เครื่องใช้ในพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะ


สืบชะตา

เครื่องใช้ในพิธีสืบชะตา ประกอบด้วยเครื่องใช้จำนวน 22 ชิ้น ได้แก

ลำดับ เครื่องใช้ในพิธีกรรม
1 กระบอกน้ำ 108 หรือเท่าอายุ
2 กระบอกทราย 108 หรือเท่าอายุ
3 ลวดเงินลวดทองอย่างละ 4 เส้น
4 หมากพลูผูกติดเส้นด้ายในลวดเงินลวดทอง 108
5 ช่อ (ธงเล็ก) 108
6 หม้อเงินหม้อทองใหม่อย่างละ 1 ใบ
7 ด้ายสายสิญจน์ล้อมรอบผู้สืบชะตา 1 กลุ่ม
8 ปลาสำหรับปล่อยจำนวนเท่าอายุผู้สืบชะตา นก หรือปูหรือหอย
9 พานบายศรีนมแมว 1 สำรับ
10 บันไดชะตา 1 อัน
11 ไม้ค้ำ 1 อัน
12 ไม้ง่าม 108
13 ขัวไต่ 1 อัน
14 ฝ้ายค่าคิงจุดน้ำมัน 1 สาย
15 กล้ามะพร้าว 1 ต้น
16 กล้วยดิบ 1 เครือ
17 เสื่อ 1 ผืน
18 หมอน 1 ใบ
19 ธงค่าคิง 1 ผืน
20 เทียนเล่มบาท 1 เล่ม
21 มะพร้าว 1 ทะลาย
22 บาตรน้ำมนต์ 1 ลูก

ฮ้องขวัญ

เครื่องใช้ในพิธีกรรมฮ้องขวัญ ประกอบด้วยเครื่องใช้จำนวน 12 ชิ้น ได้แก่

ลำดับ เครื่องใช้ในพิธีกรรม
1 ขั้นตั้ง
2 สวยหมาก 4 สวย
3 พลู 4 สวย
4 สวยดอก 4 สวย
5 เทียนน้อย 4 คู่
6 เทียนเล่มละ 1 บาท 2 คู่
7 ข้าวเปลือก 1 ลิตร
8 ข้าวสาร 1 ลิตร
9 เบี้ยพันสาม
10 หมากพันสาม
11 ผ้าขาว - ผ้าแดง
12 เงิน 3 บาท

ขึ้นบ้านใหม่

ในพิธีขึ้นบ้านใหม่จะประกอบด้วยพิธีกรรมย่อย 3 พิธีได้แก่

  • ขึ้นท้าวทั้งสี่
  • ถอนตีนเสา
  • ขึ้นเรือนใหม่

แต่ละพิธีมีเครื่องใช้ประกอบพิธีกรรมดังนี้

ขึ้นท้าวทั้งสี่

ท้าวทั้งสี่ ประกอบด้วย

  • ท้าวกุเวระ         ผู้รักษาโลกทิศเหนือ
  • ท้าวธตรฐะ       ผู้รักษาโลกทิศตะวันออก
  • ท้าววิรุฬหกะ    ผู้รักษาโลกทิศใต้
  • ท้าววิรุปักขะ     ผู้รักษาโลกทิศตะวันตก

นอกจากนี้ยังถือเป็นการบูชาพระอินทร์ผู้ควบคุมท้าวทั้งสี่และนางธรณีผู้เป็นสักขีพยาน รู้ถึงการ “หยาด น้ำ” หรือกรวดน้ำทำบุญของมนุษย์ดังนั้น จึงมีกระบะเครื่องพิธีถึง 6 ชุด สิ่งที่จะต้องเตรียมเครื่องใช้ในพิธีได้แก

เครื่องใช้ในพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ ประกอบด้วยเครื่องใช้จำนวน 6 ชิ้น ได้แก่

