วัตถุประสงค์ของการสร้างพุทธสถาปัตยกรรม
จากการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี วัตถุประสงค์ของการสร้างพุทธสถา ปัตกยรรมมีหลายสาเหตุ เช่น
ดังรายละเอียด อาทิ ตามตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวถึง พญามังรายทรงโปรดให้สร้างพระพุทธรูป เสนาสนะ ด้วยความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถดลบันดาลให้สมความปรารถนาได้ เช่น ทรงสร้างพระพุทธรูปเมื่อมีความสมประสงค์ในการเสี่ยงทาย คือ การเอาชนะเมืองหงสาว ดี1‑ เมื่อพญามังรายสามารถเจริญสัมพันธไมตรีและได้นางปายโค ธิดาเจ้าเมืองมาเป็นมเหสี ทำให้เกิดการบูชาพระพุทธรูปมากขึ้น โดยการสร้างวิหาร “เพื่อให้พระเจ้าอยู่สำราญ”
ตามความในตำนานที่มีการจารสืบทอดกันมา
“เจ้าพระยามังรายจึงเอาทองคำ 500 ฝากมหาเถรเจ้าไปบูชามหาโพธิ์ ในลังกา มหาเถรทั้ง 4 ตน ก็รับเอาทองคำ 500 กลับคืนไปยังเมือง ลังกา แล้วบูชามหาโพธิ์ในเมืองลังกา มหาเถรเจ้าทั้ง 4 ตนอธิษฐานว่า ผู้ข้าทั้งหลายจักเอาศาสนาพระพุทธเจ้าไปตั้งไว้ณ เมืองล้านนา ผิว่าจัก เจริญรุ่งเรืองต่อไปภายหน้า ขอให้เมล็ดต้นศรีมหาโพธิ์ตกลงเหนือจีวร แห่งข้าเทอญ แล้วเมล็ดต้นศรีมหาโพธิ์ก็ตกลงมาเหนือจีวรแห่งเขาเจ้า ตนละ 1 ลูก มหาเถรเจ้าทั้ง 4 ก็เอาเมล็ดมหาโพธิ์ใส่ในบาตรแห่งตน เมล็ดมหาโพธิ์ทั้ง 4 เมล็ดก็งอกออกมาทั้ง 4 ต้น ก็เอามาถวายพระยามั งรายๆ ใ ห้เอาไปปลูกที่ทุ่งยางเมืองฝางต้นหนึ่ง เอาไปปลูกยังรั้วนางต้น หนึ่ง เอาไปปลูกยังพันนาทการต้นหนึ่ง พระยามังรายเอาให้พระมารดา แห่งตนชื่อว่านางเทพคำข่าย กับนายปายโคราชเทวีเอาไปปลูกแทนที่ ไม้เดื่อเกลี้ยง วัดการโถมนั้นต้นหนึ่ง พระยามังรายก็บูชามหาโพธิ์ด้วย เครื่องบูชาต่างๆ มหาโพธิ์ก็กระทำปาฏิหาริย์เปล่งรัศมีแจ้งสว่างทั่วทั้ง เมือง ใ นคืนนั้น เทพยดาก็แปลงตนเป็นช้างเผือกมีบริวารพันหนึ่งมา แวดล้อมรักษาต้นศรีมหาโพธิ์ตลอดทั้งคืน มิให้สัตว์สิ่งทั้งหลายมากราย ใกล้แม้นสัตว์ตัวใดมากรายใกล้ก็เป็นอันตรายแก่สัตว์ตนนั้น”
ได้กล่าวถึงการรับพุทธศาสนาของพญามังรายได้รับมาจากลังกา ใ นปี พ.ศ.1831 พญามังราย ทรงโปรดให้ช่างกานโถมสร้างวิหารสำหรับพระพุทธรูปนั้น เป็นเครื่องไม้เรียกว่า “วิหารโรงคัล มหาราช” ซึ่งมีชื่อพ้องกับวิหารคัล เมืองลังกา และหลักฐานที่แสดงถึงการรับพุทธศาสนาจาก 3 ลังกา ตามที่ปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ อีกส่วนหนึ่ง คือ รูปแบบการสร้างเจดีย์ 2 ชั้น ชั้นล่างประดิษฐานพระพุทธรูปนั่ง 4 พระองค์ชั้นที่ 2 ประดิษฐานพระพุทธรูปยืน ส่วนรูปพระ สาวก พระอินทร์และพระแม่ธรณีรักษาที่ส่วนฐานล่าง พร้อมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจาก ลังกาไว้ที่วัดกานโถมนั้น พญามังรายทรงรับเมล็ดต้นโพธิ์มาปลูก 4 ต้น ต้นที่ 1 ปลูกที่ที่พักท่ง ยาง เมืองฝาง ต้นที่ 2 ปลูกที่รั้วน่าง ต้นที่ 3 ปลูกที่พันนาทะการ ต้นที่ 4 ปลูกที่วัดกานโถม แสดงถึงการรับพุทธศาสนาจากลังกาของพญามังรายที่นำสัญลักษณ์สำคัญทางพุทธศาสนามา ประดิษฐานในล้านนาเพื่อเป็นที่สักการะ คือ พระบรมสารีริกธาตุ และต้นศรีมหาโพธิ์โ ดยใน ตำนานมิได้กล่าวถึงการสืบทอดพุทธศาสนาว่ามาจากเมืองหริภุญไชยในช่วงแรกก่อนสร้าง อาณาจักรล้านนาหรือไม่แต่กล่าวในลักษณะการรับมาจากลังกาโดยตรง
มีการบันทึกเรื่องการเผยแพร่พุทธศาสนานิกายเถรวาทสู่ล้านนาอย่างน้อย 3 ครั้ง คือ พุทธ ศาสนาจากลังกาในสมัยพญามังราย พุทธศาสนาลังกาวงศ์ นิกายรามัญ (วัดสวนดอก) ใ นสมัย พญากือนา และพุทธศาสนาลังกาวงศ์ นิกายสีหล (วัดป่าแดง) ในสมัยพระเจ้าติโลกราช ล้วนมี การกล่าวถึงประวัติของสิ่งบูชาในพุทธศาสนาที่เป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้าที่สำคัญ คือ พระบรม สารีริกธาตุ ต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งพระบรมสารีริกธาตุถูกบรรจุในฐานะของมหาธาตุ กลางเมือง ตั้งแต่สมัยหริภุญไชย เป็นต้นมา ใ นฐานะศูนย์กลางของจักรวาลอย่างชัดเจน ต่อมาในเมือง เชียงใหม่ได้สร้างเจดีย์ประดิษฐานพระธาตุอยู่ในตำแหน่งกลางวัด เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของเขา พระสุเมรุเช่นกัน แต่เมื่อพิจารณาด้านความเชื่อของชาวล้านนาแล้ว มีการนับถือผีเข้ามาปะปน กับความเชื่อและศรัทธาที่มีต่อพุทธศาสนาอย่างกลมกลืน ดังเช่น ประวัติการสร้างวัดเจดีย์หลวง ซึ่งกล่าวไว้ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า
“...เจ้ากือนาเซิ่งเปนรุกขเทวดาค็สำแดงตนหื้อปรากฏแก่พ่อค้าทังหลาย ฝูงนั้นว่า คูนี้ค็คือพระญากือนาเปนพระญาในเมืองเชียงใหม่ หุ มด้วยคัชชสาสตรเพท คือเปนหมอช้าง ตายได้มาเปนรุกขเทวดาอยู่ไม้ นิโครธต้นนี้จักไพเกิดในเทวโลกบ่ได้สูจุ่งบอกแก่ลูกคูเจ้าแสนเมืองมา หื้อส้างเจติยะยังท่ำกลางเวียงหลังนึ่งสูงพอคนอยู่ไกลสองพันวาผ่อหัน แล้วจุ่งหื้ออยาดน้ำอิทิสสะบุญไพหื้อแก่คูค็จิ่งไพเกิดเทวโลกได้ชะแลว่า อั้น...”
ตามความเชื่อเรื่องตำแหน่งของผังเมือง กล่าวว่าวัดเจดีย์หลวงเป็นศูนย์กลางของเมืองหรือเป็น เกตุเมือง และเป็นที่ตั้งของเสาอินทขีลร่วมกัน จึงสะท้อนถึงโลกทัศน์ของล้านนาที่มีต่อความเชื่อ ในลักษณะของการผสมผสานระหว่างพุทธกับผีในวัดนี้ได้อย่างชัดเจน มีการแสดงสัญลักษณ์กับ ความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นอกเหนือจากพุทธศาสนาและในบางครั้งได้มีความเชื่อเกี่ยวกับ พุทธสัญลักษณ์ในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดลบันดาลอำนาจเหนือธรรมชาติได้ ซึ่งเป็นความเชื่อที่มี ความเฉพาะในล้านนา ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าองค์ประกอบของวัดเมื่อแรกเริ่มนั้นประกอบด้วยเจดีย์และมีการสร้าง เสนาสนะ เช่น วิหาร ที่พักของพระภิกษุ พุทธศาสนิกชน ในการฟังพระธรรมคำสอน และการ ดูแลรักษาศาสนสถานต่างๆ การวิเคราะห์ความหมายของศาสนสถานจึงเริ่มจาก ความหมายใน เชิงสัญลักษณ์ขององค์ประกอบในวัด คือ พระรัตนตรัย คติการออกแบบ การสร้าง และรูปแบบ ของเจดีย์พระพุทธรูป หอไตร อุโบสถ และวิหารล้านนาในสมัยต่อมา
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแลสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การสร้างวัดหลวง ให้มีขนาดใหญ่โต มีความจำเป็นในการแสดงอำนาจและความมั่งคั่งของกษัตริย์และชนชั้น ปกครอง การแสดงถึงความเจริญเป็นอารยะ นอกเหนือจากนั้นขนาดของวัดได้สร้างขึ้นเพื่อให้ สามารถรองรับจำนวนคนที่มาประกอบพิธีกรรมได้อย่างเหมาะสม เช่น วัดหลวงต้องรองรับผู้ ตามขบวนเสด็จของกษัตริย์ได้อย่างพอเพียง จึงสร้างให้มีขนาดใหญ่ ส่วนวัดราษฎร์ได้สร้างให้มี ความเหมาะสมตามจำนวนของสมาชิกในชุมชน ใ นการถ่ายทอดแนวคิดเกี่ยวกับจักรวาลในวัด นั้นได้มีการถ่ายทอดสู่ทุกชนชั้นในสังคมให้มีความคิด ความเชื่อ ในระบบเดียวกัน ตามรูปแบบของการจัดวางผังวัดซึ่งแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ วัดหลวง และวัดราษฎร์ดังนี้
(1) วัดหลวง ที่มีความสำคัญเนื่องจากการสร้างหรือบูรณะโดยกษัตริย์ ซึ่งมีหลักฐานการ บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน ใ นสมัยราชวงศ์มังราย เช่น การกล่าวถึงการ สร้างวัดโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ใ นชินกาลมาลีปกรณ์ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ซึ่ง วัดหลวงนี้ได้แบ่งแยกเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสออกจากกันอย่างชัดเจน โ ดยเขต พุทธาวาสมีการสร้างกำแพงล้อมรอบแบ่งพื้นที่ออกจากบริเวณโดยรอบ เพื่อกำหนดเป็น เขตที่มีการจัดผังวัดตามคติจักรวาล ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากรูปแบบการวางตำแหน่ง อาคารสำคัญ ไ ด้แก่ วิหาร และเจดีย์ใ นแนวแกนกลางของวัดที่เรียงตัวกันไปตามทิศ ตะวันออก ตะวันตก ส่วนอาคารรองได้เรียงกันในตำแหน่งทิศเหนือ ใต้ซึ่งแสดงได้ตามผัง วัดสำคัญ เช่น วัดพระธาตุหริภุญไชย วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดพระสิงห์เป็นต้น การจัดวางผังวัดในเขตพุทธาวาสสำหรับวัดหลวงหรือวัดสำคัญที่สร้างหรือบูรณะโดย กษัตริย์ล้านนานั้น ที่หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากการสร้างอาคาร เพิ่มในบางส่วนแต่มีผลกระทบต่อผังวัดโดยรวมไม่มากนัก แสดงให้เห็นถึงการให้สำคัญ ตามสัญลักษณ์ของจักรวาลคติตามการรับรู้ในเชิงสัญลักษณ์ของชาวล้านนาในอดีต ส่วน ที่มีลักษณะร่วม คือ วางตำแหน่งเจดีย์เป็นศูนย์กลางของวัดโดยเปรียบดังเขาพระสุเมรุ โดยรอบตามทิศต่างๆ เป็นที่ตั้งของวิหาร ซึ่งประกอบด้วยด้านทิศตะวันออกเป็นที่ตั้งของ วิหารหลวง และทิศใต้ ซึ่งเป็นตำแหน่งของชมพูทวีปในคติจักรวาลได้ตั้งวิหารที่มีความสำคัญ เช่น วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ วิหารพระพุทธ ที่วัดพระธาตุหริภุญไชย และวัด พระธาตุลำปางหลวง เป็นต้น
(2) กลุ่มวัดราษฎร์หรือวัดที่สร้างโดยชุมชนต่างๆ มีลักษณะการจัดผังรวมระหว่างเขตพุทธาวาส และสังฆาวาส โ ดยอาคารสำคัญในการประกอบพิธีกรรม คือ วิหาร อยู่หน้าวัด หันหน้าไปทาง ทิศตะวันออก ส่วนใหญ่ตรงกับประตูทางเข้าวัด ส่วนด้านหลังวิหารเป็นที่ตั้งของเจดีย์ซึ่งบางวัด อาจไม่มีการสร้าง อุโบสถเป็นอาคารที่ตั้งอยู่นอกเหนือจากแนวแกนหลักของผังวัด บางวัดอาจ ไม่มีการสร้างอุโบสถ เนื่องจากเดิมการทำสังฆกรรมของพระสงฆ์ในล้านนาจะรวมกันที่วัดหัว หมวด ดังนั้นแนวแกนหลักของวัดราษฎร์จึงเป็นแนวแกนตะวันออก-ตะวันตกเพียงแนวแกน เดียว
ส่วนการจัดพื้นที่ระหว่างเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสนั้น แบ่งโดยการจัดวางกลุ่มอาคารในเขต พุทธาวาสไว้กลางวัด ส่วนอาคารในเขตสังฆาวาสได้แยกออกมาอย่างชัดเจน ทั้งลักษณะของ อาคารที่ต่างกัน โ ดยเขตสังฆาวาสจะติดกับกำแพงวัด และมีการเว้นพื้นที่เปิดเป็นที่โล่งสำหรับ เขตพุทธาวาสและสังฆาวาส และแบ่งโดยปลูกต้นไม้บังเขตสังฆาวาสเอาไว้ ซึ่งการจัดผังใน ลักษณะนี้อาจด้วยข้อจำกัดด้านทรัพยากร สิ่งก่อสร้าง และพื้นที่ ประกอบกับวัดราษฎร์สร้างขึ้น เพื่อสนองความต้องการทางใจของชุมชน และเป็นศูนย์รวมในการพบปะเพื่อประกอบประเพณี พิธีกรรม หรือจัดกิจกรรมการชุมนุมต่างๆ ความสะดวกในการติดต่อกับพระสงฆ์ซึ่งอาศัยอยู่ใน พื้นที่เดียวกับวัดทำให้พระสงฆ์ได้เป็นที่พึ่งและใกล้ชิดกับชุมชนมากขึ้น