เครื่องสักการะบูชา ที่ปรากฎในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี


จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีมีการกล่าวถึงเครื่องงสักการะ เป็นจำนวนมาก ทั้ง เครื่องสักการะบูชาทาง ศาสนา เครื่องสักการะบูชาตามความเชื่อ เครื่องสักการะบูชาบุคคล เช่น

เครื่องสักการะบูชาทางศาสนา

ในกาลนามนั้นยังมีมหาเถรเจ้าหมู่ 1 เอาธาตุพระพุทธเจ้าแต่สิงหลที่เมืองลังกา มาหื้อแก่เจ้าพญามังราย 2 ดวง เจ้าพญามังรายรับเอาธาตุพระพุทธเจ้าแล้วมีคำยินดีมากนัก เจ้าพญามังรายก็เอาคำพุ่น 500 ฝากมหาเถรเจ้าไปบูชามหาโพโพธิเจ้าในเมือง ลังกานั้นแลมหาเถรเจ้าทัง 4 ก็รับเอาคำ 500 นั้นกลับคืนเมือเมืองลังกา แล้วบูชามหาโพธิ์ใน ลังกา มหาเถรเจ้า/ทัง 4 ตน อธิษฐานว่าผู้ข้าทังหลายจักเอาสาสนาพระพุทธเจ้าเมือตั้งในล้าน นา ผิว่ายังจักก้านกุ่งรุ่งเรืองแท้ขอหื้อลูกมหาโพธิตกลงเหนือจีพรแห่งตูข้าแดว่าอั้น ลูกมหา โพธิก็ตกลงเหนือผ้าจีวรแห่งเขาเจ้าแล (2.08V) 2.16) ตนแลลูก มหาเถรเจ้าทัง 4 ก็เอามหา โพธิใส่ในบาตรแห่งตน ลูกมหาโพธิเจ้าก็งอกออกทัง 4 ต้น ก็เอามาหื้อพญามังรายเอาไปปลูกที่ ยั้งเมืองฝาง 1 เอาไปปลูกยังรั้วน่างต้น 1 เอาไปปลูกยังพันนาท่ากานต้น 1 พญามังรายเอา หื้อ/ราชมาดาแห่งตนตนชื่อว่าเทพคำขร่างกับนางพายโค เอาไปปลูกแทนที่ไม้เดื่อเกลี้ยงวัน กานโถมต้น 1 หั้นแล พญามังรายก็บูชามหาโพธิ์ด้วยเครื่องบูชาต่างๆ มหาโพธิ์ก็กระทำ ปาฏิหาริย์เบ่งรัสมีแจ้งทั่งเมืองทังมวล

พญามังรายก็บูชามหาโพธิ์ด้วยเครื่องบูชาต่างๆ มหาโพธิ์ก็กระทำปาฏิหาริย์เบ่ง รัสมีแจ้งทั่งเมืองทังมวลใน/คืนนั้นเทพดาก็แตลงตนเป็นช้างเผือกมีบริวารได้ พัน 1 มาแวด มหาโพธิ์อยู่รักสาคืนรุ่ง บ่หื้อสัตว์สิ่งมากรายได้สักตัว แม่นมากรายก็เป็นอันตรายแก่สัตว์ทัง หลายฝูงนั้นแล พญามังรายก็แต่งวัตถุทังหลายไว้เป็น/อุปการแก่วัดกานโถมที่นั้น หื้อปักแค ล้นเก็บเบี้ยค่านาปีไหน 6 แสน 2 หมื่นเบี้ย เป็นค่าจังหันแคว้นแจ่ม 5 แสนเบี้ย เป็นค่ากิน แคว้นแช่ช่าง 5 แสน เบี้ยไว้เป็นค่าหมากเจ้าภิกขุทังหลาย บ่แต่เท่านั้น เจ้ามัง/ รายกับนางพายโคก็หื้อคนทังหลาย 55 บ้าน 500 ครัว คือว่าเม็ง อันเจ้ามังรายแลนางพายโค เอามาแต่เมืองหงสาวดีนั้นหยาดน้ำหมายทานไว้กับวัดกานโถมวันนั้นแล ที่นี้จักจาด้วยสร้าง เวียงเชียงใหม่ก่อนแล เจ้าพญามังรายอยู่กุมกาม

ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ผูก 2 หน้า 38-39

ในเมื่อเจ้ากือนาจักจุติวันนั้นวางจิตบ่ช่างตายได้ไปเป็นรุกขเทวดาอยู่ยังไม้นิโครธต้นหนึ่ง ริมหนทางไปเมืองพุกาม ยังมีพ่อ / ค้าเมืองเชียงใหม่ส่วนหนึ่งไปค้าเมืองพุกาม คืนมาจอดนอนร่ม ไม้นิโครธต้นนั้นเจ้ากือนาเซิ่งเป็นรุกขเทวดาก็สำแดงหื้อปรากฏ แล้วบอกแก่พ่อค้าทังหลายฝูงนั้น ว่ากูนี้คือพญากือนา กูอยู่เป็นพญาในเมืองเชียง / ใหม่หุมด้วยคชสาสตร์เพทคือเป็นหมอช้างตาย มาเป็นเทวดาอยู่ไม้นิโครธต้นนี้จักไปเกิดเทวโลกบ่ได้สูจุ่งบอกแก่ลูกกูเจ้าแสนเมืองมาหื้อสร้างเจ ติยะยังท่ำกลางเวียงหลังหนึ่งสูงพอตนอยุ่ไกลพอ / สองพันวาผ่อหันแล้วจุ่งหื้อทานหยาดน้ำอุทิ สบุญหื้อแก่กูก็จุ่งไปเกิดเทวโลกได้ชะแลว่าอั้น พ่อค้าทังหลายฝูงนั้นก็มาบอกแก่เจ้าแสนเมืองมา ด้วยดังว่านั้น เจ้าแสนเมืองมาจึงหื้อเผี้ยวท่ำกลางเวียงพายใต้คุ้ม แล้วหื้อขุดรากเลือน หินธารจึงแปลงมหาโพธิต้น 1 มีลำแล้วด้วยเงินมีใบและยอดแล้วด้วยคำสูงค่าคิงเจ้าแสน เมืองมา แล้วหื้อหล่อรูปพระเจ้าองค์ 1 แล้วด้วยคำต้น 1 แล้วด้วยเงินก็ไปไว้ในรากเจติยนั้นก็เอา พุทธรูปสององค์หื้อนั่งเคล้าไม้มหาโพธินั้น แล้วก็แต่ง / เครื่องปูชาตั้งไว้ชองหน้ามหาโพธิกับพุทธ รูปเจ้าหั้นแล

เครื่องบูชาตามความเชื่อ

พระยางำเมือง พระยาร่วง แสดงเหตุอันเป็นไชยมงคล 7 ประการแก่พระยามังรายดังนี้พระยามั งรายทรงคำนึงว่า สหายกู พระยาทั้งสองมีความรู้ความฉลาด สรรพศิลปศาสตร์เภท ลักขณะ อันเป็นไชยมงคลยิ่งนัก ศาสตร์เภทอันกูรู้มีเท่าใด สหายกูทั้งสองก็รู้ดั่งกูทุกประการ ทรงคำนึงดัง นั้นแล้วก็ชวนเอาพระสหายทั้งสองไปเลียบดูที่จักควรสร้างประตูเมือง แล้วพระยาทั้งสามก็พา กันมานั่งประทับอยู่หนอีสาน พระยามังรายก็ให้พระยาทั้งสองเสวยพระกระยาหาร และน้ำจัณฑ์ แลเลี้ยงดูสกลเสนาโยธาของเจ้าพระยาทั้งสองด้วยสุราอาหารจนอิ่มหนำสำราญดีทุกคน แล้ว เจ้าพระยาทั้งสามก็ให้แต่งเครื่องบริกรรมบูชาเทวดาทั้งหลาย ฝูงอันรักษาเมือง กระทำบริกรรม บูชาแต่งเป็น 3 โ กฐาก บูชาที่ไชยภูมิอันจักตั้งหอนอน โ กฐากที่ 2 บูชาพระเสื้อเมือง ที่พระยา หนูเผือกอยู่กลางเวียง โ กฐากหนึ่งมาทำเป็น 5 ส่วน ไ ปบูชาที่จักทำประตูเมืองทั้ง 5 แห่ง เจ้า พระยามังรายให้เสนาอำมาตย์ผู้ฉลาดด้วยราชกิจการแบ่งออกควบคุมการก่อสร้างเวียงทั้งหลาย 50,000 คน ให้สร้างราชมนเทียร หอนอน ราชวัง คุ้มน้อย โรงกับ เล้มฉาง โรงช้างม้า สรรพกิจ อันควรทำในคุ้มน้อยทุกประการ อีกพวกหนึ่ง 40,000 คนให้เขาขุดคูปราการเวียงทั้ง 4 ด้าน ให้ ทำเขื่อนประตู หอหิ้ง หอเรือให้พร้อมทุกอัน เมื่อเจ้าพระยามังรายมอบหมายหน้าที่ให้พ่อเวียก นายการพร้อมแล้ว ก็แรกตั้งราชมนเทียรคุ้มน้อย ขุดคูก่อปราการ กำแพงเวียงทั้งมวลในศักราช 658 ปีมะโรงอัฐศก (ปีรวายสี) เดือน 8 เพ็ญ เม็งวันศุกร์ฤกษ์กรกฎ ได้ 16 ตัว ยามแถลใกล้รุ่ง ไว้ลัคนาในมีน อาโปธาตุราศีใ ห้แรกตั้งสรรพทั้งมวล แรกขุดคู ก่อปราการเวียงหนอีสานก่อน แล้วอ้อมไปทางทิศใต้จนตลอดทั้ง 4 ด้าน ให้พร้อมกัน ไม่ก่อนไม่หลังกัน แรกตั้งตลาดเชียงใหม่ ก็ยามเดียวกันนั้น

