วิหารตามความหมายในทางพุทธศาสนา หมายถึง ที่พักอาศัยในป่า กระท่อม ที่อยู่อาศัย ที่พัก กุฏิ (สำหรับพระภิกษุ) สถานที่ประชุมของภิกษุ ตึกใหญ่สำหรับภิกษุทั้งหลายอยู่อาศัย วิหาร และวัด เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 ว่า วิหารหมายถึง น.วัด ที่อยู่ของพระสงฆ์ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป คู่กับโบสถ์ (ป.วิหาร) ปัจจุบัน วิหารเปลี่ยนการใช้ประโยชน์เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและประกอบพิธีกรรม ไ ม่ใช่เรือนพัก อาศัยหรือที่อยู่ตามความหมายเดิม
การสร้างวิหารในครั้งแรกนั้นได้ปรากฏในพุทธประวัติเมื่อพระพุทธเจ้าทรงกล่าวอนุญาต เสนาสนะ คือ ที่นอน ที่พำนัก 5 ชนิด หนึ่งในนั้น ได้แก่ วิหาร ซึ่งหมายถึงกุฏิมีหลังคา มีชายคา สองข้าง เป็นลักษณะของสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นที่สำหรับพระภิกษุสงฆ์เป็นที่เร้น เพื่อความ สำราญ เพื่อบำเพ็ญสมถวิปัสนา ยังประโยชน์แก่พระศาสนา จึงปรากฏว่าในล้านนามีวัดอยู่เป็น จำนวนมาก ทั้งที่สร้างโดยกษัตริย์ เจ้าเมือง และชาวบ้านทั่วไป ซึ่งการก่อสร้างนี้จะต้องใช้ทั้ง กำลังคนและกำลังทรัพย์เป็นจำนวนมากจึงสะท้อนให้เห็นถึงความเลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนา ความเชื่อในเรื่องอานิสงส์ผลบุญของการสร้างพระวิหารของผู้อุทิศสร้างพระวิหารถวายเป็นทาน ในอาณาจักรล้านนาได้เป็นอย่างดี ซึ่งผลที่ได้รับจากการสร้างวิหารมีอธิบายไว้ในมิลินทปัญหา ว่าพระพุทธเจ้ามิได้ทรงห้ามในเรื่องที่อยู่อาศัยของพระภิกษุแต่ห้ามมิให้ยึดติดในที่อยู่อาศัย เมื่อ พำนักอยู่ชั่วคราวแล้วให้จาริกไป อานิสงส์ของการสร้างวิหาร ทำให้ผู้นั้นสำเร็จพระนิพพาน พ้น จากทุกข์ 4 คือ ชาติทุกข์ชราทุกข์ พยาธิทุกข์และมรรทุกข์ส่วนผลในการปฏิบัติเพื่ออธิบาย ผลแห่งอานิสงส์นั้น คือ การสร้างวิหารถวายย่อมทำให้พระภิกษุจาริกไปพบเพื่อให้ทำบุญ ทำ ทานโดยง่าย และได้รับฟังพระธรรมคำสอน
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีกล่าวถึงการสร้างวิหารไว้อาทิ
วิหารวัดเจดีย์หลวง
“.........อะยัง มหาเจติยะ สาธุติยา ภิกขสังขา รูปปัตติธิปนากะถาฯ ถัด นั้น นางติโลกจุฑาราชเทวีก็หื้อสร้างวิหารหลัง 1 แล้ว นางราชเทวีก็หื้อ หล่อองค์พระเจ้ายืนองค์ 1 สูงได้ 18 ศอก กับรูปอัครสาวก 2 องค์ไว้ใน วิหารนั้นแล้วก็หื้อยังนาง 2 คนแลคนครัวทั้งหลายทานไว้กับมหาเจติ ยะแลวิหารเพื่อหื้อปฏิบัติกวาดแผ้ว ชำระสะใสยังมหาเจติยะวิหารหื้อ เป็นถาวรดีงามแล้ว นางราชเทวีก็หื้อฉลองยังมหาเจติยะแลวิหารด้วย เข้าของอันมากแล้ว ก็หยาดน้ำตกเหนือแผ่นดินก็อุทิศส่วนบุญอันนั้น หื้อแก่ท้าวแสนเมืองมา ตนเป็นผัวแห่งตนนั้น นางก็อุทิศส่วนบุญนั้นไป เถิงอินทร์พรหมและระสีวิชาธรณี แลปชานราษฎร์ทั้งหลายฝูงอันตาย ไปนั้น แล้วนางราชเทวีก็ปรารถนาเอาอรหันตะกับด้วยปฏิสัมภิทา ญาณาทิคุณ แรกฉลองมหาเจติยะแล้วนั้นไปได้ 12 ปีนางราชเทวีก็เถิง เซิ่งอนิจกรรมไปวันนั้นแล........”
