ตัวอย่างพิธีกรรมและเครื่องใช้ในพิธีกรรมเกี่ยวกับชีวิต ที่ปรากฎในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี


พิธีหลอนเดือน

ในเมื่อราชกุมารประสูติมาได้เดือนหนึ่ง พระยาลางเมงผู้บิดาก็ใช้ไปบอกแก่ท้าวรุ่งแก่นชาย อัน เป็นพ่อเมียให้รู้ว่าหลานเกิดมานั้น ท้าวรุ่งแก่นชายพร้อมด้วยบริวารก็มายังเมืองเงินยางเชียงลาว พระยาลาวเมงครั้นว่าท้าวรุ่งแก่นชายมาถึงแล้วก็ป่าวเสนาอำมาตย์มนตรีนครวาสีทั้งหลายก็ พร้อมเพรียงกันกระทำพิธีมงคลสู่เข้าทูลขวัญราชกุมาร ด้วยเครื่องหลอนเดือนเพื่อให้ราชกุมารมี สิริฑีฆายุอายุมั่นยืนยาว พระยาลาวเมงและท้าวรุ่งแก่นชายอันเป็นปู่ย่าตายาย พร้อมกันใส่ชื่อ ราชกุมารว่า เจ้ามังราย ให้พัดชื่อบิดาว่า เมง ปู่ตาว่า รุ่ง ให้ถูกว่า ลูกท้าวเมง หลานท้าวรุ่งว่า มัง รายลูกนางเทพคำขยายเชียงรุ่งให้พัดทั้งชื่อพ่อแม่ปู่ตา ฝ่ายท้าวรุ่งแก่นชาย ครั้นว่ากระทำ มังคละกรรมแก่หลานตนแล้วก็กลับคืนเมือสู่เมืองแห่งตนนั้นแล

ตำนานราชวงศ์ปกรณ์หน้า 117-118

(พ่อท้าวผายู) พระองค์ทรงปกครองบ้านเมืองชอบด้วยทศพิธราชธรรม มีความศรัทธาปสาทะใน พระบวรพุทธศาสนา พระองค์มีราชโอรส2 องค์ องค์พี่มีพระนามว่า พ่อท้าวกือนา ประสูติแต่ พระนางจิตราเทวี อันเป็นธิดาแห่งจ้าวงัวเถิง ผู้กินเมืองเชียงของ เจ้าราชบุตรองค์นี้มีหลายชื่อ เมื่อประสูติมาถึงวันหลอนเดือนนั้นได้พระนามว่า พ่อท้าวพันตูต่อมาได้พระนามว่าพ่อท้าวเวสภู ต่อมาจึงเรียกกันว่า พ่อท้าวตื้อนา ด้วยเหตุว่าพระราชบิดาให้กินนาส่วนตื้อหนึ่ง ภายหลังจึง เรียกกันว่าพ่อท้าวกือนา

ตำนานราชวงศ์ปกรณ์เจ้าพระยาแสนภูสร้างเมืองเชียงแสน หน้า 162

อุปสัมปทาเป๊กข์

เจ้าพระยาแก้วภูตาธิปติราชเจ้าได้เสวยราชสมบัติแล้ว ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธ ศาสนาเป็นอันมาก ทรงสร้างวัดบุปพาราม แล้วไปอาราธนาพระมหาสังฆราชาปุสสะเทวะมา เป็นสังฆนายก อยู่ในสำนักพระอารามนั้น ในขณะเวนพระอารามให้เป็นทานนั้น เกิดแผ่นดินไหว เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก พระรัตนราชจึงทรงให้สร้างพระพุทธรูปเงินองค์หนึ่งไว้ในพระอารามบุปพา รามนั้น พระองค์ทรงสร้างสังฆอาราม หนสวนดอก หนเวียงให้ครบถ้วนแล้วก็ให้ทำสังฆกรรม คือ ให้ชาวเจ้าลงขนานบวชและอุปสมบทพระภิกษุยังท่าริมแม่น้ำปิง และให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด พระสิงห์และวัดมหาเจดีย์หลวงเสร็จแล้วบริบูรณ์ก็กระทำบำเพ็ญบุญกุศลอยู่มิได้ขาด

ตำนานราชวงศ์ปกรณ์เจ้าพระยาแสนภูสร้างเมืองเชียงแสน หน้า 202

ครั้นถึงปีมะเมียอัฐศก จุลศักราช 908 (พ.ศ.2089) เดือน 9 ขึ้น 10 ค่ำ วันเสาร์เจ้าพระยาอุปโย มาจากเมืองล้านช้าง มาถึงเมืองเชียงแสนทรงประทับแรมอยู่ที่เมืองเชียงแสนได้ 21 วัน ขณะที่ ประทับอยู่ที่เมืองเชียงแสนนั้น โ ปรดให้ชาวเจ้าภิกขุกระทำพิธีอุปสมบทกรรม ลงขนานสีมาใน แม่น้ำของ อุปสมบทกุลบุตร

ตำนานราชวงศ์ปกรณ์เจ้าพระยาแสนภูสร้างเมืองเชียงแสน หน้า 211

ส่งสะการ

ส่งสะการท้าวกือนา ......... จัดการเรื่องพระศพของพระเจ้ากือนาเสียก่อน เราควรจะเอาพระศพเข้ามาไว้ในเวียงจะดี กว่า แต่หากจะเอาพระศพเข้ามาทางประตูเวียงนั้นมิควร ด้วยผิดธรรมเนียมประเพณีมาแต่ก่อน ฉะนั้น จะต้องเจาะกำแพงเวียงเอาพระศพเข้ามา ครั้นแล้ว แสนผานองก็ให้เจาะกำแพงเมือง ตรงข้างวัดพรหมณ์ ทำสะพานข้ามคูแล้วเอาพระศพพระเจ้ากือนาใส่พระโกศทองคำเข้ามาไว้ใน เวียงเชียงขวาง

ตำนานราชวงศ์ปกรณ์เจ้าพระยาแสนภูสร้างเมืองเชียงแสน หน้า 164

ส่งสการพญาแสนพู ........ เจ้าแสนพูเสวยเมืองได้ 7 ปีบังเกิดพยาธิ์หาหมอมาทวายในที่สงัด หมอ / ทวายว่า อายุเจ้าเสี้ยงในปีนี้ว่าอั้น เสนาอามาจทั้งหลายพร้อมกันแต่งอุบายคาดขนานเรือ 2 เล่ม ใหญ่นัก เอาปราสาทขึ้นตั้งสำแดงว่าพญาเจ้าเราจะอยู่เยือกเย็นใจสุขสำราญในที่สงัดในถ้ำกลางแม่ / ของ ว่าสันนี้บ่สำแดงว่าเป็นพยาธิ์หื้อผู้ใดรู้สักคน คันหื้อคนทังหลายรู้จักปรากฏแก่ท้าวพญาต่างประ เทส เหตุท่านจักมาประจญบ้านเมือง จักเป็นเสิก คันแต่งแปลงแล้วก็เอาขึ้นอยู่เหนือปราสาทอัน ตั้งเหนือขนานเรือ / ยังท่ำกลางแม่ของแล้ว หื้อชักคร่าวข้ามแม่น้ำของทัดท่าพระหินรอดดอน แท่นมารอดท่านาง เพื่อบ่หื้อเรือขึ้นล่องได้สักเล่ม อยู่ 3 วัน พญาก็สุรคุตหั้นแล เขาก็เอาพญาใส่ โกศคำหื้อนั่งไว้ยังท่ำกลางน้ำแม่ของ / ได้ 2 เดือน ..... พญาแสนพูสวรรคต ……….เจ้าพญาคำฟูแต่งลูกตนเจ้าท้าวผายูหื้ออยู่รักสาเมืองเชียงใหม่ ส่วนตนเจ้าก็เอาริพลชาวเชียงใหม่ ชาวฝาง ชาวเชียงราย พุ่น 240,000 คน มารอดเวียง เชียงแสนแล้ว เสนาทังหลาย ก็หื้อดูดูกไก่ ออกว่าหื้อเอาคาบพญาไปไว้เวียงเก่า พายเหนือสบกก ทัดท่ากาดเปลือก จึงหื้อขุดขุมใหญ่แปลงหลังเรือนกวม คนทังหลายหื้อล่อง ขนานเรือจอดกาดเปลือกเข้ายกโกศคำออกคนทังหลายจึงรู้ว่าพญาสุรคต / หั้นแล คนทังหลายก็ เอาโกศคำลงใส่ขุมนั้นแล้วหื้อเอาเครื่องเงินเครื่องคำใส่ไถลคำลงตั้งไว้ 2 ตราบข้างโกศคำ แล้วก็ แต่งขุนนางกับคนทังหลายไว้เป็นข้าอยู่รักสา พุ่น 50 ครัว พายลูน ข้าผีทังหลายเขาแบ่งกัน / มา เป็นคนหามยัวสังฆราช วัดพระหลวง พุ่น 20 ครัว ยัง 30 ครัว อยู่รักสาคาบพญาแสนพูอยู่ที่ นั้นแล

ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ผูก 3 หน้า 61-62

ส่งสการพญาคำฟู พญาไปดำหัวสรงเกศในแม่น้ำเชียงคำ เมื่อนั้น / เงือกตัว 1 ใหญ่นัก / ลุกแต่เงื้อมผาออก มาชักเอาพญาไปในเงื้อมผาที่นั้นหั้นแล คนทังหลายเป็นต้นว่าเสนาอามาจแสวงหาพญาบ่พบสัก แห่งนานได้ 7 วัน ซากพญาจึงไหลออกมา คนทังหลายจึงรู้ว่าพญาคำฟูตายหั้นแล พญาคำฟู/ เป็นราชบุตรได้ 25 ปีอายุ 47 ปีไ ปสูปรโลกได้ 6 ชั่วราชวงศ์แล เสนาอามาจทังหลายกับท่า นกฎุมพีกจึงใช้หื้อ / มาบอกข่าวสารอันพญาคำฟูตายแก่เจ้าพ่อท้าวผายูตนเป็นลูกยังเชียงใหม่ เมื่อนั้นเจ้าพ่อท้าวผายูก็หื้อลูกตนเจ้าท้าวกือนาอยู่รักสาเวียงเชียงใหม่ ส่วนตนเจ้าพญาผายูก็ไป ส่งสการเจ้าพญาคำฟูพ่อตนยัง เมืองเชียงแสนได้เดือนปลาย 15 วัน บัวรมวล แล้ว เจ้าก็เอาดูกพ่อตนมาจุไว้ยังเวียงเชียงใหม่พายประตูสวนดอก หื้อก่อเจดีย์กวมไว้ในที่นั้น แล้วก็หื้อสร้างอารามหื้อชาวเจ้าทังหลายได้อยู่ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ผูก 3 หน้า 65

ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ผูก 3 หน้า 65

ส่งสะกานพระเจ้าช้างเผือก เถิงสกราช 1184 ตัว ปีเต่าสง้า เดือน 8 ขึ้น 14 ค่ำ วัน 3 (มิถุนายน 2365) องค์พระเป็น เจ้าช้างเผือกดอกบัวคำทรงพระประชวรรากออกปาก เถิง ณ วันเดือน 8 เพ็ง วัน 4 ไทดับเม็ด (28 มิถุนายน 2365) ยามกองงาย พระเป็นเจ้าเถิงแก่อนิจจกัมม์เสด็จสู่สวรรค์อายุท่านได้ 70 ปีได้เสวยเมืองนาน 7 ปีปีอายุ 77 ปีหั้น / แล เจ้ามหาอุปราชาตนเป็นพระวรอนุชาก็แต่งเจ้า มหาวงส์ตนเป็นโอรสบุตรแห่งท่านเป็นเจ้าช้างเผือกถืออักขรกถาล่องลงไปกราบทูลพระกรุณา เฝ้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทพระมหากระสัตรเจ้า ณ กรุงสรีอยุทธิยา / ด้วยการอันพระองค์เจ้า ช้างเผือกอนิจจนั้น พระมหากระสัตรเจ้าก็โผดกรุณาหื้อเจ้าพนะงานจัดแจงยังเครื่องไทยทาน มี ต้นว่า บาตรเหล็ก ผ้าไตร เกิบคว้าน จ้อง น้ำตาลซาย ผ้ามหาบังสกุลธูปเทียนและโกศคำอันจัก ใส่สรีรศพ / นั้น หื้อข้าหลวง คุมเอาขึ้นมากับเจ้ามหาวงส์ คันมาเถิงบ้านเมืองแล้วก็พร้อมกัน สร้างแปลงยังปราสาทอันประจิตริสสนาด้วยลายประดับแต้มเขียนต่างๆมี 5 ยอด สูง 9 วา 2 สอก แล้วก็เอาสรีรศพเข้าใส่ในโกศคำขึ้นตั้ง ปรังคปราสาทกระทำ / บุญหื้อทานเหล้นมโหสรพ อันใหญ่ 7 วัน 7 คืน เถิงเดือนยี่ ออก 3 ค่ำ วันอาทิตย์ (ตุลาคม 2365) ก็ได้พร้อมกันชักลาก ปราสาทท่านเป็นเจ้าออกไปถวายพระเพลิงเลิกซากส่งสะกานเป็นปริโยสานหั้นแล

ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ผูก 8 หน้า 202-203

ส่งสะกานพระเป็นเจ้ามหาสุภัทรา เถิง ณ วัน 4 เดือน 9 ออก 2 ค่ำ (6 พฤษภาคม) ได้เชิญเอาบรมศพพระเป็นเจ้ามหาสุภัทราลง นอนวิมานปราสาทเหล้นมโหสพกระทำบุญหื้อทานเป็นอันมาก เถิง ณ วัน 1 เดือน 9 ออก 6 ค่ำ (10 พฤษภาคม 2368) ก็ได้ชัก / สัปปกายวิมานปราสาทออกไปสู่สุสานถวายพระเพลิงวัน นั้นแล ........

......... อยู่มาเถิง ณ วัน เดือน 12 ขึ้น 11 ค่ำ (10 กันยายน 2368) สมเด็จพระมหากระ สัตรเจ้า ณ กรุงสรีอยุทธิยาโผดเกล้าโผดกระหม่อมจัดแจงเงิน ดวงตรา 4 ชั่ง ผ้าไตร 50 ผ้าขาว เทศ 70 พับ จ้องกระดาษ 700 คัน น้ำตาลทราย 350,000 แต่งพระยาสรีสุภาพรสุเรนทราช / เสนาเป็นนายเข้ากัน 70 คน เป็นข้าหลวงคุมเอาขึ้นมาถวายเป็นทานอุทิสบุญไปหาพระเป็นเจ้า มหาสุภัทราเจ้าเมืองเชียงใหม่ .........

ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ผูก 8 หน้า 208
เครื่องสักการะบูชา เครื่องสักการะบูชาในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคด เครื่องสักการะบูชาทางศาสนา เครื่องสักการะบูชาตามความเชื่อ เครื่องสักการะบูชาบุคคลพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต เครื่องใช้ในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต ตัวอย่างพิธีกรรมและเครื่องใช้ในพิธีกรรมพิธีกรรมตามช่วงเวลา พิธีกรรมตามช่วงเวลาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมล้านนา ตัวอย่างพิธีกรรมตามช่วงเวลาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะ ตัวอย่างพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะที่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ตัวอย่างพิธีกรรมและเครื่องใช้ในพิธีกรรม เครื่องใช้ในพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะ