เครื่องสักการะบูชาตามความเชื่อ


ลำดับ ชื่อเครื่องสักการะบูชาตามความเชื่อ หมายเหตุ
1 ขันบูชาเสื้อวัด พานดอกไม้สำหรับให้ประชาชนนำดอกไม้ธูปเทียนมาใส่รวมกันเพื่อบูชาเสื้อวัด
2 ขันตั้ง ใส่เครื่องบูชาครูตั้งไว้ก่อนการทำพิธีกรรมและจนกว่างานจะเสร็จเรียบร้อย จึงจะมีการ “ปลดขันตั้ง” ขันตั้ง จะมีชื่อเรียกตามพิธีกรรมต่างๆ เช่น ขันตั้งถอนขึด ขันตั้งถอนผีตายธรรมดา ขันตั้งถอนผีตายบ่สมควร ขันตั้งสืบชะตาคน ขันตั้งสืบชะตาหมู่บ้าน ขันตั้งสืบชะตาเมืองฯ
3 ขันครู ขันใส่ดอกไม้ธูปเทียน 12 เล่ม 16 เล่ม หรือ 36 เล่ม แล้วแต่ความเชื่อเพื่อบูชาพ่อหมอหรือปู่อาจารย์
4 ขันครูใหญ่ ในประเพณีอินทขีล ขันครูสำหรับพ่อหมอใหญ่หรือครูบาอาจารย์ทั่วเมือง โ บราณจารย์ได้กำหนดเครื่องสักการะแต่ละประเภทไว้ ประเภทละ 1300 ตามจำนวนของมงคลในศาสนาพราหมณ์คุณพระพุทธ คุณพ ระ ธ ร ร มคุรพระสงฆ์กำลังดาวนพเคราะห์กำลังของธาตุทั้ง 4 และอื่นๆ
5 ขันครูน้อย ขันที่หมออาคมทั้งหลายเตรียมขึ้นเป็นของตนเอง แล้วนำไปวางไว้ภายในอินทขีลเพื่อเป็นเครื่องสักการะอินทขีล ใ นประเพณีอินทขีล เมื่อเสร็จพิธีจะนำขันครูกลับบ้านของตน
6 ขันข้าว โตกบรรจุข้าวปลาอาหารสำหรับเซ่นสังเวยผีเจ้านาย
7 ขันหมากขันพลู ขันหรือพานใส่หมาก พบในพิธีกรรม เช่น พิธีเลียงผีเจ้านาย
8 ฝ้าย ด้ายไหมมัดมือ ฝ้ายขาว ฝ้ายแดง ฝ้ายล้วง ฝ้ายค่าคิง ฝ้ายไส้เทียน ฝ้ายทำยัญ หรือตะกรุด

ขันบูชาเสื้อวัด

ขันบูชาเสื้อวัด

ขันเชิญ

ขันเชิญ

ขันครู

ขันครู

ขันครูใหญ่

ขันครูใหญ่

ขันครูน้อย

ขันครูน้อย

ขันข้าว

ขันข้าว

ขันหมากขันพลู

ขันหมากขันพลู

ฝ้าย

ฝ้าย

เครื่องสักการะบูชา เครื่องสักการะบูชาในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคด เครื่องสักการะบูชาทางศาสนา เครื่องสักการะบูชาตามความเชื่อ เครื่องสักการะบูชาบุคคลพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต เครื่องใช้ในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต ตัวอย่างพิธีกรรมและเครื่องใช้ในพิธีกรรมพิธีกรรมตามช่วงเวลา พิธีกรรมตามช่วงเวลาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมล้านนา ตัวอย่างพิธีกรรมตามช่วงเวลาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะ ตัวอย่างพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะที่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ตัวอย่างพิธีกรรมและเครื่องใช้ในพิธีกรรม เครื่องใช้ในพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะ