พิธีกรรมตามช่วงเวลาในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมล้านนา


จากการศึกษาและรวบรวมพบพิธีกรรมในประเพณีตามช่วงเวลา ทั้งในประวัติศาสตร์และในปัจจุบัน พบพิธีกรรมใน ประเพณีตามช่วงเวลา จำนวน 65 พิธีกรรม ได้แก่

ช่วงเวลา ลำดับ พิธีกรรม
เดือนเกี๋ยง (ตุลาคม) 1 ทานสลากภัตรหรือกิ๋นก๋วยสลาก
2ออกพรรษา
3ตักบาตรเทโว
4ทานผ้าวสา
5กฐิน
6ทอดผ้าป่า
7ไกวเทียนหรือดับเทียน
เดือนยี่ (พฤศจิกายน) 8 ยี่เป็ง
9ลอยโขมดหรือลอยกระทง
10ตั้งธรรมหลวง
11กฐิน
12ผ้าป่า
13ปูชาผางผะติ้ด
14ทำโคม (โคมค้าง โคมผัด โคมลอย โคมไฟ) เพื่อบูชาพระเกษแก้วจุฬามณี
15ใส่บาตรข้าวพระเจ้าหลวง (กวนข้าวทิพย์)
เดือนสาม (ธันวาคม) 16 เข้ากรรม รุกขมูลหรือเข้าโสสาน์
เดือนสี่ (มกราคม) 17 ทานข้าวจี่-ข้าวหลาม
18ทานข้าวท้างน้ำ
*ตั้งธรรมหลวง
*เข้ากรรม รุกขมูลหรือเข้าโสสาน์
19เข้าปริวาสกรรม
เดือนห้า (กุมภาพันธ์) 20 ไหว้พระธาตุ
21อบรมธาตุ
22อบรมพระเจ้า
23สมโภชพระเจดีย์
24มาฆะบูชา
25ปอยหลวง
26ปอยหน้อย (บรรพชาสามเณร)
27ปอยข้าวสังฆ์
เดือนหก (มีนาคม) * ปอยหน้อย (บรรพชาสามเณร)
*ตั้งธรรมหลวง
*ปอยหลวง
29ปอยล้อ
30ปอยข้าวสังฆ
เดือนเจ็ด (เมษายน) 31 สงกรานต์
32ไล่สังขานต์
33ขนทรายเข้าวัด
34ทานขันข้าว
35สรงน้ำพระพุทธรูป
36ดำหัวพ่อแม่ครูบาอาจารย์
40ขึ้นท้าวทั้งสี่
41สืบชะตาบ้านชะตาเมือง
42ส่งเคราะห์
เดือนแปด (พฤษภาคม) 43 จุดเทียนบูชา
44วิสาขบูชา
45ขึ้นพระธาตุ
46สรงน้ำพระธาตุ
47เป๊กซ์ (อุปสมบทพระสงฆ์)
48จิบอกไฟ (จุดบ้องไฟ)
เดือนเก้า (มิถุนายน) * ปอยหลวง
*ไหว้ผีปู่ย่า
49เลี้ยงผีเจ้านาย
50ฟ้อนผีมด - ผีเม็ง
51เลี้ยงผีขุนน้ำ
52เลี้ยงดง
53ไหว้ครูเดือนเก้า
*เป๊กซ์ (อุปสมบทพระสงฆ์)
54แฮกนาหว่านกล้า
เดือนสิบ (กรกฎาคม) 55 เข้าอินทขีล
56เข้าพรรษา
57ถวายผ้าอาบน้ำฝน
*ทานขันข้าว
58ถวายเทียนเข้าพรรษา
59สามีจิกรรม
60สมมาคารวะครูบาอาจารย์
เดือนสิบเอ็ด (สิงหาคม) 61 นอนวัดจำศีล
เดือนสิบสอง (กันยายน) 62 ฟังเทศน์ฟังธรรม
63จาคะข้าว
64คนเฒ่าจำศีล

ตัวอย่างพิธีกรรมและเครื่องใช้ในพิธีกรรมตามช่วงเวลา ที่ปรากฎในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี

เดือนห้า เดือนแปด และเดือนเก้า

ไหว้พระธาตุอบรมธาตุอบรมพระเจ้า สมโภชพระเจดีย์ปอยหลวง

“จุลศักราช 1325 (พ.ศ.2416) ปีระกาเบญจศก ได้เลื่อนตำแหน่งยศขึ้นเป็นเจ้าอินทวิไชยานนท์ เจ้า นครเชียงใหม่ ปีระกาเบญจศก เจ้าอินทร์วิไชยานนท์เจ้านครเชียงใหม่สร้างวิหารที่พระธาตุเจ้าดอยสุ เทพทั้ง 4 ด้าน ฉัตรทั้ง 4 แจ่ง ระเบียงแวดจอดทั้ง 4 ด้าย และซ่อมรั้วเหล็กล้อมพระเจดีย์ เปลี่ยน ฉัตรทั้ง 4 แจ่ง พระเจดีย์ที่ทรุดซุ่มลงปิดทองคำปลิว พระเจดีย์และพระพุทธรูปทั้ง 4 ด้าน ใส่กระจก และปิดทองคำ ปราสาทและไหดอกบัวทั้ง 4 แจ่ง พระเจดีย์ธาตุก่อเสาก๊าง ตามประทีป ใส่ราวเหล็ก ที่จุดธูปเทียนบูชาซ่อมทั้งเทวรูปและกุมกัณฑ์ รูปนาคขึ้นบันได ที่เขินดินพระนบสักการะพระเจดีย์ ธาตุ

สร้างอุโบสถวัดเชียงมั่นแห่งหนึ่ง ปกวันเดียวกันทั้งวิหารดอยสุเทพฯ จุลศักราช 1236 (พ.ศ.2417) ปีจอฉสก เจ้าอินทร์วิไชยานนท์เจ้านครเชียงใหม่ พร้อมด้วยเสนา อำมาตย์ข้าราชการทั้งหลาย ชักถนนในเวียงนครเชียงใหม่ ถมด้วยอิฐและทรายให้เรียบร้อย ถึงวัน จันทร์เพ็ญเดือนยี่ ได้ทำบุญให้ทาน แต่งเครื่องสักการบูชา จุดประทีบโคมไฟทุกถนน รวมก่อไฟทั้งสิ้น 1,541 ดวง ถึงเดือน 5 จัดเจ้าราชวงศ์ (หอคำ) ทั้งเจ้าจันทราชบุตรเจ้าราชวงศ์ (หอคำ) คุมริพลขึ้นไป ตั้งเมืองปาย

จุลศักราช 1237 (พ.ศ.2481) ปีกุนสัปตศก วันพุธ เพ็ญเดือน 8 เจ้าอินทวิไชยานนท์เจ้านครเชียงใหม่ ฉลองวิหารวัดข่วงสิงห์เหนือเวียงเชียงใหม่ วันเสาร์เดือน 10 ขึ้น 8 ค่ำ ปกวิหารวัดพันเต่ากลางเวียง เชียงใหม่ ที่เจ้าอินทวิไชยานนท์หื้อรื้อเอาหอคำของพระเข้ามโหตรประเทศไปสร้างฯ เจ้าอินทวิไชยานนท์เจ้านครเชียงใหม่ทำบุญฉลองวิหารที่พระเจดีย์ธาตุดอยสุเทพ เดือน 8 ขึ้น 12 ค่ำ วันพฤหัสบิดีขึ้นตึกใหม่ในเวียง”

จดหมายเหตุเมืองเชียงใหม่ หน้า 367

ไหว้พระธาตุอบรมธาตุอบรมพระเจ้า

“.............. เจ้าติโลกราชได้เป็นใหญ่เสวยราชสมบัติในนพบุรีเชียงใหม่ ก็เทียรย่อมปูชาพระสิงห์ พุทธปฏิมาเจ้าบ่ขาดสาย ถึงฤดูกาล เมื่อควรสระสรงด้วยน้ำสุคันโธทก สักการะปูชาด้วยเข้าตอก ดอกไม้คันธของหอม แล้วก็เล่นมโหรสพ ถ้วน 7 วัน 7 คืน ชุขวบชุปีแล ฯ อันว่าปราสาทอันเป็นที่สถิตสำราญ แห่งพระสิงห์พุทธเจ้า นั้นก็หื้อใส่คำแดงใหม่แถม 8,000 คำ หื้อ รุ่งเรืองด้วยแก้วทั้งหลายต่าง ๆ ปราสาทและหน้าทวารก็แล้วลายคำ ประจิตริสนาด้วยแก้วทั้งหลาย เป็นดั่งวิมานทิพย์แห่งเทวดานั้นแล ภายบนหัวแห่งพุทธปฏิมาเจ้านั้น ก็ใส่เพดานคำ ฉัตรและขัดดอก ก็แล้วด้วยคำ แล้วก็ประดับด้วยแก้วต่าง ๆ ประมาณ 20 ลูก รุ่งเรืองด้วยเครื่องบูชาต่าง ๆ คือว่า บาตรคำ ขันคำ และน้ำต้นคำ ดอกไม้ประมาณ 800 ต้น พรรณนาคำทั้งมวลมี 808 บาทเฟื้องคำแล ท้าวพระยาเสนาอามาตย์ราชมนตรี และปราชาราษำร์ทั้งหลาย และราชบุตรทั้งมวลก็ไหว้และบูชา พระสิงห์เจ้าแล อันว่าสมเด็จมหาสุตาธิบัติพุทธเจ้าได้เป็นพระยาในปีดับเหม้ามาถึงปีก่าไก๊ได้ 9 ปีแล ท้าวก็ได้กระทำบุญกุศลมากหลายนัก ก็บ่อิ่มเต็มใจได้ท้าวก็หื้อแต่งผ้าจีวรสังฆะผิว์อันแล้วด้วยสิ่งอัน ได้ 15 เท่า หนักได้ 608 บาทเฟื้องคำ แล้วก็เอาเงินมาแสนหนึ่ง เพื่อจักสร้างมหาวิหารหลวง หื้อเป็น ที่สถิตสำราญแห่งพระสิงห์พุทธปฏิมาเจ้าในปีก่าไก๊เดือน 9 ออก 8 ค่ำ เม็งวันพุธ ไทยกาบสีพุทธบดี บ่เศร้านักจัตฤกษ์ได้ 9 ตัวแล ฯ...........”

ตำนานพระสิงหืพุทธปฏิมาเจ้า หน้า 405

อบรมพระเจ้า

“.............. พระเจ้าโลกติลกราชก็ยิ่งมีพระปรีดาปราโมย์ก็ทรงทำสักการบูชาเป็นอันมาก ใ นรัชสมัย ของพระองค์มิได้ทรงประมาทในพระศีลาเจ้า และทรงบำรุงพระพุทธศาสนาวัดวาอารามและพระ สงฆ์สามด้วยปัจจัยทั้ง 4 มิให้อดอยากอนาทรก็มีแล จำเดิมแต่กาลนั้นมา ครั้นถึงเทศกาลอันสมควรก็ กระทำยัญญศาสนะ พิธีสักการบูชาสระสรงอบรมสมโภชยังพระแก้วและพระศีลาเจ้าเป็นงานประจำ ปี ถ้าปีใดบ้านเมืองแห้งแล้งฝนไม่ตกตามฤดูกาล ก็ทรงให้จัดการทำพิธีของฝนสระสรงองค์พระศีลา เจ้าก็มีแล

เมื่อสิ้รรัชสมัยของพระองค์ไปแล้ว พระราชบุตรพระราชนัดดาได้เสวยราชย์ก็ทรงดำเนินตามราช ประเพณีสืบ ๆ มาก็มีแล เหตุการณ์ดังนั้นบุคคลผู้มีปัญญาไม่ควรประมาทในพระศีลาเจ้าเลย ควร นบนอบกราบไหว้เคารพสักการะบูชา ด้วยศรัทธาปสาทะจริง ๆ ก็จะเป็นหิตประโญชน์สุขแก่ตนใน ภพนี้ภพหน้าตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานแล สีลา พิมพัง ปวัตติตัง นิฎฐิตัง ปริปุณณัง...........”

ตำนานพระศีลา หน้า 414

เข้าอินทขีล

“.............. เจ้าฤษีว่าเราจักกระทำดังฦชา เราจักเอาอันใดหื้อเป็นที่เพิ่งแก่เขานั้นจา ทีนั้น พระยา อินทร์จิ่งจักร่ำเปิง (รำพึง) ดูแล้วจึงว่าแต่เจ้าฤษียังมีเสาอินทขีลแห่งข้าเล่มหนึ่งก็วิเศษแท้แล ว่าอั้น แล้วพระยาอินทร์ก็เรียกเอากุมภัณฑ์สองตน หื้อไปขูดเอาเสาอินทขีลมา แล้วใส่สะแหลกเหล็กหื้อ กุมภัณฑ์สองตนหามลงมาตั้งไว้เหนือแท่นอันประเสริฐแล้วหื้อเขาทั้งหลายได้สักการบูชาทังวันอย่าหื้อ ขาดเทอะ ทีนั้น ไ ตและลัวะทังหลายเขาก็ชวนกันมาสักการบูชาด้วยข้าวตองดอกไม้ดังบ่หื้อขาดสัก วันแล เยียะตามคำพระยาอินทร์หากสั่งลงมานั่นแท้แล อยู่มาหน้อยหนึ่งบ่นานเท่าใด หมู่ข้าศึกก็มาร อดแท้แล ข้าศึกทังหลายเขาก็ลวดกลับกลายเป็นพ่อค้าเข้ามา หวังได้แก้วแลเงินคำแลฯ

ทีนั้น ชาวเวียงจิ่งจักถามพ่อค้าฝูงชุมนั้น ว่าสูเจ้าทังหลายรอดมาเถิงเมืองตูข้านี้ ยังเคิงใจ (ข้องใจ) ใคร่ได้สังจา พ่อค้าว่าตูข้ามานี้ก็เฉพาะเพื่อว่า ใ คร่ได้แก้วและเงินคำ ทีนั้น ชาวเมืองทังหลายก็บอก หื้อพ่อค้า หื้อสูมีบุปผาราชาสิ่งของเชื้อใดเชื้อหนึ่ง หื้อมาบูชาเอาเทอะ จักเอาเชื้อใดก็ร่ำไรขอเอาเชื้อ นั้น จิ่งจักได้แล คันว่าร่ำไรขอเอาแก้ว ป๊อยเอาเงินแลคำก็บ่ดีคันว่าขอเอาเงินเอาคำป๊อยเอาแก้วก็บ่ ดีจักขอเงินป๊อยเอาคำก็บ่ดีหื้อตั้งสัจจะอธิษฐานแล้วบูชาเอาอันใดอันหนึ่งก็จิ่งจักได้แล เหตุว่าลัวะ ทังหลายได้ขอสัจจะกับเจ้าฤษีแล

เจ้าฤษีก็หื้อสัจจะแลศีล 5 แก่ลัวะทังหลาย มีพระยาวิงวอเป็นเค้า ภายหนไตมีพระยานพบุรีเป็น ประธาน พระยาอินทร์ยินดีด้วยเขาถือสัจจะแลศีล 5 นั้น ก็จิ่งหื้อบ่อแก้ว บ่อเงิน บ่อคำ บังเกิดหื้อ ลัวะทังหลายได้รักษานั้น พระยาอินทาธิราชเจ้าฟ้าท่านยังสั่งไว้ว่า คันผู้ใดจักประโยชน์ใคร่ได้แก้ว และเงินคำ คันเขาจักมาขอบูชาเอานั้นผู้จักหื้อก็หื้อมีสัจจะ ผู้มาขอบูชาเอานั้นก็หื้อมีสัจจะก่อน จึง ควรหื้อแล คันผู้ใดบ่มีสัจจะศีล 5 แลมาเอา คู่อินทาธิราชก็บ่หื้อแล คันว่าต่างบ้านต่างเมืองเขามาขอ บูชาเอาได้ เขาก็หย้ามได้ เขาก็ใช้กันมาขอบูชาเอาคู่ปีบ่ขาดแล ชาวบ้านชาวเมืองทังหลาย ทังลัวะ ทังไต ผู้ใดใคร่ได้อันใด เขาก็ชวนกันสมาทานเอาศีล 5 แล้วก็ถือสัจจะอธิษฐาน เอาเข้าตอกดอกไม้ไป บูชาเอาตามคำอันเขาขออธิษบานเอานั้น ก็ได้ดั่งความมักแห่งเขาแท้แลฯ

บุญณะ เมือ่ภายลูนได้หลายปีหลายเดือนมา ก็หลิ่งก๊อยถอยเถียวลงมา เขาก็เป็นอันลามกหล้างพ่อ ใคร่ได้เขาก็ไปขอบูชาเอา หล้างพ่องก็บ่บูชาเอา นับว่าเป็นเก็บเอาบ่ดายก็มี อันหนึ่ง กุมภัณฑ์อัน รักษาเสาอินทขีลนั้น เขาทังหลายก็บ่เลี้ยงดูสักเทื่อ เขาเยียะง่ายมักง่าย เขาก็ชัดขว้างไม้ค้อนก้อนดิน หวิดหัวหวิดเกล้ากุมภัณฑ์ อันหนึ่งเขาก็ไปเสียมลทินขี้เยี่ยวเข้ารมอันหนึ่ง เขาก็เอาหมาเน่าแมวเน่า ไปซัดเล่ารมกุมภัณฑ์ ก็เป็นอันสาบอันเหม็นหาประมาณบ่ได้ อันหนึ่งเมื่อขวบปีมาเถิงก็บ่เลี้ยงดู กุมภัณฑ์สักเทื่อกุมภัณฑ์ก็เคียดก็ชวนกันเอาเสาอินทขีลหินแก้วดวงวิเศษเสด็จขึ้นเมื่อไว้ที่เก่า ใ นชั้น ฟ้าตาวติงสาพ้นแล ลูนนั้นมาได้ปีหนึ่งพ่อค้าทับงหลายชุมอันเขาเคยมาเอานั้นและเคยได้นั้น เขาก็พา ไปอธิษฐานขอเอาอันใดก็บ่ะได้สักอันแล เขาเก็บอันใดก็เป็นหญ้า คว้าอันใดก็เป็นหินเป็นดินไปเสียเสี้ ยงแลฯ

บุญณะ เมื่อภายลูน ยังมีปู่ลัวะเฒ่าผู้หนึ่ มันมีบุปผาราชาเข้าตอกดอกไม้ลำเทียน เพื่อว่าจักไปบูชา เสาอินทขีลมันก็บ่หันเสียแล้ว มันก็ว่าจักไปเข้าไปถามกุมภัณฑ์ ก็บ่มีเสียแล้วแล ปู่ลัวะเฒ่าผู้นั้นมัน ยินน้อยใจมากนักแล มันก็ลวดออกมาแล้วก็บวชเป็นผ้าขาว แล้วก็สมาทานอธิษฐานเอาศีล 5 ศีล 8 แล้วมันก็นั่งอยู่เค้าไม้ยางนั้นแล

มันก็อยู่เมตตาภาวนากระทำยังสมณะธรรมได้ 3 ปีขวบเข้ามาแล้ว ยังมีมหาเถรเจ้าตนหนึ่ง ท่านก็เถิง ปัญจญาณแล้ว ก็เสด็จมาจากป่าไม้หิมพานต์มายังหั้น แล้วก็กล่าวแก่ผ้าขาวว่า ดูราท่านผ้าขาว บ้าน เมืองที่นี้จักฉิบหายเที่ยงแท้ซะและ ศึกก็จักมาครอบงำเบียดเบียนเอาบ้านเมืองหื้อวินาศฉิบหายด้วย รีบ คันท่านผ้าขาวได้ยินแล้วก็ไปป่าวยังลัวะและไตทั้งหลาย หื้อมาฟังยังคำมหาเถรเจ้าจักกล่าวยังคำ เยื่องนี้แล้วเขาทังหลายก็ฟังทังลัวะทังไต เขาก็มีความหย้านกลัวมากนัก เขาก็พากันไหว้มหาเถรเจ้า ว่า ผู้ข้าทังหลายก็ขอเพิ่งด้วยบุญมหาเถรเจ้า พอโผดผายตูทังหลายจิ่มเทอะ มหาเถรเจ้าได้ยินแล้วก็ ว่าเราจักขึ้นไปหาพระยาอินทร์ก่อนแล ว่าอั้น แล้วมหาเถรเจ้าก็เสด็จขึ้นเมือสู่ชั้นฟ้า แล้วก็เข้าไปหา พระยาอินทร์หั้นแลพระยาอินทร์ก็ถามมหาเถรเจ้าว่า เจ้ากูลุกแต่ที่ใดมานี้จา มาด้วยกิจการเยื่องใด จา ทีนั้น มหาเถรเจ้าจิ่งจักเมตตาพระยาอินทร์บอกกล่าวตามเหตุการณ์อันเคิงใจด้วยบ้านเมืองนพ บุรี จักวินาศฉิบหายด้วยข้าศึกจักมาครอบงำชุประการ เขาท่านทั้งหลายก็กลัวทังลัวะทังไต จิ่งจัก ของหื้อเรามาเมตตาพระยาอินทาธิราชเยื่องฉันใดจักอยู่ดีมีสุขก็ขอหื้อพระยาอินทร์พอเอาใจใส่แถม จิ่มเต่อ เสาอินทขีลอันมหาราชหื้อกุมภัณฑ์เอาลงไปไว้นั้น เขาท่านทังหลายว่าบ่มีในเมืองนี้นั้นเสีย แล้วแล ทีนั้น พระยาอินทร์ก็ใช้ไปเรียกเอากุมภัณฑ์ 2 ตนนั้นมา แล้วพระยาอินทร์ก็ถามว่า ดังฤ สูป๊ อยเอาเสาอินทขีลขึ้นมาเสียนั้นจา กุมภัณฑ์ไหว้พระอินทร์ว่า ข้าแด่อินทาธิราชเจ้าตูข้าอยู่รักษาบ่ได้ ตูข้าก็ได้เอาขึ้นมาเสียแล้วแล ตูข้าใคร่เคียดนักแท้แล เหตุว่าเขาท่านทังหลายก็ประมาทดูแคลนยังผู้ ข้าร้ายเช่นบ่นับบ่ยำตูข้าเป็นสังสักอัน เขาก็ซัดขว้างยังไม้ค้อนก้อนดินหวิดหัวหวิดเกล้าตูข้า อันหนึ่ง เขาก็มาเสียมูตอาจมเสียขี้เสียเยี่ยวรมผู้ข้า อันหนึ่ง เขาก็เอาซากสัตว์คือว่าหมาเน่าแมวเน่ามาซัดที่ นั้น หื้อเหม็นเล้ารมตูข้า อันหนึ่ง เขาก็บ่เลี้ยงดูบ่หื้อตูข้ากินสังสักเทื่อ อันหนึ่ง เขาก็บ่สักการบูชาเสา อินทขีลสักเทื่อ ตูข้าก็เป็นลามกะเป็นฉันนั้น อันใดก็บ่เหมือนแต่ก่อน ตูข้าก็ยินเคียดนัก ก็ลวดพากัน นำเอายังเสาอินทขีลขึ้นมาเสียเพื่ออั้นแล

