ค้นหา
หน้าหลัก
SEARCH
ฐานข้อมูลคำเรียกชื่ออาหารล้านนา
อาหารประจำธาตุ
หมวดอาหาร
การเรียกชื่ออาหารล้านนา
สรรพคุณของวัตถุดิบ
แหล่งข้อมูล (สัมภาษณ์)
ประวัตินักวิจัย
ดาวน์โหลดเอกสาร
องค์ความรู้
อัขรวิธีภาษาล้านนา
อักษรพิเศษในล้านนา
ภาษาล้านนาเชิงสนทนา
คำเรียกชื่ออาหารล้านนา
วรรณกรรมมุขปาฐะล้านนา
ประเภท
41
หมวดแกง
26
หมวดน้ำพริก
16
หมวดอาหารว่าง/ ของทานเล่น/ ขนม
15
หมวดยำ
9
หมวดตำ
9
หมวดคั่ว
8
หมวดนึ่ง
7
หมวดส้า
7
หมวดอุ๊ก
5
หมวดแอ็บ
4
หมวดต้ม
4
หมวดจอ
4
หมวดเจี๋ยว
4
หมวดอ่อม
3
หมวดจ่อม
3
หมวดลาบ
3
หมวดโสะ
2
หมวดหลู้
2
หมวดอ็อก
2
หมวดปิ้ง
2
หมวดจ่าว
1
หมวดจื๋น
1
หมวดหลาม
1
หมวดมอก
1
หมวดป่าม
จำนวน 1 รายการ
คั่วโฮะ
หมวดคั่ว
คั่วโฮะ เป็นคำเรียกชื่ออาหารที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปของล้านนา คำว่า โฮะ หมายถึง รวมกัน ซึ่งต้องมีจำนวนหลายๆ อย่าง ดังนั้น คั่วโฮะ (บางท้องถิ่นอาจเรียกแกงโฮะ) จึงเป็นการนำอาหารหลายๆ อย่างมาคั่วรวมกันเพื่อให้ได้รสชาติใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม และยังเป็นรสที่อร่อยเข้มข้นขึ้นด้วย เนื่องจากการคั่วทำให้น้ำแกงงวด จึงมีรสเข้มข้น ในสมัยก่อน มักนำแกงที่เหลือจากการรับประทานหลายๆ อย่างไปหมักรวมกันในกระบอกไม้ไผ่ ปิดฝากระบอกให้สนิทแล้วนำไปฝังดินไว้สักระยะเวลาหนึ่ง (๒-๓ คืนหรือนานนับเดือนก็ได้) เพื่อให้แกงมีรสเปรี้ยว โดยมากมักประกอบด้วย แกงหน่อไม้ส้ม แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงฮังเล แกงจืดวุ้นเส้น ห่อนึ่ง ซึ่งแกงเหล่านี้อาจได้จากการจัดงานบุญ หรือการถวายทานของที่วัด ซึ่งมีอาหารจำนวนมาก จึงเกิดภูมิปัญญาในการเก็บรักษาอาหารและแปรรูปเป็นอาหารแบบใหม่