เจ้าพระยาทั้งสามก็ใช้ช่างแต่งบริกรรมออกเป็น 6 โ กฐาก อาราธนาเทพยดาทั้งหลายมาอยู่ รักษาที่ไชยภูมิท่ามกลางเวียง และประตูทั้ง 5 แห่งนั้นฯ เจ้าพระยาทั้งสามพร้อมกันสร้างเวียง ปราการ คุ้มน้อย ราชมนเทียร สัพพทั้งมวลนานได้ 4 เดือน จึงแล้วเสร็จบริบูรณ์ทุกประการ เจ้า พระยามังรายก็ให้เล่นมหรสพเฉลิมฉลอง 3 วัน 3 คืน เลี้ยงเสนาโยธา และคนกระทำการก่อ 71 เวียงทั้งหลาย ใ ห้อิ่มหนำสำราญด้วยสุราอาหารถ้วนทุกคน พระยามังรายและพระยาทั้งสองจึง พร้อมกันเบิกนามเมืองว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่”

ตำนานราชวงศ์ปกรณ์หน้า 144-145

เครื่องปูชาชาตาเมือง

พญาห้อเจ้าลุ่มฟ้า พ้อยแต่งพลเสิกมาตั้งอยู่แดนเชียงแสน........... เจ้าพญาสามประยาฝั่ง แกนรู้ข่าวจึงหื้อชุมนุมหมอหูรานักปราชญ์ทังหลายมาพิจจรณาดูชาตา / เมืองเชียงใหม่เชียงแสน หมอว่า เคราะห์เมืองงมีมากนัก เราควรพร้อมกันปู/ชาชาตาเมืองก่อนแล ถัดนั้น ควรปู ชาสรีเตชะ อายุเมือง แล้วปูชาอารักษ์เมืองชุแห่ง ถัดนั้นหื้อปูชาท้าวจตุโลกบาลทัง 4 และอิน ทธิราชเป็นถ้วน 5 แล้วหื้ออาราธนาเทวดาหื้อช่วยรักสาเมืองเราทั่วอาณารัฐชุแห่งดีชะแลว่าอั้น เมื่อนั้นหมอโหรา นักปราชญ์ ทังหลายก็พร้อมกันว่าควรชุประการ นักปราชญ์ ทังหลายเป็นต้นว่ามหาเรสิริวังโสเจ้าก็แต่งเครื่องพลีกัมม์ปูชาชุแห่งงตามนัยดังกล่าวนั้นชุอัน แล้วเจ้าพญาสามประยาก็หื้อแต่งเครื่องพลีกัมม์หื้อเมือกับมหาเถรเจ้าหื้อเมือปูชาอารักษ์ เชียงแสน เชียงราย / กับหื้อปูชาอารักษ์ตามหนทาง มหาเถรเจ้าก็ปูชาอารักษ์หนทางแต่ เชียงใหม่ต่อเท้าเถิงเชียงรายเชียงแสนแต่งปูชาอารักษ์เมืองชุแห่ง เป็นต้นว่าปูชาเจ้าพญามังราย ด้วยอันครพ แล้วปูชาอารักษ์ในหนทางแต่เชียง/รายรอดเชียงแสนแล มหาเถรเจ้าจึงสูตรมันต รัตนสูตรเมตตอาสนาฏิยสูตร (ชื่อบทสวดที่พระสงฆืใช้สวดในพิธีกรรม) แล้วหยาดน้ำอุทิสบุญ หื้อแก่อารักษ์เทพยดาอันรักสาเมืองชุแห่ง แล้วมหาเถรเจ้าก็แต่งปูชาอารักษ์เมืองเชียงแสนชุ/ แห่ง แล้วหื้อแต่งหอพลีกัมม์ 4 แห่ง ไว้ท่ำกลางเวียงปูชาท้าวจตุโลกบาลทัง 4 ในหอท่ำกลางอุทิ สสบูชาพระอินทร์แล้วก็หื้อแต่งปูชาอารักษ์น้ำแม่ของทังมวล

ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ผูก 4 หน้า 75-76

เครื่องปูชาพิธีทำบุญเมือง

ทีนี้จักจาด้วยเมืองรัตนติงสาพระนครเชียงใหม่อันห่างร้างสูญเสียนานได้ 20 ปีใ นเวียงทั้งมวล ประกอบด้วยต้นไม้ป่าหญ้า เครือเขาเถาวัลย์ป่าหวายทั้งหลายมากนัก เป็นที่เสพอยู่แห่งเนื้อ เหยื่อคะนองทั้งหลาย เป็นต้นว่า เสือ หมีแรด ช้าง งัวคะติง ลิงสน หมูเถื่อน ระมั่ง ทะลาย(เนื้อ ทราย) กวาง ฟาน (เก้ง) เข้ามาอยู่อาศัยในเวียงทั้งมวล วรพุทธศาสนาวัดวาบ้าน โบสถ์พุทธรูป เจดีย์รั้วเวียงทั้งมวลเป็นชราชินะหลุคร่ำโปดพังไปเป็นอันมาก ตั้งแต่ศักราช 1138 ตัวปีรวายสัน (พ.ศ.1319 ปีวอกอัฐศก) มาถึงศักราช 1158 ตัวปีรวายสี (พ.ศ.2339 ปีมะโรงอัฐศก) พระเป็น เจ้าทั้งสามองค์พี่น้อง เข้ามาตั้งแล้วจึงจักเป็นบ้านเมืองมาเล่าแล พระเป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ พร้อมกันก่อสร้างแปงยังทาดท้าวปราการ กำแพง เมฆ (คือกำแพง) เวียงทั้ง 4 ด้าน แจ่ง (มุม) เวียงทั้ง 4 ประตู 5 ใ บ แล้วปฏิสังขรณ์เลิกยกยอสร้างแปงวัดวาศาสนา ริบรอมนิมันตนายัง พระพุทธเจ้านอกเวียง วัดห่าง วัดร้าง วันตก วันออก ใต้หนเหนือทั้งมวล มีพระพุทธเจ้าแค่งคม เป็นประธาน เอาเข้ามาสถิตสำราญไว้ยังในเวียงทั้งมวล หื้อเป็นที่ไหว้สาสักการบูชาแก่คนและ เทวดาสมณะพราหมณ์ทั้งหลาย บ่ขาดเสียชุวันนั้นแลฯ

ในกาลนั้น เมืองรัตนตึงสาพระนครเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยปราการกำแพงหอหิ้ง หอเรือ หอ ป้อม หัวหมูประตูเวียง อาดและคือ (คูเมือง) กว้างเลิ้ก (ลึก) หัวระพ่ำเพ็งเต็มไปด้วยน้ำ ดาดาษ เต็มไปด้วยดอกป้าน จังกร ดอกบัวขาว บัวแดงต่างๆมีวัดวาศาสนาก้านกุ่งรุ่งเรือง สุคติคมณะ เกษมเต็มไปด้วยท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ข้าเจ้าไพร่ไทย ผู้คนชนบทบ้านน้อยบ้านใหญ่ทั้งหลาย มากนัก ประกอบไปด้วยเข้าเหล้าชิ้นปลาอาหาร พร้าว ตาล หมาก พลูส้มสุกลูกหวาน เข้าหนา ปลาถูกสนุกสุขเจริญ กินทานเล่นม่วน มโหรสพ ปอยลามจ๊อย ซอ สืบส คันโลง ดีดสีขับฟ้อน ต่างๆ เสียงปี่พาทย์ฆ้อง กลองอุย แน ถะแหลเหิน(?) แคน คอนติง ซอระสีซอเปี๊ยะ พิณ บัณเฑาะว์ หอยสังข์ เป็นอันสนั่นนันเนือง อุกขะหลุกทุกค่ำเช้า บ่หม่นหมองเศร้าในศาสนา ดั่ง ท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ข้าเจ้าไพร่ไทยทั้งมวลได้เป็นเจ้าช้างเจ้าม้า ทรงเครื่องงามอลังการปาน ดังเทวดาอันอยู่ชั้นฟ้าตาวติงสาสวรรค์เทวโลกนั้นแล และตั้งแต่ปกพระอุโบสถวันพระสิงห์เจ้ามา ได้ 3 เดือนปลาย 3 วัน เดือน 12 แรม 5 ค่ำ วันพฤหัสบดีพระมหาสวามีเจ้าวัดพันเท่าก็ถึง อนิจกรรมไปวันนั้นแลฯ