บัดนี้แม้นว่าจักหื้อตูข้าเอาลงไปไว้ยังเมืองที่นั้นแถม ตูข้าบ่เอาลงไปได้เสียแล้วแล ท่านเจ้ามหาราช เหยหื้อท่านได้จื่อจำเอายังคำเราอินทานี้ลงไปบอกกล่าวหื้อเขาทังหลาย หื้อเขาทังหลายหล่ออ่างขาง ลูกหนึ่ง แคมมันหื้อหนา 9 นิ้ว มีขางลวงกว้างหื้อพอ 5 ศอก แล้วหื้อขุดดินที่นั้นลงหื้อลึก 9 ศอก แล้วหื้อเอาอ่างขางลูกนั้นลงตั้งไว้ก้นขุมอันนั้น แล้วหื้อเขาเอาทองมาหล่อรูปคนหื้อพอร้อยเอ็ดภาษา แต่ละภาษาหื้อหล่อหญิง 1 ชาย 1 แล้วหื้อหล่อสัตว์ทังหลาย คือว่า แรด ช้าง ม้า วัว ควาย เป็ด ไก่ หมูหมา และราชสีห์แมว มอม กวาง ฟาน ระมั่ง ตำแน้เยืองผา แพะ แกะ ฬา วอก ค่าง นาง นี(ชะนี) เชื้อละคู่ผู้ 1 แม่ 1 สัตว์อันอยู่ยังน้ำ คือ เงือกงา ปลาฝา ช้างน้ำ จระเข้มังกร ปูปลา หอย กุ้ง เนี้ยว จักเข็บ แมงป่อง เชื้อละคู่ผู้ 1 แม่ 1 หื้อกระทำด้วยทองทังมวล คันหล่อเสี้ยงพร้อมแล้ว หื้อเอาใส่ในอ่างขางนั้นนับเสี้ยง แล้วหื้อเอาดินและอิฐมาก่อตึด(ปิด) ภายบนอ่างขางนั้น ถมด้วยดิน และอิฐขึ้นตามเต็มขุมนั้น คันว่าเพียงผิวดินแล้ว หื้อก่อรูปอินทขีลแล้วด้วยดินแลอิฐยอง (วาง)บนหัน ขึ้นแล้ว หื้อเขาทังหลายได้แต่งยังเครื่องสักการบูชาปริกรรมบูชายังเสาอินทขีล อันหื้อเขาพอเทียมไว้ นั้น ในกุมภัณฑ์ 2 ตนนั้น ก็หื้อเขาได้แปงรูปไว้คันขวบปีเติง (ถึง) มาแล้ว ก็หื้อเขาทั้งหลายได้ ปริกรรมบูชาและเลี้ยงดูยังกุมภัณฑ์ 2 ตนนั้น เหมือนดั่งเมื่อเอาเสาอินทขีลลงมาเมื่อหัวทีนั้นเทอะ ก็ หาจักอยู่ดีมีสุข บ่อย่าชะและฯ

พระยาอินทร์ก็สั่งยังมหาเถรเจ้าลงมาบอกกล่าวหื้อลัวะทังหลายและไตอันอยู่ในเมืองนพบุรีที่นั้นแล มหาเถรเจ้าลงมารอดแล้ว ก็หื้อเขาชุมนุมกันทังลัวะทังไตมาพร้อมเสี้ยงแล้ว พระมหาเถรเจ้าก็ไขยังปว ติข่าวสาร อันพระยาอินทร์หากสั่งมานั้นแก่เขาชุประการ เขาก็พากันกระทำเสี้ยงพร้อมชุประการ แล้วก็พากันสักการบูชาเลี้ยงดูยังกุมภัณฑ์ทั้งสองตนนั้น แล้วเขาทังหลายก็อยู่ดีมีสุขพ้นจากเสียยัง อุบัติภัยกังวลอันตรายทังมวล ก็ได้อยู่สวัสดีทังบ้านทังเมือง ก็ลวดอยู่สุคติคมณะสืบๆ กันมา เสี้ยง จิรกาลเมินนานมา นานนัก ก้มีด้วยประการดังกล่าวมานี้แล

ตำนานสุวรรณคำแดง หน้า 100-103
เครื่องสักการะบูชา เครื่องสักการะบูชาในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคด เครื่องสักการะบูชาทางศาสนา เครื่องสักการะบูชาตามความเชื่อ เครื่องสักการะบูชาบุคคลพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต เครื่องใช้ในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต ตัวอย่างพิธีกรรมและเครื่องใช้ในพิธีกรรมพิธีกรรมตามช่วงเวลา พิธีกรรมตามช่วงเวลาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมล้านนา ตัวอย่างพิธีกรรมตามช่วงเวลาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะ ตัวอย่างพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะที่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ตัวอย่างพิธีกรรมและเครื่องใช้ในพิธีกรรม เครื่องใช้ในพิธีกรรมในโอกาสเฉพาะ