ตัวอย่างพิธีกรรมและเครื่องใช้ในพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะ ที่ปรากฎในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี


พิธีมงคล

สืบชะตา

……… องค์พระเป็นเจ้ามหาสุภัทราก็ทรงพระประชวร เจ้าราชวงส์เป็นเคล้า เจ้าพิมพิสาร ราชบุตร ขัตติยวงสาท้าวพระยาเสนาอามาจทังมวลมีหนังสือบอก (8.20 R) (8.41) อาการใช้ล่องลง ไปกราบทูลพระมหกระสัตรเจ้า พระมหากระสัตรเจ้าทราบแล้วจึงโผดเกล้าโผดกระหม่อมหื้อนายคำ วังคุมเอาหมอยาหลวงขึ้นมา 7 คน ขึ้นมาเถิง วัน 6 เดือน 4 ออก 5 ค่ำ (12 ธันวาคม 2367) มารัก สาพยาบาลพระเป็นเจ้า ก็บ่หายพอลุเลาอยู่ เดือน 4 ขึ้น 7 ค่ำ (14 ธันวาคม) ก็ได้ปูชาเคราะห์ / เมืองและปูชาเสื้อเมืองและปูชา บ อา เต สรีมุอุม กา ในที่ 28 แห่ง มีอินทขีลเป็นต้นและสืบชาตา อายุพระเป็นเจ้า

ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ผูก 8 หน้า 207

พิธีอวมงคล

พิธีไสยศาสตร์ตู้ลอง พิธีข่ม และพิธีสูตรถอน

สมัยพระเจ้าติโลกราช “...........มีชีม่านรูปหนึ่งมาจากเมืองพุกาม แล้วมาอยู่เมืองตะนาวศรีชีม่านรูปนี้เชี่ยวชาญรู้ในสรรพ ศิลปไสยศาสตร์สรรพคุณมากนัก ได้ไปยังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรม- ไตรโลกนาถทรง ทราบข่าวจึงให้ไปอาราธนามา แล้วเลี้ยงให้อิ่มหนำสำราญด้วยโภชนาอาหาร แล้วกระทำปฏิสันถาร กับชีม่านรูปนั้น ครั้นทรงทราบว่าชีม่านรูปนั้นรู้ยังศาสตรเภท จึงบอกเหตุการณ์อันเมืองเชียงใหม่ หากมีเดชาอานุภาพมากนัก และพระองค์ไปพองเอาเมืองหลายครั้งมิได้นั้นให้ชีม่านทราบทุก ประการ ชีม่านจึงไต่ถามดูยังขบวนสัณฐานบ้านเมืองเชียงใหม่ พระยาบรมไตรโลกนาถก็ให้หาหาญ พรหมสท้านอันเป็นอุปนิกขิต ที่พระเจ้าติโลกราชให้ขับมานั้นให้มาเล่าให้ชีม่านฟัง หาญพรหม- สท้านจึ่งว่ามีไม้นิโครธต้นหนึ่ง เป็นศรีเมืองอยู่หนอีสาน ชีม่านจึ่งว่า ตราบใดต้นไม้ต้นนี้ไม่ล้มตายไป เมืองเชียงใหม่ก็ยังมีเดชานุภาพมากนัก หาญพรหมสท้านจึงกล่าวว่า ผิว่าดังนั้น เราจักให้ทองคำพัน หนึ่งเป็นค่าจ้างเจ้ากูให้ไปกระทำให้ต้นไม้นั้นฉิบหายไป จักได้หรือไม่ ชีม่านก็รับว่าทำได้หาญพรหม สท้านจึงกราบทูลขอเงินจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เอาทองคำพันหนึ่ง กับเงิน 300 กับผ้าจีวร 2 คู่ไปถวายเป็นค่าจ้างแก่ชีม่าน ๆ ได้ค่าจ้างแล้ว ก็เดินทางกลับคืนไปยังเมืองพุกามแล้วมาทางเมือง หงสาวดีแล้วมายังเมืองทลาง (ผาปูน) แล้วก็มาถึงเมืองเชียงใหม่ ไปพักอยู่ที่วัดนันทารามก่อน