ลำดับ เครื่องใช้ในพิธีกรรม หมายเหตุ
1 ปราสาท แท่นวางเครื่องสังเวย
2 สะตวง กระบะ ทำด้วยกาบกล้วย ขนาดความกว้างประมาณ 1 คืบ จำนวน 6 อัน ขนาดประมาณ 1 ศอก จำนวน 1 อัน แต่ละสะตวงให้บรรจุข้าวปลา อาหาร หมาก เมื่ยงพลูบุหรี่ดอกไม้  ธูป เทียน อย่างละ 4 ทุกสะตวง
3 ช่อ ธงสามเหลี่ยมขนาดเล็ก สีเขียว ขาว เทา เหลือ แดง ดำ อย่างละ 4 สำหรับปักสะตวงบูชาเทพแต่ละองค์
4 ฉัตร ร่มเล็กสำหรับบูชาเฉพาะพระอินทร์
5 น้ำส้มป่อย
6 ขันครู เครื่องสักการะครูของผู้ประกอบพิธีประกอบด้วยดอกไม้ธูป เทียน เงิน 12 บาท และเครื่องใช้อื่น ๆ

ถอนตีนเสา

พิธีสวดมนต์เพื่อถอดถอนสิ่งอัปมงคล ใ ห้หลุดออก การดำเนินการสร้างบ้านเรือนตั้งแต่ต้นมาโดยลำดับ อาจมีสิ่งอัปมงคล ตกค้างอยู่ในตัวอาคาร จึงต้องมีการถอดถอน โดยกำหนดเอาโคนเสา 5 จด ได้แก่เสาที่อยู่ทั้งสี่มุมบ้าน และเสากลางบ้าน ผู้ สวดมนต์ในพิธีคือพระสงฆ์ 5 รูป  โ ดยนิมนต์ พระสงฆ์ ประจำที่รูปละจุด เริ่มต้นด้วยพระสงฆ์องค์ประธานจะยกขันตั้ง เป็นการบูชาครูก่อน จากนั้นพระสงฆ์จะสวดมนต์ถอดถอน แล้วถากเอาเศษเสาเรือนหรือเศษดินใส่สะตวง สุดท้ายจะเอาน้ำ ส้มป่อยประพรหมสะตวงเป็นการดับเทียนไปด้วย จากนั้นนำเอาสะตวงทั้งหมดไปไว้นอกบริเวณบ้าน

เครื่องใช้ในพิธีถอนตีนเสา ประกอบด้วยเครื่องใช้จำนวน 3 ชิ้น ได้แก่

ลำดับ เครื่องใช้ในพิธีกรรม หมายเหตุ
1 ขันตั้ง
2 สะตวง ใส่เศษเสาเรือนหรือเศษดิน
3 น้ำส้มป่อย

ขึ้นเรือนใหม่

เครื่องใช้ในพิธีขึ้นเรือนใหม่ ประกอบด้วยเครื่องใช้จำนวน 4 อย่าง และ คนที่มีชื่อเป็นมงคล ได้แก

ลำดับ เครื่องใช้ในพิธีกรรม หมายเหตุ
1 พระพุทธรูป
2 หม้อ สำหรับนึ่งข้าวที่เรียก “ปู่ดำย่าดำ”
3 เครื่องนอนต่าง ๆ (ยกเว้นมุ้ง)
4 ข้าวเปลือก ข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวสาร พืชผล ประเภท ฟัก แฟง ถั่ว งา
5 คนที่มีชื่อที่เป็นมงคล เช่น ดีแก้ว แสง เงิน ทอง  คำ เจริญ รุ่งโรจน์จรัส มงคล ให้เข้าร่วมขบวนเดินนำสิ่งของที่เป็นมงคลขึ้นบ้านก่อน

เครื่องสักการะบูชา เครื่องสักการะบูชาในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคด เครื่องสักการะบูชาทางศาสนา เครื่องสักการะบูชาตามความเชื่อ เครื่องสักการะบูชาบุคคลพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต เครื่องใช้ในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต ตัวอย่างพิธีกรรมและเครื่องใช้ในพิธีกรรมพิธีกรรมตามช่วงเวลา พิธีกรรมตามช่วงเวลาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมล้านนา ตัวอย่างพิธีกรรมตามช่วงเวลาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะ ตัวอย่างพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะที่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ตัวอย่างพิธีกรรมและเครื่องใช้ในพิธีกรรม เครื่องใช้ในพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะ