ค้นหา
หน้าหลัก
SEARCH
ฐานข้อมูลคำเรียกชื่ออาหารล้านนา
อาหารประจำธาตุ
หมวดอาหาร
การเรียกชื่ออาหารล้านนา
สรรพคุณของวัตถุดิบ
แหล่งข้อมูล (สัมภาษณ์)
ประวัตินักวิจัย
ดาวน์โหลดเอกสาร
องค์ความรู้
อัขรวิธีภาษาล้านนา
อักษรพิเศษในล้านนา
ภาษาล้านนาเชิงสนทนา
คำเรียกชื่ออาหารล้านนา
วรรณกรรมมุขปาฐะล้านนา
ประเภท
41
หมวดแกง
26
หมวดน้ำพริก
16
หมวดอาหารว่าง/ ของทานเล่น/ ขนม
15
หมวดยำ
9
หมวดคั่ว
9
หมวดตำ
8
หมวดนึ่ง
7
หมวดอุ๊ก
7
หมวดส้า
5
หมวดแอ็บ
4
หมวดอ่อม
4
หมวดต้ม
4
หมวดจอ
4
หมวดเจี๋ยว
3
หมวดลาบ
3
หมวดโสะ
3
หมวดจ่อม
2
หมวดปิ้ง
2
หมวดจ่าว
2
หมวดหลู้
2
หมวดอ็อก
1
หมวดป่าม
1
หมวดจื๋น
1
หมวดหลาม
1
หมวดมอก
จำนวน 2 รายการ
ไข่ฮ้วน หรือไข่ฮ่วนปิ้ง
หมวดปิ้ง
ไข่ฮ้วน หรือ ไข่ฮ่วน เป็นคำเรียกชื่อไข่ไก่ที่กำลังฟักเป็นตัว แต่ไม่ออกลูก กลับเน่าไปเสียก่อน ดังนั้น คำว่า ฮ้วน หรือ ฮ่วน จึงมีความหมายว่า เน่า เสีย นั่นเอง คนล้านนานิยมนำมาปิ้งรับประทานเป็นอาหาร หรือ กับแกล้ม เพราะถือว่ามีสรรพคุณช่วยลดอาการภูมิแพ้อากาศ หรือ ลมพิษผื่นคันได้ดี
ไส้อั่ว
หมวดปิ้ง
ไส้อั่ว จัดเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่ขึ้นชื่อของล้านนาอาจจัดอยู่ในหมวดของ ปิ้ง หรือ ย่างด้วย ซึ่งคำว่า อั่ว หมายถึง การนำเครื่องปรุงและส่วนประกอบอาหารสอดเข้าไว้ข้างใน ซึ่งไส้อั่วจะใช้ไส้ที่เตรียมไว้โดยเฉพาะ หากเป็นไส้แห้งจะต้องแช่น้ำให้คืนตัว มีความเหนียวและยืดหยุ่น (มีขายตามร้านค้า) โดยเตรียมเครื่องปรุงประกอบด้วย พริกแห้ง เกลือ ขมิ้น ตะไคร้ บดหรือโขลกให้ละเอียดนำมาคลุกเคล้ากับเนื้อหมูติดมันสับหรือบดละเอียด จากนั้นนำมายัดใส่ในไส้ที่เตรียมไว้ ความยาวตามต้องการ หรือจะมัดเป็นท่อนๆ ก็ได้ ยัดจนเต็ม ทาบริเวณผิวไส้อั่วด้านนอกด้วยขมิ้นโขลกละเอียดแล้วนำไปปิ้ง หรือ ย่างบนเตาถ่าน ควรใช้ไฟไม่แรงมากเพื่อให้สุกถึงข้างใน ระหว่างปิ้งหรือย่างจะต้องใช้ไม้แหลมแทงบางจุดของไส้อั่วเพื่อระบายไอร้อนและไม่ทำให้ไส้บวมโป่ง การปิ้งหรือย่างควรให้ไส้อั่วอยู่ห่างออกจากถ่านไฟพอควรเพื่อป้องกันไม่ให้ไหม้ก่อนจะสุกทั่วถึงกัน บางสูตรอาจใช้นึ่งให้สุกก่อนแล้วนำไปย่างหรือทอดพอเป็นพิธี