วัดเป็นที่ประกอบพิธีกรรม


พิธีขึ้นครองราชย์

พระยาอุปโยราชบูชาพระที่วัดเชียงยืน นมัสการพระแก้วมรกต ณ หอพระแก้ว พระมหาเจดีย์ หลวง นมัสการพระมหาเจดีย์หลวง ให้ปูเสื่อแต่คุ้มไปถึงวัดพระยาอุปโยก็เสด็จพระราชดำเนิน ไปตามลาดพระบาทจนถึงวัดเจดีย์หลวง

“ครั้นวันแรม 6 ค่ำ วันพฤหัสบดีเจ้าแสนพิงค์ไชยแก้ว, เจ้าหมื่นสาม ล้านอ้าย, เจ้าแสนคร้าว, นันทคิรี, เจ้าหมื่นหลวงพราน, เจ้าหมื่นหลวง จ่าบ้าน, เจ้าหมื่นหลวงพุทธเจ้า, หมื่นหลวงล่ามแขก, ญาณกิติ, พร้อม ด้วยขุนหมื่นขุนพันนายร้อยนายสิบชั้นนอกชั้นใน ก็พร้อมใจกันเอา เครื่องราชูปริโภคและฉัตร พัดค้าว จามร ยาน ช้างม้า หอกดาบ เครื่อง แห่แหนทั้งมวลแห่ออกไปต้อนรับเสด็จพระยาอุปโยราช อัญเชิญมาถึง ประตูโขงวัดเชียงยืน พระเป็นเจ้าจึงทรงถอดเครื่องประดับ แล้วทรงผ้า ขาวถือพานเข้าตอกดอกไม้ เทียนเงิน เทียนทอง เข้าไปบูชาพระ สัพพัญญูเจ้าวัดเชียงยืน ครั้งยามแถลสู่เที่ยง ก็เสด็จยาตราพลนิกรเข้า มาทางประตูช้างเผือกหัวเวียง เข้าถึงราชมณเฑียน ขึ้นประทับบนราช บัลลังค์ยามเที่ยงวัน ครั้นถึงยามแถลค่ำ เสด็จไปนมัสการพระแก้วมรกต ณ หอพระแก้ว รุ่งขึ้นวันแรม 7 ค่ำ ยามแถลค่ำเสด็จไปนมัสการพระ มหาเจดีย์หลวง ใ ห้ปูเสื่อแต่คุ้มไปถึงว ัดพระยาอุปโยก็เสด็จ พระราชดำเนินไปตามลาดพระบาทจนถึงวัด ครั้นถึงวันเดือน 11 ขึ้น 4 ค่ำ วันพุธ ฤกษ์ 26 ตัวยามเที่ยงวัน เสนา อำมาตย์ต่างก็พร้อมกันกระทำมงคลพิธีกรรมราชาภิเษก พระยาอุปโย ราชเป็นพระยากินเมืองเชียงใหม่ยังสวนแห่ แล้วขึ้นนั่งราชบัลลังค์ใน ท้องพระโรงหลวง และทรงอภิเษกพระราชธิดาพระเมืองเกษเชษฐราช ทั้งสองคือพระนางตนทิพย์ และพระนางตนคำสองพี่น้องเป็นอัครมเหสี ซ้ายขวา เดือน 11 แรม 5 ค่ำ พระเป็นเจ้าอุปวโยราชเสด็จไปไหว้พระธาตุเจ้า ดอยสุเทพ ”


ตำนานราชวงศ์ปกรณ์

พระศีลา วัดเชียงมั่น

“.......... เมื่อพระพุทธเจ้าของเราได้ปรินิพพานไปได้ 7 ปีกับ 7 เดือน กับ 7 วัน พระเจ้าอชาตศัตตุราชตนทรงยศเป็นอันมาก ก็ทรงให้นิมนต์ มายังพระสงฆ์ทั้งหลาย มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน แล้วพร้อมใจกัน กระทำสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าเป็นอันมาก และทรงให้ทานแก่พระสงฆ์ทั้งหลายเป็นนิจกาล ใ นกาลนั้นพระเจ้าอชา ตศัตรรุราช ผู้ทรงมีปัญญาและผู้เป็นใหญ่แก่ชาวเมืองราชคฤห์ทั้งหลาย ก็ทรงบังเกิดได้ฉันทกุศลจิต มีพระประสงค์จะทรงสร้างพระพุทธรู) พระองค์ก็ทรงให้ไปนำเอายังกินพิมพการ แต่ท้องมหาสมุทรมาแล้ว ก็ ทรงให้นายช่างกระทำพระพุทธรูปปางเสด็จบิณฑบาตในเวียงราชคฤห์ ปราบช้างนาฬาคิรีด้วยพระเมตตาทรงให้กระทำรูปช้างนาฬาคิรีนอน หมอบอยู่ข้างขวา ทรงให้กระทำรูปพระอานนท์ถือบาตรอยู่ข้างซ้าย ทรงให้กระทำรูปทั้งสามนั้นให้หน้าหินลูกเดียวกันนั้นแล ฯ พระพุทธรูปสูง 1 คืบ กับ 4 นิ้ว รวมรูปทั้งสามนั้นกว้างประมาณ 1 คืบ ในกาลนั้นพระอรหันต์เจ้าทั้งหลายและพระเจ้าอชาตศัตตุราชก็พร้อมใจ กัน เอาพระพุทธเจ้าทรงสถิตเหนือบัลลังค์แล้วเอาพระบรมสารีรักธาต 7 พระองค์ ทรงตั้งไว้ในภาชนะทองคำแล้ว พร้อมกับกราบด้วย เบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง ด้วยความเคารพนบนอบ แล้วตั้งสัจจา อธิษฐานกล่าวคำอาราธนา พระบรมสารีริกธาตุให้เสด็จเข้าสถิตในองค์ พระพุทธรูปศีลาเจ้านี้แล ใ นขณะนั้นส่วนพระบรมสารีริกธาตุเจ้าทั้ง 7 พระองค์นั้น องค์หนึ่งเสด็จเข้าในพระเศียร (หัว) องค์หนึ่งเสด็จเข้าใน พระนลาต (หน้าผาก) องค์หนึ่งเสด็จเข้าในพระอุระ (หน้าอก) อีกสอง องค์เสด็จเข้าในพระอังสะทั้งสอง (บ่าทั้งสอง) อีก 2 พระองค์เสด็จเข้า สถิตในพระชานุ (เข่า) ทั้งสอง แห่งพระศีลาเจ้าก็มีแล

ในเมื่อพระบรมสารีริกธาตุเจ้าทั้ง 7 พระองค์สถิตตั้งอยู่ในพระองค์พระ ศีลาเจ้าแล้ว พระศีลาเจ้าก็ทรงสำแดงอิทธิฤทธิ์ เสด็จขึ้นสู่พื้นนภากาศ สูงพอประมาณคนมองเห็นด้วยนัยต์ตา แล้วเสด็จลงมาสถิตเหนือบัลลัง ค์ดังเดิมก็มีแล พระเจ้าอชาตศัตตุราชทรงเห็นเป็นอัศจรรย์ดังนั้น ก็ทรง บังเกิดความโศมนัสเป็นอันมาก แล้วทรงสั่งให้กระทำที่ประดิษฐานพระ ศีลาเจ้าในเงื่อมเขาที่สูง อันใคร ๆ ไ ม่สามารถปีนป่ายขึ้นไปด้วยเท้าได้ แล้วทรงให้กระทำแท่นที่บูชาไว้ข้างล่างสำหรับคนฝูงแสวงบุญทั้งหลาย จะได้มากระทำการสักการบูชาในที่นั้นแล....”


ตำนานพระศีลา วัดเชียงมั่น

พิธีอุปสมบทกรรม ลงขนานสีมาในแม่น้ำ

“เจ้าพระยาอุปโยมาจากเมืองล้านช้าง มาถึงเมืองเชียงแสนทรงประทับ แรมอยู่ที่เมืองเชียงแสนได้ 21 วัน ขณะที่ประทับอยู่ที่เมืองเชียงแสนนั้น โปรดให้ชาวเจ้าภิกขุกระทำพิธีอุปสมบทกรรม ลงขนานสีมาในแม่น้ำของ อุปสมบทกุลบุตร ครั้นเดือน 9 แรม 7 ค่ำ ก็มาถึงเมืองเชียงราย ทรง ประทับแรมที่เมืองเชียงดาวได้ 9 วัน เดือน 10 แรม 5 ค่ำ วันพุธ มา ประทับที่พลับพลาหมื่นขอมตำบลเหมืองแก้ว”

ตำนานราชวงศ์ปกรณ์