พระผู้มีพระภาคก็เสด็จไปจากที่นั้น ถึงเขาแห่งหนึ่งก็สว่าง แจ้ง ที่นั้นทำนายไว้ว่า เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว ใ ห้เอาสารีริกธาตุ ตถาคตมาบรรจุไว้ในที่นี้ด้วย จะได้ชื่อว่า ธาตุดอยจอมแจ้ง เป็นที่ สักการบูชาแก่มนุษย์เทวดาพระยาอินทร์ต่อไป พระพุทธเจ้าเสด็จไปถึง ไร่เข้าแห่งหนึ่ง เป็นเวลาเช้า พระจึงพามหาอานันท์เอาบาตรโคจรเอา เข้า ชาวไร่ทั่งหลายก็พากันมาใส่บาตรแล้วยังมีชาวไร่ผู้หนึ่งใส่บาตรแล้ว เข้าติดมือมัน มันก็แลบลิ้นเลียมือกิน พระผู้มีพระภาคจึงว่าชาวบ้านนี้ดู เขียมแท้หนอ เมื่อภายหลังพระองค์จึงเปลี่ยนคำเสียใหม่ว่า ชาวบ้าน แขม และทัดที่พระองค์เปลี่ยนคำนั้น ภายหน้าคนทั้งหลายจะพากันมา ตั้งอยู่ที่นี้เมื่อกูตถาคตนิพพานแล้ว ให้นำสารีริกธาตุมาบรรจุไว้จะได้ชื่อ ว่า เจดีย์บิด ตามนิมิตกูตถาคตเปลี่ยนคำและบิดคำคืนนั้นแล (เวลานี้ เจดีย์บิดตั้งอยู่ที่ตำบลหล่ายน่าน อำเภอสา จังหวัดน่าน) พระผู้ทรงพระ ภาคก็เสด็จไปถึงดอยทัดที่แห่งหนึ่งยั้งอยู่หัวดอยทัดที่นั้น ยังมียางผู้หนึ่ง ชื่อว่า ลุโทได้เอาพลูแห้งมาถวายเอาแช่น้ำ พระพุทธเจ้าจึงสั่งว่า เมื่อ ตถาคตนิพพานไปแล้ว ใ ห้ท่านทั้งหลายเอาธาตุกูตถาคตมาบรรจุไว้หัว ดอยที่นี้เทอะ จะเป็นที่สักการบูชาแก่คนทั้งหลาย ที่นี้จะได้ชื่อว่าพูแช่ ยางผู้นี้เมื่อทำลายเบญขันธ์ท่วนเที่ยวไปมาหลายชาติแล้วจะได้มาเกิด เป็นผู้สร้างเจดีย์ที่นี้จะมีชื่อว่า พระธาตุพูแช่ และจะสร้างเวียงที่นี้ชื่อว่า เวียงลุโทแล (เดี๋ยวนี้ตั้งอยู่ที่ตำบลนาน้อย อำเภอนาน้อยแล) พระผู้มี พระภาคเจ้าก็เสด็จไปตามนิคมต่อไป จึงยั้งอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง ยังมีพราน ป่าผู้หนึ่งตัดเอาไม้ไผ่ 2 ปล้อง โ ล่งข้อด้วยหลาวของตน โ ล่งไปแล้ว ใ ส่ น้ำมาถวายพระพุทธเจ้า พระองค์จาด้วยพระอานนท์ว่าฐานที่นี้ล่วงมา นานปางเมือกูตถาคตสร้างสมภารวันนั้นเกิดเป็นด้วงอยู่ในหน่อไม้ไผ่ โทนที่นี้แล ภายหน้าจะเป็นทางพ่อค้าทั้งหลายจะเรียกว่า ห้วยโรง ที่ พรานป่าหลาวแทงข้อไม้จะได้ชื่อว่าห้วยหลาว ต่อไปในสถานที่นี้จะเป็น ที่คนทั้งหลายจะตั้งบ้านตั้งเมือง ใ นเมื่อตถาคตจะเข้าถึงครึ่งห้าพันวัสสา ที่นี้จะเป็นที่ตั้งศาสนา เป็นที่บำเพ็ญต่อไปแล เมื่อนั้นพระผู้มีพระภาคก็ เสด็จต่อไปตามบ้านเมืองใหญ่ทั้งหลาย เพื่อโปรดบรรณสัตว์แล....”


ตำนานพระธาตุแช่แห้ง

เจดีย์วัดเจดีย์หลวง

“.......... อะยัง ตาวัง สะราชะคาถา ลำดับด้วยท้าวพระยา 15 ตน อัน เป็นพระยาในเมืองพิงเชียงใหม่นี้ ส่วนว่าพระยาตนถ้วน 6 คือว่าท้า วกือนาเป็นพระยาด้วยอันชอบมากนัก คันจุติตายก็ได้ไปเกิดเป็น รุกขเทวดา อยู่ยังไม้นิโครธต้น 1 มีที่ใกล้หนทางอันจักเข้าไปสู่เมือง พุกามนั้นแล ใ นกาลคาบ 1 ยังมีพ่อค้าหมู่ 1 เอาของค้าแต่เมือง เชียงใหม่เพื่อจักไปค้าขายยังที่เมืองพุกามก็ไปเถิงถานาที่นั้น เขาไปจอด นอนอยู่ร่มไม้นิโครธหั้นแล เมื่อนั้นรุกขเทวดาก็สำแดงตนหื้อปรากฏแก่ พ่อค้าทั้งหลายว่า ชาวพ่อค้าทั้งหลายลุกแต่บ้านใดเมืองใดมายังจอด นอนอยู่ในร่มไม้ที่นี้แล้วจักไปที่ใดชา เมื่อนั้นพ่อค้าผู้เป็นนายก็กราบทูล ขานตอบเทวดาว่า ผู้ข้าทั้งหลายลุกแต่เมืองเชียงใหม่มา จักไปค้าขาย ในเมืองพุกามแล เมื่อนั้นรุกขเทวดาก็กล่าวว่ากูนี้คือพระยากือนา อัน เป็นพ่อแห่งพระยาแสนเมืองมาอันเป็นเจ้าแห่งสูบัดนี้แล กูตายก็ได้มา เกิดเป็นเทวดาอยู่ต้นไม้นิโครธต้นนี้แล สูท่านทั้งหลายเมือเวียงพิงแล้ว สูจุ่งจักบอกหื้อแก่ลูกกูคือพระยาแสนเมืองมานั้นว่าดังนี้ หื้อกล่าวตาม ดั่งที่สูได้มาหันแลหื้อลูกกูสร้างเจดีย์หลัง 1 ยังท่ามกลางหื้อใหญ่สูงกว่า เจดีย์ทั้งหลาย หื้ออยู่ที่ไกลประมาณ 6 พันวา 5 พันวา ผ่อหันยอดใน ท่ามกลางเวียงหั้นแล้ว หื้อฉลองเป็นทานอุทิศส่วนบุญมาเถิงกูเทอะ กูก็ จักได้เมือเกิดสวรรค์เทวโลกด้วยนาบุญอันนั้นแล เทวดาก็สั่งพ่อค้าทั้ง หลายเท่านั้นแล้วก็กลับหายไปหั้นแล พ่อค้าทั้งหลายก็รู้จักว่าเป็นพระยากือนาแท้บ่สงสัยเขาก็ยินดีชุคนแล เขาก็เข้าไปสู่เมืองพุกาม เมื่อหื้อขายน้ำค้าแห่งเขาตามอันมักแห่งเขาแล้ วก็พิกคืนมาเถิงเมืองเชียงใหม่ แล้วเขาก็ไปสู่สำนักพระยาแสนเมืองมา ไหว้สาบอกข่าวตามเทวดาหากสั่งทุกประการแล พระยาแสนเมืองมา ได้ยินข่าวสารทั้งมวลฝูงนั้นแล้ว ท้าวก็หื้อหามายังเสนาอามาตย์ทั้ง หลายมาแล้ว ท้าวก็เสด็จไปเรียบเล็งดู หาที่อันจักก่อสร้างยังเจดีย์แล้ว ก็หันยังเจดีย์อันพระยาอินทร์และพระยาอโศกราชสร้างไว้ชื่อโชติ อาราม อันมีหนใต้ราชมณเฑียรเป็นท่ามกลางเวียงแล ที่นั้นเป็นที่ประจุ พระธาตุพระพุทธเจ้าแล บ่เป็นสาธารณแก่คนแลสัตว์ทั้งหลาย บ่เป็น อุปจารปัสสาวะที่ใกล้ได้แล เหตุเทวดารักษาบ่ขาดแล เถิงเมื่อศาสนา ควรรุ่งเรืองดั่งอั้น เทวดาก็บันดลเข้าหัวใจท้าวแสนเมืองมาหื้อมีใจ เลื่อมใสยินดีในพระพุทธศาสนา ใ นโชติอารามที่นั้น ท้าวก็ปลงอาชญา หื้อแก่เสนาอามาตย์ทั้งหลายกวาดแผ้วถางดีงามแล้ว ก็ขุดแขวดแวดวง ไปชุด้าน ก็หื้อพ่ำเพ็งเต็มด้วยหินแลทราย ก็หื้อทุบตำหน่าหื้อหมั้นแน่น หนาราบเพียงเรียงงาม เพื่อจักตั้งสร้างแปงยังเจติยะหลวงหลังใหญ่ก่อ กวมเจติยะหลังน้อยนั้นหั้นแล ในขณะยามนั้น อัศจรรย์ก็เกิดเป็นต้นว่า แผ่นดินไหว เกิดก้องร้องนั้น มากนัก ก็ด้วยธาตุพระพุทธเจ้าแล ถัดนั้นพระยาก็หื้อแปงมหาโพธิพิม 2 ต้น มีลำอันแล้วไปด้วยเงิน มีใบแลยอดอันแล้วไปด้วยทองคำสูงเท่า พระยาแล พระยาก็หื้อหล่อแปงพุทธรูป 2 องค์ๆ 1 แล้วด้วยเงิน องค์ 1 แล้วด้วยทองคำ กับทั้งเครื่องปูชาเป็นอันมากนัก กาลยามนั้น อตีตะ พุทธศาสนาได้ 1634 วะสา จุลศักราชได้ 752 ตัวปีกดสะง้า เดือน -- ออก 8 ค่ำ วัน 5 ไทยเบิกสันได้ฤกษ์กด ถ้วน 8 ชื่อว่า ยุสสยะยามตา วันเย็นเป็นวันดีพระยากับเสนาอามาตย์แลสมณะพราหมณ์นักบวชเจ้า ทั้งหลาย ก็พร้อมกันนำเอายังมหาโพธิพิมอันนั้นไปตั้งไว้ท่ามกลางเจติ ยะมูลละนั้นแล้ว ก็ตั้งยังพุทธรูป 2 องค์นั้นไว้เค้ามหาโพธิพิม กับเครื่อง ปูชาทั้งหลายแล้ว พระยาก็หื้อตั้งแรกก่อมหาเจติยะวันนั้นแล พระยาก็ หื้อก่อเถิงหลังมุงนานได้ปี 1 ยังบ่ทันแล้ว พระยาก็ลวดเถิงอนิจจะไป วันนั้นแลฯ เอวัง อนิจจะตัง จมมะ ยะตาวะมะยัง นิรูปะทิวา ยะเม เทวปักขิตะปะตุง อะสะวักขะ ยะติอะยังมหาเจติยะ สะมะถะมุมปัตติ ธปินากะถาฯ ถัดนั้นท้าวฝั่งแก่นได้เป็นพระยาในกับแม่แห่งตน ผู้ชื่อว่า ติโลกะจุฑาราชเทวียามนั้น ศักราชได้ 769 ตัวปีเมืองไก๊ นางติโลก จุฑาราชเทวีจิ่งซ้ำหื้อก่อแต่หลังมุงปราสาทหลังมุงเจดีย์นั้นนานได้ 5 ปี มาเถิงปีล้วงเหม้า เดือน 10 เพ็ง ศักราชได้ 773 ตัว นางเทวีจิ่งหื้อปก ยอดอันแล้วด้วยคำหนักได้ 8,902 เสี้ยงคำ กับแก้ว 3 ลูก ชุมนุมกันไว้ ในยอดเจดีย์นั้นแล พระมหาเจติยะหลังนั้น แต่ติดธรณีขึ้นเถิงยอดได้ 39 วา มหาชินธาตุเจ้าหลังนั้นประดับไปด้วยโขงประตูหับไขทั้ง 4 ด้าน พระพุทธรูป 4 องค์ก่อแล้วด้วยปูนสะตายนั่งในโขงทั้ง 4 ด้าน มหาเจติ ยะหลังนั้นมีขั้นไดทั้ง 4 ด้าน มีรูปนาคตัวแลตัวมีหัว 5 หัว รูปราชสีห์ 4 ตัว อยู่ 4 แจ่งตีนขอมแล มหาเจติยะนั้นปรากฏแก่ตาคนทั้งหลายอัน อยู่ 4 ทิศ 8 ทิศที่ไกลได้ 6 พันวา 5 พันวา ก็ผ่อหัน ดูงามยิ่งนัก แลฯ...........”