อยู่ได้เดือนปลาย 15 วัน ถึงเดือนยี่ ออก 5 ค่ำ วันเสาร์มีสมเด็จเชษฐาบรมบพิตรกษัตราธิราช องค์เป็นพระเชษฐา เป็นเค้า เจ้ามหาอุปราชานราธิบดีศรีสุวรรณฝ่ายหน้า หอคำ และเจ้าฟ้า หลวงเมืองหริภุญไชย เจ้าศรีบุญมาหอหน้าเมืองลำพูน ขัตติยะราชวงศา ท้าวพระยาเสนา อำมาตย์ราชมนตรีทั้งหลาย หมายมีจตุรงคเสนา 4 จำพวก เป็นประธาน และคณะพระสังฆเจ้า มีพระมหาอุปราชาคุรุเจ้าเป็นเค้า ได้นำเอาเครื่องมหาทานทั้งหลายหมายมีมหาอัฐบริขาร และสุ วรรณมัญจนา จองคำ (จอง คือเตียง) อาสนา พระเจ้างาช้าง ตุงกระด้าง (ตุง คือ ธงตะขาบ - ตุง กระด้างคือธงตะขาบที่ทำด้วยไม้) ช่อฟ้า 6 ตัว หีดหลวง (หีบใหญ่ เข้าใจว่าอาจเป็นตู้พระไตร ปิฏก) ตุงพระบท มุจรินทร์คำ และเครื่องท้าว 5 ประการ เปิงฉัตร พัดค้าว จามร ละแอ บังวัน ไม้เท้า ไ ม้วา สัตตะ สัตตา ยุคลา ช่อช้างตุงไชย หยาดยายไปก่อนหน้า ยกออกจากพระนคร เชียงใหม่ ไปด้วยลำดับคราวทาง 5 วัน ไปรอดถึงเมืองกุกุตพันธเสนพราหมณ์เขลางค์นครไชยสุข วดี (คือเมืองนครลำปาง) แล้วอยู่ถึงเดือนยี่เพ็ญวันอังคาร ก็ได้อบรมเบิกบายฉลองต่างช่อฟ้าพระ วิหารและหื้อทานแก่ภิกขุสังฆะ มีพระมหาชินธาตุเจ้าวัดหลวงลำปางที่นั้นเป็นประธาน เป็นมหา สมัยกาลอันยิ่งใหญ่ เล่นม่วน เจาะบอกไฟดอก บอกไฟดาว ไฟเทียน ไฟขึ้น เป็นอันสนุกสุขสันติ์ หาประมาณบ่ได้หั้นแลฯ

ราชวงศ์ปกรณ์ผูกที่ 8 หน้า 287
เครื่องสักการะบูชา เครื่องสักการะบูชาในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคด เครื่องสักการะบูชาทางศาสนา เครื่องสักการะบูชาตามความเชื่อ เครื่องสักการะบูชาบุคคลพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต เครื่องใช้ในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต ตัวอย่างพิธีกรรมและเครื่องใช้ในพิธีกรรมพิธีกรรมตามช่วงเวลา พิธีกรรมตามช่วงเวลาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมล้านนา ตัวอย่างพิธีกรรมตามช่วงเวลาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะ ตัวอย่างพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะที่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ตัวอย่างพิธีกรรมและเครื่องใช้ในพิธีกรรม เครื่องใช้ในพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะ