พระพุทธรูป


จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีกล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปไว้อาทิ

พระพุทธสิหิงค์

พุทธลักษณะของพระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ชาย สังฆาฏิสั้นอยู่เหนือพระถัน พระวรกายอวบอ้วน พระอุระนูน พระพักตร์กลม เม็ดพระเกศาทำ เป็นก้นหอยขนาดใหญ่ พระอุษณีษะทรงกรวยสูง มีพระเกตุมาลาทรงบัวตูม

นิทานพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งแต่งเป็นภาษาบาลีโดยพระโพธิรังสีพระเถระชาวเชียงใหม่ เมื่อปลาย พุทธศตวรรษที่ 20 และตำนานพระพุทธสิหิงค์ใ นชินกาลมาลีปกรณ์ แต่งโดยพระรัตนปัญญา กล่าวถึง เรื่องพระสีหลปฏิมาหรือพระพุทธสิหิงค์ความว่า

“ได้ยินว่า เมื่อพระศาสดาปรินิพพานล่วงแล้วได้ 700 ปีพระ เถระที่เป็นขีณาสพ ยังมีอยู่ในลังกาทวีป 20 องค์ครั้งนั้น พระเจ้าสีหลใคร่จะทอดพระเนตรรูปของพระพุทธ จึงเสด็จไปยังวิหารตรัสถามพระ สังฆเถระว่า เขาว่าพระพุทธของเราทั้งหลาย เมื่อทรงพระชนม์อยู่ได้ เสด็จมาลังกาทวีปนี้ถึง 3 ครั้งผู้ที่เห็นพระพุทธนั้น เดี๋ยวนี้จะยังมีอยู่หรือ หามิได้ทันใดนั้น ด้วยอานุภาพของพระขีณาสพ ราชาแห่งนาคได้แปลง รูปมาเป็นคน แล้วเนรมิตตนเป็นรูปพระพุทธ เพื่อจะเปลื้องความสงสัย ของพระเจ้าสีหล พระราชาทรงบูชาพระพุทธรูป 7 คืน 7 วัน ครั้งนั้น พระราชาตรัสสั่งให้หาช่างประติมากรรมชั้นอาจารย์มา แล้วโปรดให้เอา ขี้ผึ้งปั้นถ่ายแบบพระพุทธมีอาการดั่งที่นาคราชเนรมิตและให้ทำแม่ พิมพ์ถ่ายแบบพระพุทธนั้นด้วยเป็นอย่างดีแล้วให้เททองซึ่งผสมด้วย ดีบุก ทองคำและเงิน อันหลอมละลายคว้างลงในแม่พิมพ์นั้น พระพุทธ ปฏิมานั้น เมื่อขัดและชักเงาเสร็จแล้วงามเปล่งปลั่งเหมือนองค์พระพุทธ ยังทรงพระชนม์อยู่”


ชินกาลมาลีปกรณ์

พระศีลา วัดเชียงมั่น

“.......... เมื่อพระพุทธเจ้าของเราได้ปรินิพพานไปได้ 7 ปีกับ 7 เดือน กับ 7 วัน พระเจ้าอชาตศัตตุราชตนทรงยศเป็นอันมาก ก็ทรงให้นิมนต์ มายังพระสงฆ์ทั้งหลาย มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน แล้วพร้อมใจกัน กระทำสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าเป็นอันมาก และทรงให้ทานแก่พระสงฆ์ทั้งหลายเป็นนิจกาล ใ นกาลนั้นพระเจ้าอชา ตศัตรรุราช ผู้ทรงมีปัญญาและผู้เป็นใหญ่แก่ชาวเมืองราชคฤห์ทั้งหลาย ก็ทรงบังเกิดได้ฉันทกุศลจิต มีพระประสงค์จะทรงสร้างพระพุทธรู) พระองค์ก็ทรงให้ไปนำเอายังกินพิมพการ แต่ท้องมหาสมุทรมาแล้ว ก็ ทรงให้นายช่างกระทำพระพุทธรูปปางเสด็จบิณฑบาตในเวียงราชคฤห์ ปราบช้างนาฬาคิรีด้วยพระเมตตาทรงให้กระทำรูปช้างนาฬาคิรีนอน หมอบอยู่ข้างขวา ทรงให้กระทำรูปพระอานนท์ถือบาตรอยู่ข้างซ้าย ทรงให้กระทำรูปทั้งสามนั้นให้หน้าหินลูกเดียวกันนั้นแล ฯ พระพุทธรูปสูง 1 คืบ กับ 4 นิ้ว รวมรูปทั้งสามนั้นกว้างประมาณ 1 คืบ ในกาลนั้นพระอรหันต์เจ้าทั้งหลายและพระเจ้าอชาตศัตตุราชก็พร้อมใจ กัน เอาพระพุทธเจ้าทรงสถิตเหนือบัลลังค์แล้วเอาพระบรมสารีรักธาต 7 พระองค์ ทรงตั้งไว้ในภาชนะทองคำแล้ว พร้อมกับกราบด้วย เบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง ด้วยความเคารพนบนอบ แล้วตั้งสัจจา อธิษฐานกล่าวคำอาราธนา พระบรมสารีริกธาตุให้เสด็จเข้าสถิตในองค์ พระพุทธรูปศีลาเจ้านี้แล ใ นขณะนั้นส่วนพระบรมสารีริกธาตุเจ้าทั้ง 7 พระองค์นั้น องค์หนึ่งเสด็จเข้าในพระเศียร (หัว) องค์หนึ่งเสด็จเข้าใน พระนลาต (หน้าผาก) องค์หนึ่งเสด็จเข้าในพระอุระ (หน้าอก) อีกสอง องค์เสด็จเข้าในพระอังสะทั้งสอง (บ่าทั้งสอง) อีก 2 พระองค์เสด็จเข้า สถิตในพระชานุ (เข่า) ทั้งสอง แห่งพระศีลาเจ้าก็มีแล

ในเมื่อพระบรมสารีริกธาตุเจ้าทั้ง 7 พระองค์สถิตตั้งอยู่ในพระองค์พระ ศีลาเจ้าแล้ว พระศีลาเจ้าก็ทรงสำแดงอิทธิฤทธิ์ เสด็จขึ้นสู่พื้นนภากาศ สูงพอประมาณคนมองเห็นด้วยนัยต์ตา แล้วเสด็จลงมาสถิตเหนือบัลลัง ค์ดังเดิมก็มีแล พระเจ้าอชาตศัตตุราชทรงเห็นเป็นอัศจรรย์ดังนั้น ก็ทรง บังเกิดความโศมนัสเป็นอันมาก แล้วทรงสั่งให้กระทำที่ประดิษฐานพระ ศีลาเจ้าในเงื่อมเขาที่สูง อันใคร ๆ ไ ม่สามารถปีนป่ายขึ้นไปด้วยเท้าได้ แล้วทรงให้กระทำแท่นที่บูชาไว้ข้างล่างสำหรับคนฝูงแสวงบุญทั้งหลาย จะได้มากระทำการสักการบูชาในที่นั้นแล....”


ตำนานพระศีลา วัดเชียงมั่น

และมีการแสดงความเชื่อมโยงว่า พระศีลา ที่ประดิษฐานในล้านนาเป็นองค์เดียวกับพระศีลาใน อินเดีย ในตำนานต่อไปว่า กล่าวว่า

“ข้าแต่มหาบพิตร พระศีลาเจ้านี้มีพระประสงค์ไปสงเคราะห์ท้าวพระ ยามหากษัติรย์และประชาราษฎร์ทั้งหลายในบ้านเมืองใหญ่น้อยทั้ง หลายในปัจจันตประเทศโน้น บัดนี้อาตมาภาพทั้ง 3 จะนำเอาพระศีลา เจ้าไปสู่เมืองหริภุญไชย เพื่อหิตานุหิตประโยชน์แก่มหาชนผู้หวังบุญทั้ง หลายแล”

พระเจ้าอนุราชได้ทรงฟังดังนั้น ก็ทรงกระทำสักการบูชาแล้วก็ทรงส่ง พระศีลาและพระเถระทั้ง 3 ไ ปสู่สำเภาที่นั้นแล ส่วนสำเภาก็ออกเดิน ทางไปตามลำดับวันคืน ก็ไปถึงท่ามกลางมหาสมุทร เมื่อนั้น น้ำกินน้ำใช้ ของชาวสำเภาทั้งหลายก็สิ้นไปแล้ว หาน้ำจะใช้กินมิได้เมื่อนั้นพระเถระ เจ้าทั้ง 3 ก็ให้กระทำสักการบูชาแลสรงพระศีลาเจ้าด้วยน้ำหอมที่นำไป ด้วยนั้น ใ นบัดนั้นเองห่าฝนอันใหญ่ก็ตกลงมาด้วยเดชานุภาพแห่งพระ ศีลาเจ้านั้นแลเมื่อนั้น ชาวสำเภาทั้งหลายก็ได้น้ำใช้กินตามความ ประสงค์ก็มีความโสมนัสยินดีเป็รอันมาก

ส่วนสำเภาก็ไปด้วยลำดับคืนวัน ก็ไปถึงท่าสำเภาที่นั้นแล ส่วนพระมหา สีละวังโสตนแก่นั้น ก็ไว้พระศีลาเจ้าในบาตรของตน ก็นำมาโดยลำดับ มรรคาและเปลี่ยนกันนำมาเป็นคราว ๆ ก็ลุถึงเมืองละเขื่อง เจ้าเมืองละ เขื่องทรงทราบเหตุนั้น ก็ทรงให้ไปนิมนต์พระเถระเจ้าเข้ามาในเวียง แล้วก็กระทำสักการบูชาแลสรงพระศีลาด้วยสุคนธวารีมีประการต่าง ๆ ในขณะนั้นห่าฝนอันใหญ่ก็ตกลงมาในบ้านเมืองนั้นแล

ส่วนเจ้าเมืองละเขื่องผู้มีปรีชา ก็บังเกิดได้ยังความโสมนัสยินดีเป็นอัน มาก มีพระประสงค์อยากให้พระศีลาเจ้าสถิตสำราญในเมืองของตนเมื่อ นั้นพระเถระเจ้าทั้ง 3 ก็ถวายพระพร ใ ห้เจ้าเมืองละเขื่องทรงทราบเหตุ ทุกประการแล้วก็ปูผ้าสังฆาฏิในพื้นที่นั้นแล้วก็กล่าวคำอาราธนาดังแต่ (เคยกระทำ) แต่ภายหลังมา เมื่อนั้นพระศีลาเจ้าก็สำแดงอิทธิฤทธิ์เสด็จ ขึ้นสู่พื้นนภากาศ แล้วก็เสด็จลงมาสถิตเหนือผ้าสังฆาฏิของพระเถระเจ้า ทั้งหลาย

เจ้าเมืองละเขื่องเห็นอัศจรรย์ดังนั้น ก็มีโสมนัสยินดีเป็นอันมากแล้วก็ ทรงส่งพระเถระเจ้าทั้ง 3 ไ ปแล เมื่อนั้นพระศีลาเจ้าใส่ไว้ใบบาตรแล้วก็ พากันไปเดินไปด้วยมรรคาก็บรรลุถึงเมืองสัชชนาลัย หรือเมืองชะเลียง นั้นแล ส่วนพระราชาผู้เป็นใหญ่ในเมืองสัชชนาลัยก็ทรงกระทำสักการะ บูชาพระศีลาเจ้าด้วยความศรัทธาปสาทแล้วก็ส่งพระเถระเจ้าทั้ง 3 ไ ป แลพระเถระเจ้าทั้ง 3 มาด้วยลำดับก็มาถึงเมืองนคร (ลำปาง) แล้วก็เอา พระศีลาเจ้ามาประดิษฐานไว้ในเมืองนั้น เพื่อเป็นที่สักการบูชาของ ประชาชนชาวเมืองทั้งหลายสืบ ๆ กันมาตราบเท่าถึงสมัยหมื่นด้งนคร ได้เป็นเจ้าเมืองนครที่นั้นเจ้าหมื่นด้งจึงให้ราชทูตนำข่าวสารพระศีลาเจ้า มากราบทูลพระเจ้าโลกติลกราชในเมืองเชียงใหม่ ใ ห้ทรงทราบ ประวัติการณ์นั้นแล้วพระองค์ทรงมีรับสั่งให้ไปอาราธนาพระศีลา มา ประดิษฐานไว้ในโณงอุโบสถวัดป่าแดงที่นั้นแล ในสมัยนั้นมหาญาณโพธิอยู่สำราญ ใ นวัดป่าแดงที่นั้น พระเจ้าโลกติลก ราชทรงสั่งให้หมื่นคำภาเวียงดินนำเอาพระศีลาเจ้า ไปถวายแด่พระมหา ญาณโพธิในวัดป่าแดงนั้นแล ส่วนพระมหาญาณโพธิเถระเจ้า ก็ให้สร้าง วิหารในวัดหมื่นสาร แล้วก็”ปอาราธนาเอาพระศีลาเจ้า จากวัดป่าแดง มาประดิษฐานไว้ในวัดหมื่นสาร เพื่อให้จำเริญรุ่งเรือง ใ นพระพุทธ ศาสนาต่อไปภาคหน้าแล มหาสามีเจ้าตนเป็นสังฆปรินายกอยู่ในวัด หมื่นสาร มีนามว่าพุทธญาณะ ก็ไปอยู่วัดสวนดอกไม้ท่ายก็ยังอาราธนา เอาพระศีลาเจ้าไปเพื่อกระทำสักการะบูชาแล้วให้เอากลับคืนมาไว้วัด หมื่นสารดังเดิม

ส่วนพระเจ้าติโลกติลกราชตนเป็นใหญ่ ใ นนพบุรีมีวิสารสะองอาจเป็น ผู้ทรงบุญมาก มีพระปัญญาลึกหนา ทรงชำนะซึ่งข้าศึกทั้งหลาย เป็น พระราชาผู้ประกอบด้วยธรรม พระองค์ทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธ ศาสนาเป็นอันมาก พระองค์มีพระประสงค์จะอาราธนาพระศีลาเข้ามา ประดิษฐานในพระราชวังของพระองค์จึงทรงสั่งให้ปลูกต้นกล้วยต้นอ้อย และฝังเสาโคมไฟ ตบแต่งประดับประดาด้วยดอกไม้ธงทิวนานาประการ ตั้งแต่พระราชวังไปจนถึงวัดหมื่นสาร แล้วอาราธนาพระศีลาเจ้ามาด้วย กระบวนแห่พรั่งพร้อมไปด้วยเสนาอามาตย์ข้าราชการ ประชาชน พลเมืองเป็นอันมากมาประดิษฐานในหอพระแก้ว ใ นพระราชวังของตน ในปีมะแม จุลศักราช 837 (พ.ศ.2018) เพื่อพระศีลาเจ้ามาสถิตในหอ พระแก้วในพระราชวังแห่งพระราชาแล้ว ในค่ำวันนั้นพระศีลาเจ้า ก็ทรง กระทำปาฏิหาริย์สำแดงฤทธิ์ให้ปรากฏเห็นแก่ตามหาชนทั้งหลาย มี พระราชาเป็นประธานปรากฎเห็นเท่าลูกมะพร้าวลอยไปมาในอากาศ ตามมรรคาที่ตบแต่งประดับประดานั้น

เมื่อนั้นมหาชนทั้งหลายเป็นอันมาก ต่างก็บังเกิดได้ยังปิติปราโมทย์ ประณมมือตั้งเหนือเกล้า สร้องสาธุการเสียงสนั่นหวั่นไหวกาลนั้น ส่วน พระเจ้าโลกติลกราชก็ยิ่งมีพระปรีดาปราโมย์ ก็ทรงทำสักการบูชาเป็น อันมาก ใ นรัชสมัยของพระองค์มิได้ทรงประมาทในพระศีลาเจ้า และ ทรงบำรุงพระพุทธศาสนาวัดวาอารามและพระสงฆ์สามด้วยปัจจัยทั้ง 4 มิให้อดอยากอนาทรก็มีแล จำเดิมแต่กาลนั้นมา ครั้นถึงเทศกาลอัน สมควรก็กระทำยัญญศาสนะ พิธีสักการบูชาสระสรงอบรมสมโภชยัง พระแก้วและพระศีลาเจ้าเป็นงานประจำปีถ้าปีใดบ้านเมืองแห้งแล้งฝน ไม่ตกตามฤดูกาล ก็ทรงให้จัดการทำพิธีของฝนสระสรงองค์พระศีลาเจ้า ก็มีแล......”

ตำนานพระศีลา วัดเชียงมั่น

พระพุทธรูป วัดเจดีย์หลวง

“......... ท้าวฝั่งแก่นได้เป็นพระยาแล้วนั้น ท้าวลกก็ได้เป็นพระยาในปี เต่าเสต ศักราชได้ 804 ตัว พระยาก็หื้อไปนิมนต์มหาสวามีสัทธัมกิติแต่ สิงหอารามมาเป็นสังฆนายกในสิริราชกุฎาราม ปรากฏว่าอารามยอด กุดนั้นแล้วแล มหาสวามีเจ้าทั้งหลาย 7 ตนก็ได้มาเป็นใหญ่ในสิริรา ชกุฎารามรวมด้วยลำดับดังนี้มหาสวามีเจ้าตนชื่อว่า นาราจริยกมาแต่ เมืองณาโกเป็นปฐม มหานันทะเทวาสวามีเป็นทุติยะ มหาญาณวิลาส วามีเป็นตะติยะ มหาญาณบัณฑิตสวามีเป็นจตุทะมหาอุสณะวังสะเป็น ปุญจมะ มหานันทเทวาสวามีเป็นสัตฐมะ มหาสัทธัมกิติเป็นสัตตะมะ แล ลำดับสวามีเจ้าทั้ง 7 ตนนั้น มหาสวามีเจ้า 2 ตนคือว่ามหานารา จริยะกะสวามีแลมหาสัทธัมกิติประกอบไปด้วยบุญสมภารมากนัก ดัง มหานาราจริยกสวามีนั้น จิ่งหล่อองค์พุทธรูปยืนองค์ 1 สูงได้ 18 ศอก นั้น เจ้าไทยจักใคร่รู้แลลองดูยังสมภารแห่งตน เจ้าก็กระทำสัจจะ อธิษฐานแล้ว ก็อุ้มฐานเบ้าทองอันร้อนด้วยมือแห่งตนยกขึ้นใส่เหนือหัว แห่งตน เจ้าก็เอาหล่อเข้ารูหุ่นพุทธรูปเจ้า ส่วนว่าไฟก็บ่ไหม้บ่ร้อนตน เจ้าไทยสักอัน แลคนทั้งหลายก็หันอัศจรรย์มากนักเหตุบ่ห่อนจักหันใน กาลเมื่อก่อน ก็กระทำสาธุการมี่นันทั่วเมืองทั้งมวลด้วยคำว่ามหาสวามี เจ้าแห่งเรามีบุญสมภารมากนักว่าอั้น มหานาราจริยกเจ้าก็ตั้งคำ ปรารถนาเพื่อเอาสัพพัญญูตญาณ แห่งตนวันนั้นแล นาราจริยะนาถัง สมภารคาถาฯ......”

ตำนานวัดเจดีย์หลวงในเมืองนพบุรีนครเชียงใหม่

ส่วนการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ไ ด้ปรากฏต่อมาในช่วงหลัง เมื่อมีความนิยมบูชาพระพุทธ รูปประจำวันเกิด ซึ่งไม่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด แต่จากหลักฐานการกำหนดพระพุทธรูป ประจำวันเกิดไว้ในทักษา สมุดตำราฉบับหลวงในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรีซึ่งทรงโปรดฯให้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงคิดค้นคัดเลือกพุทธอิริยาบถปางต่างๆตามพุทธประวัติมาสร้างเพิ่มเติมขึ้น เมื่อรวม กับพระพุทธรูปปางเดิมที่นิยมสร้างมีจำนวน 40 ปาง จึงสันนิษฐานในเบื้องต้นว่าได้เกิดขึ้นใน สมัยรัชกาลที่ 3 และได้เผยแพร่ต่อมาถึงล้านนาในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 หรืออย่างช้าในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 25 โดยพุทธศาสนิกชนล้านนาเชื่อว่าการบูชาพระประจำวันเกิด จะเกิดสิริมงคลอย่างสูง

ธรรมเนียมการสร้างพระพุทธรูปในอาณาจักรล้านนา เนื่องมาจากความเลื่อมใสศรัทธาใน พระพุทธศาสนา นับแต่ได้รับพุทธศาสนาเข้ามา ชาวล้านนามีคติความเชื่อว่า การสร้างพระพุทธ รูปเป็นการค้ำชูพระศาสนาให้มีอายุยืนยาวถึง 5,000 พระวัสสา และกุศลที่ได้นั้นจะส่งผลให้ได้ เกิดเป็นมนุษย์ในโลก สวรรค์และสุดท้ายจะได้พบพระนิพพาน หรือการได้เกิดในยุคของพระศรี อาริยเมตไตรย คือ พระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ในกาลข้างหน้า การสร้างพระพุทธรูปนั้น ผู้มีจิต ศรัทธาอาจสร้างด้วยตนเองหรือจ้างให้ช่างท้องถิ่นเป็นผู้สร้างให้โ ดยวัสดุที่ใช้มีทั้งไม้ ปูน หรือ โลหะ ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์ของผู้มีจิตศรัทธา คติความเชื่อนี้ทำให้พุทธศาสนิกชนในอดีตของ ล้านนานิยมที่จะสร้างพระพุทธรูปเพื่อถวายเป็นทานสืบต่อกันมา ใ นปัจจุบันนี้ ธรรมเนียมการสร้างพระพุทธรูปถวายเป็นทานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การถวายพระพุทธรูปก็มักจะเช่า (ซื้อ) พระพุทธรูปที่มีการสร้างจากโรงงาน นำมาถวายวัด ทำให้ลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปเป็น แบบเดียวกันหมด ส่วนการสืบทอดฝีมือช่างท้องถิ่นในการหล่อ หรือแกะพระพุทธรูปได้ลด จำนวนลงและอาจหมดไปในที่สุด