ตำนานวัดเจดีย์หลวงในเมืองนพบุรีนครเชียงใหม่

เจดีย์มีทั้งหมด 4 ประเภท คือ

(1) ธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ประเภทแรกที่เกิดขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของ พระพุทธองค์โ ดยการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วน แจกจ่ายตามสถานที่ เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติเพื่อบรรจุในองค์เจดีย์ต่อมาในสมัยพระเจ้าอโศกได้รวบรวม พระบรมสารีริกธาตุจากเจดีย์ทั้ง 8 แห่งนั้นมาทำการแบ่งอย่างละเอียดอีกครั้งเพื่อแจก จ่ายไปเมืองต่างๆ ที่มีการเผยแพร่พุทธศาสนา ก่อให้เกิดธรรมเนียมการสร้างธาตุเจดีย์ ซึ่งสันนิษฐานว่าได้เข้ามาพร้อมกับการเผยแพร่พุทธศาสนานั่นเอง

(2) บริโภคเจดีย์เริ่มจากการสร้างเจดีย์ขึ้นที่สังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง ที่เกี่ยวกับพุทธประวัติ ของพระพุทธเจ้าและเจดีย์บรรจุพระอังคาร เจดีย์บรรจุทะนานโลหะที่ใช้ตวงพระบรม สารีริกธาตุ หลังจากการถวายพระเพลิงของพุทธสรีระ ต่อมาได้เพิ่มเจดีย์ตามสถานที่ แสดงพุทธปาฏิหารย์อีก 4 แห่ง และการบรรจุพุทธบริขารต่างๆ ที่สมมติขึ้นในภายหลัง

(3) ธรรมเจดีย์คือ การจารึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้รวมถึงพระไตรปิฎก พระ ธรรมคัมภีร์ทางพุทธศาสนา โ ดยธรรมแทนพระพุทธเจ้า ดังที่ทรงตรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นเรา” เพื่อเป็นการระลึกถึงพระพุทธองค์และพระธรรมคำสอนควบคู่กัน เช่น การสร้างเจดีย์ 84,000 แห่ง เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นตัวแทนของพระ ไตรปิฎก 84,000 พระธรรมขันธ์อีกประการหนึ่ง

(4) อุเทสิกะเจดีย์ หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้านอกเหนือจากเจดีย์ทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมาข้างต้น โ ดยมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปตามคติสัญลักษณ์ที่กำหนด รูปแบบการสร้าง เช่น การสร้างพุทธบัลลังก์ การสร้างพระพุทธรูป การสร้างรอย พระพุทธบาท ที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ของการสร้างเจดีย์เพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า ทั้งหมดจัดเป็นอุเทสิกะเจดีย์

การสร้างเจดีย์เปรียบเสมือนการสร้างตัวแทนของพระพุทธเจ้าเพื่อการเคารพบูชา ซึ่งปรากฏอยู่ ตามพุทธสถานทุกแห่งมาเป็นเวลานาน โ ดยเจดีย์ในรูปของสิ่งก่อสร้างที่เรียกตามความหมาย เดียวกัน หรือคล้ายกับคำว่า สถูป สร้างตามแนวคิดที่ว่า “พระสถูปคือพระพุทธองค์ และ พระพุทธองค์คือพระสถูป” ซึ่งเป็นที่แพร่หลายและยอมรับโดยทั่วไปในดินแดนพุทธศาสนา‑15 ซึ่งพบหลักฐานการใช้เจดีย์เป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า เช่น การกำหนดภาพเจดีย์จำนวน มากในภาพจิตรกรรมฝาผนังเพื่อแทนภาพอดีตพุทธหลายพระองค์เป็นต้น นอกจากการสร้างเจดีย์เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้าแล้ว พบว่ามีคติการสร้างเจดีย์เพื่อถวาย เป็นพุทธบูชา ที่ปรากฏในเรื่องอานิสงส์โ ดยกล่าวถึงเจดีย์ทรายองค์แรกที่สร้างขึ้นโดยพระเจ้า ปเสนทิโกศล เมื่อครั้งเสด็จดำเนินไปยังเมืองสาวัตถี ทรงทอดพระเนตรเห็นเมล็ดทรายขาวผ่อง บริสุทธิ์ ณ หาดทรายริมฝั่งน้ำใกล้เมือง ทรงมีพระทัยเลื่อมใสอย่างแรงกล้า ทรงกวาดทรายมา ก่อเป็นพระเจดีย์อันเรียกเป็นภาษาบาลีว่า วาลุกเจดีย์ นับได้ 84,000 องค์แล้วอุทิศเป็นพุทธ บูชา ธรรมบูชาและสังฆบูชา16‑ สันนิษฐานว่าการเรียกชื่อเจดีย์ทราย มาจากรูปทรงของกอง ทรายที่คล้ายกับรูปทรงเจดีย์ เนื่องจากมีความหมายและวัตถุประสงค์ในการสร้างแตกต่างจาก เจดีย์โ ดยเจดีย์ทรายหมายถึงกองทรายที่ถวายเป็นพุทธบูชา สำหรับการก่อสร้างและทำนุบำรุง วัดต่อไป