การบูรณะปฏิสังขรณ์พุทธสถาปัตยกรรม มีปรากฏหลายครั้งในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และ โบราณคดีพุทธสถาปัตยกรรมอาจเรียกได้ว่ามีการบูรณะบ่อยครั้งที่สุด เช่น วัดเจดีย์หลวง ดัง รายละเอียด เช่น
วัดเจดีย์หลวง
“.......... ถัดนั้นไปเมือหน้ามหาสัทธัมกิติสวามีก็มาเป็นสังฆนายก ใ นสิริ ราชกุฎารามในปีล้วงไส้ศักราชได้ 823 ตัวแล ใ นกาลนั้น สิริราชกุฎา รามนั้นก็เป็นอันหักพังลงมามากนัก หญ้าแลคาไม้ทั้งหลายก็เกิดงอก ออกมาในเจติยะภายลุ่มภายบน ใ นโขงประตูนั้นประกอบไปด้วยไม้แล คาทั้งหลาย ก็เป็นที่ลี้ที่จอดอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นต้นว่าระมั่ง กวาง ทราย กระต่าย ทั้งหลายแลส่วนสังฆวิหารก็ดีก็หลุโค่นหักพังลงมากนัก แล ทีนั้นสัทธัมกิติสวามีตนเป็นอธิบดีหันอันหลากคลาสันนั้น ท่านก็จิ่ง คนึงในใจตนว่า โ อยหนอ อารามอันนี้ก็เป็นอันเปล่าเสียแท้นอ ผู้ใดจัก มาสร้างเป็นยังอารามอันนี้หื้อรุ่งเรืองได้นี้ชา ยามนั้นกุมกามเขาก็เป็น ใหญ่ชาวช่างชาวหนังสือทั้งหลายก็เป็นที่ครพยำแก่พระยาแล พระยาก็ ตั้งไว้ในที่อันเป็นใหญ่แก่พระยา ก็แสร้งถามยังกิจกรรมอันน้อยอันใหญ่ ทั้งมวลดีหลีแล เมื่อนั้นสัทธัมกิตติก็คุ้นเคยรักกับด้วยหมื่นช้างนักแล มหาสัทธัมกิตติก็มีธรรมเมตตาบอกแก่เจ้าหมื่นช่างนักด้วยคำว่าดังนี้ เจ ติยะหลวงก็ปุดขาดโค่นโหยดหักพังไปมากนัก ส่วนว่าวิหารก็ดีก็เป็นดัง จักล่มไปดีหลีแล ส่วนพระยาจักมีใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาด้วย ประการสันใด ท่านจุ่งจักปฏิบัติไหว้สาพระยาทูลปกเตินยังใจพระยา ด้วยประการดังนั้นเทอะ แรกแต่นั้นเจ้าไทยก็ใช้มานพผู้ 1 ชื่อว่ากงกา หื้อไปเตือนยังคำอันนั้นดังนี้อยู่ไจ้ๆ หั้นแล เมื่อนั้นท่านหมื่นช่างได้ โอกาสอันควรแล้ว ก็ไปกล่าวคำอันนั้นแก่พระยาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เหนือหัว ส่วนอารามแลวิหารแลกู่หลวงทั้งมวลนั้นก็เป็นอันเก่าคร่ำชรา หลุล่มเสียแล้ว ข้าขอเชิญมหาราชเหนือหัวจุ่งเสด็จไปเล็งดูยังอารามอัน เป็นของสัทธาอันพ่อเจ้าปู่เจ้า หากสร้างไว้แต่ก่อนแล ส่วนวิหารก็ดีเจติ ยะก็ดี ก็เป็นดังจักท่าวจักพังไปนั้นดีหลีแล พระยาได้ยินคำอันนั้นก็ กล่าวว่า ดีนักแลพี่เหย กูก็จักไปสร้างวิหารก่อนชะแล พระยาก็กล่าวดัง อั้น ก็หาเจ้าแสนพิงมาแล้วก็ภาระกรรมไว้หื้อ อันจักสร้างวิหารนั้นแก่ เจ้าแสนพิงได้สร้างหั้นแล พระยาติโลกราชก็หื้อสร้างวิหารนั้นในปีก่าไส้ ศักราชได้ 835 ตัว วิหารอันพระยาหื้อสร้างใหม่นั้นก็แคว้นกว้างแคว้น ใหญ่กว่าเก่า ลวงกว้าง 9 วา ลวงยาวได้ 19 วา อันพร้อมด้วยช่อฟ้าและ ป้านลม ฝาประตูหับไขได้ดูงามมากนักแล ถัดนั้น พระยาก็หื้อสร้าง ธรรมาสน์ อันประจิตรด้วยเครือดอกเครือวัลย์แล้วประดับด้วยแก้วแล้ว ด้วยคำก็เอาไว้ในวิหารหลวงนั้นแล พระยาก็หื้อก่อแท่นอัน 1 ใ หญ่นัก ในวิหารนั้นไว้เป็นที่หนึ่งแห่งพระพุทธเจ้า พระยาก็จ่ายเงินเสี้ยงแสน หนึ่ง หื้อสร้างวิหารหลวงหลังนั้นก็บัวระมวลชุอันแลฯ
ถัดนั้นยังมีชายสองคนพ่อลูก ผู้พ่อชื่อว่าช่างน้อย ผู้ลูกชื่อว่าแสนเงิน ผู้ พ่อหื้อสร้างหอธรรมปิฎกหลังหนึ่งในด้านวิหารล้ำใต้ซ่วยวันออก อัน ประดับด้วยยอดช่อฟ้าป้านลม แล้วด้วยอันปิดด้วยทองคำอันเต็มไปด้วย ธรรมปิฎกทั้งสามแล จ่ายเสี้ยงสิบหมื่นเงินก็บัวระมวลชุอันแล ถัดนั้น แสนเงินผู้ลูกก็หื้อสร้างหอธรรมปิฎกหลัง 1 ข้างวิหารกล้ำเหนือซ่วยวัน ออกหื้อเต็มไปด้วยโบทะกะ จ่ายเงินเสี้ยงสิบหื่นก็บัวระมวลชุอันแล พระยาติโลกราชก็แต่งนางไว้กับวิหารแลพุทธรูปแลหอปิฎก ก็มีมากนัก แลฯ อะยังวิหาราทินัง ทุติยะปะ ปติธิปะนา กะถาฯ
ถัดนั้นภายหน้า เถิงปีเปิกเสต อันเป็นปีถ้วน 9 แต่อันพระยาหื้อสร้าง วิหารแล้วนั้น พระยาติโลกราชเจ้าก็จำกับด้วยเสนาอามาตย์ทั้งหลายว่า สันนี้ วิหารอันเป็นที่อยู่แห่งพระพุทธเจ้าก็หื้อสร้างแล้ว แลส่วนดั่งกุฏิ หลวงนั้นเป็นอันโค่นหักพังตกนักแล เราจักปฏิบัติสันใดในอันกุฏิหลวง อันเก่าคร่ำนี้ชา เมื่อนั้นเสนาอามาตย์ผู้ใดผู้หนึ่งก็บ่อาจจักขานต้านตอบ คำพระยาได้สักคนแล ใ นคืนอันพระยาจำกับด้วยอามาตย์นั้น ยามอัน จักใกล้รุ่ง แผ่นดินหลวงหวั่นไหวมากนัก เสียงอันร้องออกมาแต่แผ่นดิน มากนัก สัตว์ 2 ตีนมีนกแลไก่ก็สะดุ้งตกใจกลัวมากนัก เสียงอันร้องอัน สะดุ้งตกใจกลัวแห่งคนทั้งหลายก็ดีก็มีในเดือนอันเดียวนั้นเสี้ยงแลคาบ แล เมื่อนั้นพระยาติโลกราชก็จำยังเหตุภูมิจารอันนั้นเซิงอามาตย์ทั้ง หลายดังนี้ ดูกรา อามาตย์ทั้งหลายแผ่นดินไหวในคืนนี้ ปูนกลัวนักแล อันตรายฉิบหายอันใดอันจักมีอั้นดั่งฤ รู้ว่าจักเป็นสุขสวัสดีจักมียังเมือง เรานี้มากนักแล นักปราชญ์ทั้งหลายอันฉลาดในศาสตรเภท อันเป็นแล้ว ในกาลเมื่อก่อนยังว่าไว้ดั่งฤ ท่านยังรู้ด้วยประการสันใดในอันไหวแห่ง แผ่นดินมาปางนี้ชา เมื่อนั้นหมื่นช่างกุมกามพิจารณาดูตามศาสตรเภท อันตนได้เรียนมาแลกล่าวเซิ่งพระยาว่าดังนี้ ข้าแห่งมหาราชเจ้า อันว่า แผ่นดินไหวมี 4 จำพวก อันอาจารย์เจ้าทั้งหลายหากกล่าวไว้ในคัมภีร์ โหราแล อันหนึ่งชื่อว่ายะพยะมัณฑล อันหนึ่งชื่อว่าอคิมัณฑล อันหนึ่ง ชื่อว่าเทวะมัณฑล อันหนึ่งชื่อว่ารุกกะมัณฑลแล ลำภูมิจารนั้นหื้ออิฐผล แล ภูมิจารอันนี้จักหื้อสุขแก่บ้านเมืองมหาราชเจ้าดีหลีแล ประการ 1 เล่าชื่อว่า ภูมิจาร 8 จำพวกก็มีในพุทธวจนะดังนี้แล ภูมิจารอัน 1 มีเหตุ ลมอันมีภายใต้พื้นแผ่นดินนี้ขำเขือกแล ภูมิจารอัน 1 มีเหตุอิทธิเตชะ แห่งศีลทิฐิแห่งสมณะพราหมณ์ทั้งหลายแล ภูมิจารอัน 1 มีเหตุโพธิสัตว์ ทั้งหลายลงมาเอาปฏิสนธิในท้องแม่ในปัจสิมมะภาวะ ภูมิจารอัน 1 มี เหตุออกมาจากท้องแม่แห่งโพธิสัตว์เจ้าในปัจสิมมะภาวะ ภูมิจารอัน 1 มีเหตุอันได้ตรัสรู้ยังสัพพัญญตญาตแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อัน 1 มี เหตุเทศนาธรรมจักกปวะตะนะสูตรแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อัน 1 มี เหตุเมื่ออายุสังขารโวสชนาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อัน 1 เกิดมีเหตุ อันปรินิพพานแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ภูมิจาร 8 จำพวกนั้น ภูมิ จารนี้เสมอด้วยภูมิจารอันถ้วน 2 เกิดมีด้วยอิทธิเตชะอันนั้นแท้แล ใ น วันวานนี้มหาราชเจ้าได้จากับด้วยผู้ข้าทั้งหลาย อันจักแต่งแปงกุฏิหลวง อันเก่าคร่ำนั้น แผ่นดินนี้มีเสียงอันดังก้องร้องทุกกำแล้ว ก็ไหวด้วยอิทธิ ฤทธีเตชะบุญด้วยคำจ๋าปราศรัยแห่งมหาราชเจ้าดีหลีแล เมื่อนั้นพระยา ติโลกราชได้ยินคำอันนั้น ก็ชมชื่นยินดีก็กล่าวยังหมื่นช่างกุมกามว่าดังนี้ ดูรา เพื่อนทั้งหลายในกาลบัดนี้ตนตัวเราก็เฒ่าแก่แล้วแล จักสร้างแปง ยังกู่หลวงนี้ ก็บ่หล้างว่าจักทันแล้วได้ชะแล เมื่อนั้นหมื่นช่างกุมกาม กล่าวดังนี้ เจ้าเหนือหัวมีอายุอันหมั้นยืนยาว ก็จักมีด้วยกำลังบุญอันได้ กระทำชะและ กู่หลวงอันเดียวนี้มหาราชเจ้าหื้อกระทำก็จักบัวระมวล ชะและ แม้นจักสร้างเจติยะสิบคนก็ดีชาวคนก็ดีก็จักแล้ว
ในกาลบัดนั้นยังมีอามาตย์ใหญ่ผู้ 1 ชื่อว่า สิงหโคต มีอายุได้ 50 ปีมี ปัญญาก็มากนัก มีกำลังก็มากนัก พระยาก็หื้อแล้วยังกิจจะอันจักแปงเจ ติยะนั้นด้วยคำว่าท่านสิงหโคตจุ่งไปเล็งดูกู่หลวงนั้น ยังโค่นค้านหลุพัง สันใดเล่าชา เราจักก่อสร้างอันใหม่ดีหลีแล เมื่อนั้นหมื่นสิงหโคตรับเอา คำพระยาว่าสาธุดีหลีๆ แล้วแล ก็ไปพิจารณาเล็งกู่หลวงรอดชุกล้ำ ก็หัน หักโค่นค้านเพพังลงมากนัก ก็ริพองปองขึ้นภายบนเสี้ยง 3 วันค่ำก็บ่ อาจจักขึ้นได้ หมื่นสิงหโคตก็หันอุบายอันจักขึ้นได้ ก็คืนมาบอกไหว้สา พระยาว่า ข้าแด่มหาราชเจ้า ข้าปองขึ้นมหาเจติยะเสี้ยงวันก็บ่อาจจัก ขึ้นได้ดีหลีแลที่ใดโหยดพังโค่นก็ควรแต่งตามที่หลุที่คร่ำทั้งมวลดีชะและ เมื่อนั้นพระยาก็กล่าวแก่หมื่นสิงหโคตว่า ท้าวพระยาปางดังเรานี้แลบ่ อาจจักสร้างได้ดั่งอั้นเราจักกระทำดั่งฤชาว่าอั้น....”
แนวคิดในการบูรณะพุทธสถาปัตยกรรมของล้านนาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และ โบราณคดีมักกระทำโดยกษัตริย์ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการปกครอง กษัตริย์หรือสมมุติเทพ ที่ต้องการสั่งสมคุณ ความดีและบารมีของความชอบธรรมในการปกครอง ความเป็นกษัตริย์ผู้ ทรงทศพิธราชธรรม ผ่านบารมีจากการทํานุบํารุงพุทธศาสนา นอกจากนั้นการอนุรักษ์เป็นส่วน หนึ่ง ของการทํานุบํารุงพุทธศาสนา มุ่งรักษาศิลปวัฒนธรรมในความหมายของ ความเชื่อ ความ ศรัทธา และความหมายของคุณค่าในเชิงนามธรรม ทําให้ชาวพุทธมุ่งสั่งสม สืบทอดและพัฒนา ฝีมือช่างสกุลช่างจนสามารถสร้างสรรค์ศาสนสมบัติสถานและวัตถุอันงดงามและมีชีวิตสืบต่อ เนื่องกันมายาวนาน