ครั้งนั้น พันดาวอ้ายไปรักษาศีลฟังธรรมยังวัดนันทาราม ไ ด้ทราบว่า ชีม่านรูปนั้นรู้เชี่ยวชาญใน ศาสตร์ศิลป์ดีนัก จึงมากราบทูลให้พระเจ้าติโลกราชทรงทราบทุกประการ พระเจ้าติโลกราชจึงให้นัก ปราชญ์และหมอโหรทั้งหลาย ไ ปไต่ถามด้วยหนังสือแลซักถามทดลองดู ชีม่านก็แก้ได้ทุกคัมภีร์และ แสดงศาสตร์ศิลปสรรพคุณทางไสยศาสตร์ให้ประจักษ์ จนเป็นที่เชื่อถือทุกประการ แสดงว่าเป็นผู้รู้ แท้เมื่อพระเจ้าติโลกราชทรงทราบดังนั้นก็ให้พันดาวอ้ายไปสร้างกุฏิโรงที่อารามอันน้อย ฟากทางไป มหาโพธิ์ด้านใต้แล้วอาราธนาชีม่านรูปนั้นไปอยู่ ณ อารามนั้น ๆ เลยได้ชื่อว่า วัดพุกามสืบมา และ มหาเถรชีม่านนั้น เลยได้ชื่อว่า เถรพุกามมังลุงหลว้าง เมื่อบ้านเมืองมีเหตุเยื่องใด ก็ให้มหาเถรทำพิธี ให้

วันหนึ่ง พระเจ้าติโลกราชจึงใช้ให้หมื่นช้าง 1 หมื่นกุมกาม 1 พันเทพคุณ 1 ล่ามแขก 1 ใ ห้ไปถาม มหาเถรมังลุงหลว้างว่า ศาสตร์ศิลปสรรพคุณอันเจ้ากูมาสำแดงนั้น ก็เป็นที่จำเริญทุกประการ หาก แต่วิชาที่จะทำให้เมืองพิงค์เชียงใหม่จำเริญนั้นยังมีมากด้วยประการใด ที่จะทำให้ตัวเราพระเป็นเจ้า อันเสวยเมืองเชียงใม่ จักมีเดชาอานุภาพไปในชมพูทวีปได้ทุกเมือง อนึ่ง พิธีกรรมทำให้เรามีอายุ ยืนยาว อยู่ด้วยสุขสวัสดีนั้น มีประการใด ก็ขอให้มหาเถรแจ้งแก่เราเถิด มหาเถรมังลุงหลว้างจึงว่า ศาสตร์คุณอันจักทำให้บ้านเมือง แลพระยาเจ้ามีเดชานุภาพปราบชมพูทวีปทั้งมวล เหมือนดั่งพระยา ธรรมอโศกราชมีอายุมั่นยืนยาวอยู่สุขสวัสดีเราก็ได้เรียนมาหมดทั้งมวล เว้นแต่การกระทำนั้น เกรง ว่ามหาราชเจ้า จักกระทำมิได้หากกระทำได้แล้ว เราจักบอกให้หากไม่อาจกระทำได้เราก็จะไม่บอก หมื่นช้าง หมื่นกุมกาม พันเทพคุณ และล่ามแขกก็กลับมากราบทูลให้พระเจ้าติโลกราชทรงทราบ พระเจ้าติโลกราชตรัสให้ไปบอกมหาเถรนั้นว่า การกระทำนั้นแม้นจักยากเท่าไร เราก็ทำได้หมื่นช้าง หมื่นกุมกาม พันเทพคุณ ล่ามแขกก็ไปบอกแก่มหาเถรทุกประการ มหาเถรจึงแนะนำว่า เมืองพิงค์ เชียงใหม่นี้ ศรีอยู่หนอีสาน ควรตั้งพระราชนิเวศน์มนเทียร ณ ที่นั้น เสียแต่ว่าจะได้ข้ามคูและ ปราการเมือง ภายในเวียงนั้นก็ถูกกับสิงหลักษณะ ควรจักให้แผ้วถางที่นั้น ให้ราบเพียงเรียงงาม แม้น มีต้นไม้ใหญ่ก็ดีต้นพร้าว ต้นตาลก็ดีให้ตัดขุดรากออกเสีย ให้เรียบดีแล้ว จึงให้สร้างพระราชนิเวศน์ มนเทียรในที่นั้น ให้เอาไม้แงะไม้ดู่มาทำเป็นเสามงคลคู่กัน นอกนั้นให้เอาไม้อันอื่นที่สมควร และที่ใด ควรจะเป็นที่คุ้มน้อย หอนอน และโรงช้างโรงม้า เราหากจักไปชี้ที่อันเป็นมงคลให้แล หมื่นช้าง หมื่น กุมกาม พันเทพคุณ และล่ามแขกก็กลับมาทูลให้พระเจ้าติโลกราชให้ทรงทราบ ตามคำขอของพระ มหาเถรมังลุงหลว้างนั้นทุกประการ พระเป็นเจ้าก็มีพระทัยโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงให้ไปอาราธนา มหาเถรพุกามมังลุงหลว้างไปอยู่ที่วัดพราหมณ์ เพื่อจักให้ดูที่จะสร้างพระราชนิเวศน์มนเทียรสถาน ใหม่นั้น แล้วพระเจ้าติโลกราชก็ให้หาสิงเมือง เป็นต้นว่า หมื่นเกิ่งตีนเชียง 1 หมื่นคำพร้า 1 หมื่น หาญแต่ท้อง 1 หมื่นล่าม 1 กับทั้งพ่อเวียกนายการทั้งหลาย มาพร้อมกันแล้วให้ไปขุดรื้อปราการเวียง อันพระเจ้ามังรายให้ก่อไว้นั้นเสีย แล้วให้ถมจนราบเพียงดีแล้วจึงให้ไปตัดไม้นิโครธต้นอันเป็นศรีเมือง เชียงใหม่ อันมีสาขาร่มกว้างงามนักนั้นเสีย ใ ห้ขุดออกทั้งรากทั้งโคน แล้วให้แผ้วถางที่ทั้งมวลให้ราบ เพียงดังทุกแห่ง แล้วมหาเถรพุกามมังลุงหลว้าง ก็ไปชี้ที่ให้สร้างคามเขตและคุ้มน้อย หอนอนโรงช้าง โรงม้า ห้องหอทุกแห่ง แล้วจึงสร้างสนาม เรียกว่าศรีภูมิและให้เจาะประตูเวียงดินชั้นนอกชื่อว่าประตู ศรีภูมิและให้สร้างสะพานข้ามคูเข้าไปในเวียงปีนั้น

มหาเถรพุกามมังลุงหลว้างจึงว่า บัดนี้เราสร้างพระราชมนเทียรบ้านศรีภูมิแล้วบริบูรณ์ หากถึงเดือน ใดวันใดดีเราจะกระทำพิธีอภิเษกมหาราชเจ้า ใ ห้ปราบได้สักกะชมพูทวีปทั้งมวล อนึ่ง บ้านศรีภูมินี้มี ศรีเดชะฤทธีมากนัก ตั้งหอนอนที่นั้นมีเดชะมากนัก เมื่อใดได้ยินว่ามีข้าศึกยกมาทางทิศใดให้แต่งดอก ไม้คันธะของหอม ไปตั้งไว้เหนือราชอาสน์ในหอนอนแล้ว ตบเสาในทิศหนนั้น ข้าศึกก็หากจักพ่ายหนี ไปด้วยเดชะอานุภาพของเสามงคลต้นนั้น

นับแต่สร้างบ้านศรีภูมิใ นปีระกาได้ 1 ปีบริบูรณ์ถึงปีจออัฐศก จุลศักราช 828 (พ.ศ.2009) เดือน วิสาขะเพ็ญ เถรพุกามมังลุงหลว้างกับสิงเมือง ขุนบ้านนายเมืองทั้งหลายก็พร้อมกันอภิเษกเจ้าพระยา 222 ติโลกราช ใ ห้มีเดชานุภาพจักให้ปราบทวีป เหมือนดั่งพระยาอโศกธรรมิกราชนั้นแล แล้วจึงให้ เจ้าพระยาติโลกราชขึ้นทรงสีวิกายคำ ลูกลื่อปราบไตรจักรและทรงเครื่องท้าวราชา สวมมงกุฎ ดวง ชื่อว่าพรหมเทษ ทรงเครื่องผะหนิม อาภรณ์งามล้วนถ้วนทุกประการ แล้วขึ้นสู่ราชมนเทียร ใ นบ้าน ศรีภูมิเหมือนดั่งพระยาอินทราธิบดีเสด็จขึ้นสู่เวชไชยันต์ปราสาทฉันนั้น

นับแต่มหาเถรพุกามมังลุงหลว้าง ไ ด้รับจ้างพระยาใต้มาทำลายต้นไม้ศรีเมืองแล้วให้ตั้งบ้านศรีภูมิใ ห้ เป็นที่เสียอุจจาระปัสสาวะมละมลทินเหนือที่ศรีเมือง แต่นั้นมา ก็เกิดมีอุบาทว์อันตรายต่าง ๆ นานา แก่บ้านเมืองแก่ขัตติยชาติและเสนาอำมาตย์ทั้งมวล อยู่มาไม่นานเท่าใด เจ้าแม่ท้าวหอมุกข์พระสนมเอกได้กราบทูลยุยงใส่โทษแก่เจ้าท้าวบุญเรือง ราชบุตรว่า จะคิดคดต่อพระราชบิดา พระเจ้าติโลกราชก็ทรงหลงเชื่อให้เนรเทศเจ้าท้าวบุญเรืองไปไว้ เสียที่เมืองน้อย ครั้นภายหลัง แม่ท้าวหอมุกข์กล่าวยุยงซ้ำเติมอีก พระเจ้าติโลกราชก็เลยให้ปลง พระชนม์พ่อท้าวบุญเรืองเสีย ต่อมาภายหลัง จึงทรงทราบว่า พ่อท้าวบุญเรืองหาโทษมิได้ ทรงเสีย พระทัยนัก อนึ่ง หมื่นม้าแก้วหาญดีนัก และหาโทษมิได้มีผู้หนึ่งชื่อว่าร้อยงั่ว มีอริกับหมื่นม้า ร้อยงั่ว จึงเขียนหนังสือปลอมเป็นหนังสือหมื่นม้า ไปในทำนองไม่ซื่อและคิดคดต่อพระเป็นเจ้า แล้วร้อยงั่วจึง ให้บ่าวไปขโมยเอาตราประจำตัวของหมื่นม้ามาประทับ แล้วเอาไปทอดไว้ในคุ้มเหนือประตูแป้น พวกคนดาบพระเจ้าติโลกราชเก็บได้จึงเอาไปถวายพระเจ้าติโลกราช ๆ ทอดพระเนตรแล้วก็ทรงหลง เชื่อว่าหมื่นม้าไม่ซื่อ จึงให้เอาหมื่นม้าไปฆ่าเสีย ภายหลังจึงทรงทราบว่าหมื่นม้าหาโทษมิได้ ทรง แหนงพระทัยยิ่งนัก แต่นั้นมาจึงปลงพระราชอาชญาไว้ว่า ไม่ให้อ่านหนังสือหายคือหนังสือสนเท่ห์แต่ นั้นมา

อยู่มาไม่นานเท่าใด พระยาใต้พระบรมราชาไตรโลก ใ ช้ราชทูตนำเครื่องบรรณาการมาถวาย เพื่อจัก ฟังข่าวสารของชีม่านมหาเถรพุกามมังลุงหลว้างอันมาทำลายไม้ศรีเมืองเชียงใหม่นั้น อนึ่ง พระยาใต้ จ้างผาสีผู้หนึ่งชื่อว่าทิพล้อง ใ ห้มาทำพิธีไสยศาสตร์ตู้ลองเจ้าพระยาติโลกราชเสีย อนึ่งให้ฝังยาไว้ ประตูเวียงทุกแห่ง เจ้าพระยาติโลกราชจึงให้หมอแค้น 1 หมอบ้านล้อง 1 หมอจวงนะ 1 ทำพิธีลอง คุณไสยกับชาวใต้ให้ตั้งโขงปราสาทยังประตูวังทุกประตูแล้วจึงเอาไม้เงื่อนโรงผี, สายฝ้ายแร้วควาย, ตาชาน, รางหมู, ไม้คุ่มตีนบันไดมาวางขวางประตูข้างบนแล้ว เอาผ้าแดงห่อหุ้มเสียให้ดีแล้วจึงให้ลง ประตูทางเหนือ ยังมีผาสีและชาวใต้ผู้หนึ่งลอดประตูโขงลงข่วงไม่ได้เจ้าพระยาติโลกราชจึงให้เอาคน ทั้งสองมาเฆี่ยนถามดูผาสีผู้นั้นรับว่าพระยาใต้จ้างมาฝังยา และซัดทอดถึงมหาเถรพุกามมังลุงหลว้าง ว่า พระยาใต้จ้างมาทำลายไม้ศรีเมือง และให้ราชทูตมาดู หากว่าชีม่านทำลายไม้ศรีเมืองไม่ได้ให้เอา ทองคำค่าจ้างพันนั้นคืนเสีย เจ้าพระยาติโลกราชจึงให้เอาชาวใต้ผู้นั้น ไ ปต่อปากคำกับชีม่านมหาเถรพุกามมังลุงหลว้าง มันก็ ยอมรับ จึงให้เฆี่ยนแล้วเอาขังไว้ต่อมาจึงให้เอาชีม่านกับผาสีผู้นั้น ไปถ่วงน้ำเสียที่แก่งป๊อก ส่วนพวกราชทูตเมืองใต้นั้น ใ ห้ขับเสียจากเมืองให้หมื่นด้ามพร้าอ้ายไปส่งถึงชายแดน หมื่นด้ามพร้า อ้ายจึงให้หาญเด็กชายคุมพล 200 ไปซุ่มอยู่ที่ระหว่างทาง เมื่อพวกทูตไปถึงที่นั้น ก็จับฆ่าเสียสิ้น ไม่ เหลือสักคน

แล้วเจ้าพระยาติโลกราชก็ให้ขุดประตูทั้งสาม ไ ด้ไหยาออก 6 ไ ห ซ้ำขุดท่ามกลางเวียงได้ออกไหหนึ่ง เป็น 7 ไ ห จึงให้เอาไปเผาเสียที่สะพานเชียงคำ ใ ห้กวาดฝุ่นเถ้าลงแม่น้ำโทเสีย แต่นั้นมาเมือง เชียงใหม่กับเมืองใต้ก็มิได้เป็นมิตรไมตรีกัน..........

ตำนานราชวงศ์ปกรณ์หน้า 190-195

พิธีสูตรถอน

“.........ในปีเมืองเล้า ศักราช 1139 ตัว (พ.ศ.2320 ปีระกานพศก) เจ้าพระยาจ่าบ้านก็หนีลงจากวัง พร้าวลงไปตั้งอยู่หนองหล้องปีนั้นขณะนั้นยามนั้น ยังมีลานต้นหนึ่งยังหนองหล้อง แตกเป็นหน่อออก 7 หน่อ ล้อมคอภายบนเจ้าพระยาจ่าบ้านจึงนิมนต์พระสังฆะมากระทำบุญหื้อทานสูตรถอน แล้วปล้ำ ลานต้นนั้นเสีย.....”

ตำนานราชวงศ์ปกรณ์หน้า 247-248
เครื่องสักการะบูชา เครื่องสักการะบูชาในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคด เครื่องสักการะบูชาทางศาสนา เครื่องสักการะบูชาตามความเชื่อ เครื่องสักการะบูชาบุคคลพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต เครื่องใช้ในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต ตัวอย่างพิธีกรรมและเครื่องใช้ในพิธีกรรมพิธีกรรมตามช่วงเวลา พิธีกรรมตามช่วงเวลาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมล้านนา ตัวอย่างพิธีกรรมตามช่วงเวลาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะ ตัวอย่างพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะที่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ตัวอย่างพิธีกรรมและเครื่องใช้ในพิธีกรรม เครื่องใช้ในพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะ