จำนวน 9 รายการ

คั่วผักปั๋งใส่ไข่

หมวดคั่ว
คั่วผักปั๋งใส่ไข่ เป็นอาหารที่นิยมรับประทานในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีส่วนประกอบคือ ผักปั๋ง ไข่ไก่ พริกหนุ่ม กระเทียม หอมแดง กะปิ

คั่วผักโขม

หมวดคั่ว
คั่วผักโขม มีส่วนประกอบคือ ผักโขม (ล้านนาเรียก ผักหม) เนื้อหมูบด พริกแห้ง กะปิ เกลือ กระเทียม หอมแดง ตะไคร้ ข่า

คั่วผำ

หมวดคั่ว
ผำ เป็นพืชคล้ายตะไคร่น้ำชนิดหนึ่ง มีสีเขียวสด มีลักษณะเป็นต้นเล็กมากจนดูคล้ายผงละเอียด ขึ้นตามที่ชื้นเย็น จัดเป็นอาหารจากป่าชนิดหนึ่ง นิยมนำมาคั่ว โดยใช้พริกสดโขลกกับกระเทียม หอมแดง กะปิ ตะไคร้ ตั้งกระทะใส่น้ำเล็กน้อย นำพริกแกงที่โขลกละเอียดลงคั่วแล้วใส่ผำลงไปคั่วคลุกเคล้ากับพริกแกง ในบางท้องถิ่นที่มีล้ำน้ำสายใหญ่ อาจมีสาหร่ายประเภทหนึ่งที่เรียกว่า “ไก” เช่นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นสาหร่ายแม่น้ำโขง หรือสาหร่ายน้ำจืดชนิดหนึ่งมีสีเขียว นิยมรับประทานกันมากในอำเภอเชียงของ และอำเภอที่ติดลำน้ำโขง ไกจะเกิดในช่วงที่น้ำโขงลดให้เห็นโขดหิน ตั้งแต่ฤดูหนาวลงไปจนก่อนฤดูฝน หาง่าย ๆ ตามซอกหิน โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายน ในทุกปีช่วงเดือนเมษายน บริเวณแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของชาวบ้านจะลงไปเก็บไก โดยจะนำมาตากบนคาเพื่อให้แห้งเป็นการถนอมอาหาร ไกสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้หลากหลายชนิด ทั้งเป็นอาหารและขนมขบเขี้ยว

คั่วฟักเขียว

หมวดคั่ว
คั่วฟักเขียว เป็นอาหารเฉพาะถิ่นของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีส่วนประกอบ คือ ฟักเขียว เนื้อหมู พริกแห้ง กะปิ ถั่วลิสง เกลือ กระเทียม หอมแดง ตะไคร้ ข่า

คั่วเห็ดถอบ

หมวดคั่ว
คั่วเห็ดถอบ เห็ดถอบ หมายถึงเห็ดเผาะ เป็นคำเรียกชื่ออาหารที่ได้จากป่า เป็นเห้ดที่มีความกรอบและรสชาติดี จึงเรียกว่า เห็ดถอบ มีหลายสูตรแตกต่างกันไปแต่ละท้องถิ่น สำหรับสูตรของลำพูนมีส่วนประกอบ คือ เห็ดถอบ หมูสับ ยอดมะขามอ่อน ยอดมะพร้าวอ่อน ผักชีฝรั่ง

คั่วเห็ดปีด

หมวดคั่ว
คั่วเห็ดปีด เป็นอาหารเฉพาะถิ่นของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีส่วนประกอบ คือ เห็ดปีด เนื้อหมูบด พริกแห้ง กะปิ เกลือ กระเทียม หอมแดง ตะไคร้ ข่า

คั่วโฮะ

หมวดคั่ว
คั่วโฮะ เป็นคำเรียกชื่ออาหารที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปของล้านนา คำว่า โฮะ หมายถึง รวมกัน ซึ่งต้องมีจำนวนหลายๆ อย่าง ดังนั้น คั่วโฮะ (บางท้องถิ่นอาจเรียกแกงโฮะ) จึงเป็นการนำอาหารหลายๆ อย่างมาคั่วรวมกันเพื่อให้ได้รสชาติใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม และยังเป็นรสที่อร่อยเข้มข้นขึ้นด้วย เนื่องจากการคั่วทำให้น้ำแกงงวด จึงมีรสเข้มข้น ในสมัยก่อน มักนำแกงที่เหลือจากการรับประทานหลายๆ อย่างไปหมักรวมกันในกระบอกไม้ไผ่ ปิดฝากระบอกให้สนิทแล้วนำไปฝังดินไว้สักระยะเวลาหนึ่ง (๒-๓ คืนหรือนานนับเดือนก็ได้) เพื่อให้แกงมีรสเปรี้ยว โดยมากมักประกอบด้วย แกงหน่อไม้ส้ม แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงฮังเล แกงจืดวุ้นเส้น ห่อนึ่ง ซึ่งแกงเหล่านี้อาจได้จากการจัดงานบุญ หรือการถวายทานของที่วัด ซึ่งมีอาหารจำนวนมาก จึงเกิดภูมิปัญญาในการเก็บรักษาอาหารและแปรรูปเป็นอาหารแบบใหม่

คั่วไก

หมวดคั่ว
คั่วไก เป็นอาหารเฉพาะถิ่นของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย นอกจากการนำไกมาเป็นห่อนึ่งแล้ว ชาวบ้านในอำเภอเชียงของ ยังนำไกไปคั่ว โดยใช้วิธีคล้ายกับทำห่อนึ่งใช้เครื่องปรุงอย่างเดียวกันเพียงแต่ไม่ห่อใบตอง โดยนำไกที่ใส่เครื่องปรุงได้รสชาติแล้วนำไปคั่ว คือนำกระทะไปตั้งไฟใส่น้ำมันพืชลงไปพอประมาณพอน้ำมันร้อน นำไกที่ปรุงเครื่องแล้วใส่ลงไปคนให้ทั่วแล้วนำฝาปิดไว้ให้พอไกสุกแล้วนำมารับประทานได้ รสชาติอร่อยไม่แพ้ห่อนึ่ง

ไกยี

หมวดคั่ว
ไกยี คือการนำไกที่ตากแห้งนำไปทำเป็นอาหาร มีส่วนประกอบ คือ ไกตากแห้ง กระเทียม เกลือ