พัฒนาการของวิหารล้านนา เริ่มจากก่อสร้างจากวัสดุที่หาได้ตามธรรมชาติเช่น ไม้ไผ่ ไม้สักรวม ทั้งไม้เนื้อแข็งที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในเขตป่าไม้ภาคเหนือ ทำให้วิหารเหล่านี้มีอายุการใช้งาน สั้น ต้องทำการบูรณะซ่อมแซมอย่างต่อเนื่อง และมีการเปลี่ยนแปลงไปใช้วัสดุใหม่ได้ง่าย เช่น การใช้วัสดุประเภทคอนกรีตเสริมเหล็กในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 โ ดยรูปแบบวิหารดั้งเดิมของ ล้านนา คือ วิหารไม้ ที่มีทั้งวิหารโถง และวิหารปิดด้วยผนังทึบ ใ ช้การเจาะช่องแสง จากการ สำรวจของ พบว่ามีการศึกษาวิหารที่เป็นแบบแผนงานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของวิหาร พื้นเมืองล้านนาจำนวน 10 หลัง ส่วนวิหารที่เหลืออยู่นั้นได้มีการบูรณะด้วยวัสดุประเภท คอนกรีตเหล็กและมีรูปแบบใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากภาคกลาง ทำให้มีรูปแบบเปลี่ยนไปจาก วิหารในท้องถิ่น และได้รวมหน้าที่ใช้สอยแบบอุโบสถเข้าไปโดยการผูกพัทธสีมา และปักใบเสมา โดยรอบอาคารเพื่อกำหนดเป็นอุโบสถวิหาร ซึ่งเป็นหน้าที่ใช้สอยใหม่ของอาคารประเภทวิหาร ล้านนา
อุโบสถ วิหาร ใ นท้องถิ่นที่ชาวบ้านร่วมกันสร้างขึ้นในช่วงเริ่มแรก ก่อนการหาปัจจัยและแรงงาน สร้างเป็นอาคารไม้สันนิษฐานว่าเป็นการสร้างด้วยเครื่องผูก มุงหญ้าคา ตามที่ปรากฏในประวัติวัด บ้านเหล่าความว่า
“วิหารหลังเก่าก่อนมุงคา แต่ว่าสร้างสมัยใดไม่ทราบ ต่อมาก็มุงดินขอ โบราณ ต่อมาก็มุงกระเบื้อง อายุเก่าที่สุดเท่าที่ทราบ คือ พ.ศ.2442 ใ น ปัจจุบันได้มีการสร้างขึ้นใหม่”
ลักษณะของการสร้างสถาปัตยกรรมด้วยไม้ไผ่ มุงด้วยหญ้าคาจึงเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นชั่วคราว ก่อนการสร้างเป็นวิหารไม้วิหารปูนต่อไป รูปแบบของวิหารล้านนาจึงสามารถสรุปได้ดังนี
(1) วิหารไม้เป็นโครงสร้างไม้ทั้งหลัง ไ ม่มีผนัง มีหลังคาคลุมต่ำ มีฝายาบที่ปิดช่วงบนที่ต่อ ลงมาจากหลังคาเพื่อบังแสงจากภายนอก เป็นลักษณะเด่นของวิหารล้านนาที่เรียกว่า วิหารโถง นอกจากนี้ยังรวมถึงวิหารที่มีผนังปิดล้อมที่สร้างขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน มี รูปแบบเป็นวิหารปิดทึบหรือวิหารมีป๋างเอก เช่น วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุลำปาง หลวง และที่มีการสร้างเจดีย์ต่อออกไปด้านหลังวิหารหรือเรียกว่าวิหารทรงปราสาท ด้วยการต่อเชื่อมกับองค์เจดีย์ที่ตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร เป็นแนวคิดที่พัฒนามาจากการสร้าง เจติยวิหาร หรือคันธกุฎี ที่ประทับของพระพุทธเจ้า เช่น วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ วิหารวัดปราสาท จังหวัดเชียงใหม่
(2) วิหารเครื่องผูก ในที่นี้กำหนดเรียกตามเรือนเครื่องผูก เนื่องจากสร้างด้วยไม้ไผ่ใช้ตอก หรือหวายผูกยึดโครงสร้างไว้ด้วยกันด้วยอายุและลักษณะไม่คงทนของวัสดุที่ใช้ทำให้ วิหารไม้ไผ่เป็นสิ่งก่อสร้างชั่วคราว บางครั้งในชุมชนเรียกว่า ผาม สำหรับใช้สอยใน พิธีกรรมชั่วคราว
(3) วิหารคอนกรีต ด้วยความต้องการแบบที่ทันสมัยทั้งรูปแบบและวัสดุก่อสร้างโดยรับมาจาก เมืองหลวงคือกรุงเทพฯ ซึ่งแบ่งได้ 2 ช่วงเวลา คือ ตั้งแต่การบูรณปฏิสังขรณ์โดยครูบาศรีวิชัย เพื่อสืบทอดพุทธศาสนาและเป็นการบำเพ็ญบารมีของครูบา และการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ช่วง หลังทศวรรษที่ 2480 เป็นต้นมา ที่พบว่าวัดส่วนใหญ่รื้อวิหารและอุโบสถหลังเก่า เพื่อสร้าง ตามแบบพระอุโบสถสำหรับก่อสร้างต่างจังหวัด จากแบบของกรมการศาสนาในขณะนั้น และการไปดูแบบจากวัดที่มีการสร้างอุโบสถและวิหารตามอย่างกรุงเทพฯ เพื่อนำมาปรับสร้างเป็น แบบของแต่ละวัดตามความเหมาะสม
รูปแบบของวิหารล้านนา
จากรูปแบบที่หลากหลายของวิหารล้านนาทั้งวิหารโถง วิหารที่มีผนังปิดล้อม และวิหารทรง ปราสาท ต่างเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ บนแท่นแก้วหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ทำให้วิหารมีทางเข้าอยู่ทางทิศตะวันออก ซึ่ง สัมพันธ์กับการออกแบบผังวัด
ผังของวิหารล้านนาเดิมที่สร้างจากไม้เป็นวัสดุหลักมีขนาดไม่ใหญ่นัก การขยายขนาดของ อาคารจึงเกิดจากการเพิ่มชั้นหลังคาออกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และการเพิ่มชั้นหลังคมออก ด้านข้างทั้งจำนวนซดและตับหลังคา ซึ่งจำนวนที่เป็นแบบแผนสำคัญของวิหารล้านนา คือ การ ลดชั้นหลังคาด้านหน้า 2 ซด ด้านหลัง 1 ซด และผืนหลังคาที่ต่อออกมาด้านข้างคล้ายปีกนก จำนวน 2-3 ตับ ตามขนาดของอาคาร เช่น วิหารขนาดปกติจะต่อชายคาออกมารวมกับผืน หลังคาเป็น 2 ตับ ส่วนวิหารหลวงวัดพระธาตุลำปางหลวงต่อออกมาเป็น 3 ตับ ตามการขยาย ขนาดของวิหาร
การลดชั้นของหลังคามีความสัมพันธ์กับฐานวิหารล้านนา ทำให้มีรูปแบบเป็นฐานยก เก็จ ด้านหน้า 3 ด้านหลัง 2 ทั้งวิหารโถง วิหารที่มีผนังปิดล้อม และวิหารทรงปราสาท