จำนวน 26 รายการ
น้ำพริกกบ
หมวดน้ำพริก
มีลักษณะแห้ง ส่วนผสม คือ กบ พริกแห้ง หรือพริกขี้หนูแห้ง กระเทียม ข่า ดีปลี มะแข่วน มะเขือขื่น เกลือ ผักชี ต้นหอม
น้ำพริกกะปิ
หมวดน้ำพริก
เป็นน้ำพริกที่นิยมมากที่สุด รสเข้มข้น ไม่มีสูตรเฉพาะตัว ตามแต่จะปรุงรสกันไป มีส่วนผสม คือ พริกขี้หนูสวน กะปิ กุ้งแห้ง น้ำตาลปี๊บ น้ำมะนาว กระเทียม มะเขือเปราะ บ่าเขือปู่ (มะอึก)
น้ำพริกข่า
หมวดน้ำพริก
ส่วนผสม กระเทียม ข่าหั่นเป็นชิ้นเล็ก เกลือ พริกแห้งย่างไฟให้หอม
น้ำพริกจิ๊นหมู
หมวดน้ำพริก
ส่วนผสม หมูบด พริกสด หอมแดง กระเทียม เกลือ ต้นหอม ผักชี เครื่องเคียง แตงกวา มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว กระถิน ผักกาดลวกหรือนึ่ง ฟักทองนึ่ง
น้ำพริกจี้กุ่ง หรือน้ำพริกจิกุ่ง
หมวดน้ำพริก
จี้กุ่ง หมายถึง จิ้งหรีด เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะค่อนข้างแห้งถึงข้น ชนิดของพริกที่นิยมใช้คือ พริกหนุ่ม หรือพริกดิบ จะใช้จี้กุ่งต้มหรือย่างไฟก็ได้ ส่วนผสม พริกหนุ่ม หอมแดง กระเทียม เกลือรับประทานกับเครื่องเคียง ผักกาดอ่อน (ทางเหนือเรียก ผักกาดหน้อย) ยอดกระถิน มะเขือเปราะ แตงกวา ถั่วฝักยาว
น้ำพริกตาแดง
หมวดน้ำพริก
อ่านว่า น้ำพิกต๋าแดง ความหมาย คือ เผ็ดจนร้องไห้ตาแดงนั่นเอง บ้างเรียก น้ำพริกแดงเพราะใช้พริกแห้งที่ทำให้สีของน้ำพริกแดงสด เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้นเหนียว มีส่วนผสมหลักคือ พริกแห้ง ปลาร้า ปลาแห้ง บางสูตรไม่นิยมใส่ปลาแห้ง หอมแดง กระเทียม และเกลือ รับประทานพร้อมเครื่องเคียงทั้งผักสด เช่น แตงกวา มะเขือเปราะ หรือผักลวก ผักนึ่ง เช่น ผักกาด ฟักทอง กระเจี๊ยบ ถั่วพู ถั่วฝักยาว ฯ
น้ำพริกต่อ
หมวดน้ำพริก
ต่อ หมายถึง แมลงชนิดหนึ่ง อยู่ในจำพวกสัตว์มีพิษคล้ายผึ้ง เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะค่อนข้างแห้งถึงข้น มีส่วนผสมคือ ตัวต่อ พริก หอมแดง กระเทียม และเกลือ ชนิดของพริกที่นิยมใช้คือ พริกสด จะเป็นพริกชี้ฟ้า หรือพริกสดพันธุ์ใดก็ได้ ถ้าชอบเผ็ด ให้ใช้พริกชี้ฟ้า ถ้าเปลี่ยนเป็นแตนตัวอ่อน หรือผึ้งตัวอ่อน ก็ใช้ส่วนผสมเหมือนกัน และเรียกชื่อน้ำพริกว่า น้ำพริกแตน น้ำพริกผึ้ง
น้ำพริกถั่วเน่าเมอะ
หมวดน้ำพริก
คำว่า เมอะ หมายถึง ข้นหรือเหนียวเหนอะหนะ บ้างเรียกว่า น้ำพริกถั่วเน่า เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น มีส่วนผสมหลักคือ พริกขี้หนูสด และถั่วเน่าเมอะ (ถั่วเหลืองต้มเปื่อยหมัก แล้วนำมาโขลก ห่อใบตอง และย่างไฟ) ส่วนผสม ถั่วเน่าเมอะ พริกขี้หนูสด กระเทียม เกลือ รับประทานกับ แตงกวา มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว กระถิน ผักสดอื่นตามชอบ
น้ำพริกถั่วเน่าแข็บ
หมวดน้ำพริก
คำว่า แข็บ หมายถึง ลักษณะเป็นแผ่นแห้ง หรือ กรอบ เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้นเหนียว มีส่วนผสมหลักคือ พริกแห้ง ถั่วเน่าแข็บ (ถั่วเหลืองต้มเปื่อย ตากแห้งเป็นแผ่น) กระเทียม เกลือ มะนาว เครื่องเคียง ได้แก่ แตงกวา มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว กระถิน ผักกาด ผักสดอื่นตามชอบ
น้ำพริกน้ำปู
หมวดน้ำพริก
อ่านว่า น้ำพิกน้ำปู๋ น้ำปู หมายถึง การนำปูมาตำให้ละเอียดแล้วเคี่ยวไฟจนงวด มีลักษณะข้นคล้ายกะปิ แต่มีสีดำ มีกลิ่นแรง เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น ชนิดของพริกที่ใช้คือ พริกขี้หนูสด หรือพริกหนุ่ม (พริกสด) แล้วแต่ชอบ หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ เกลือ และน้ำปู รับประทานกับหน่อไม้ต้ม โดยเฉพาะหน่อไม้ไร่
น้ำพริกน้ำผัก
หมวดน้ำพริก
เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้นถึงขลุกขลิก คำว่า น้ำผัก หมายถึงอาหารที่ทำจากผักกาดเขียวแก่ทั้งต้นดองประมาณ ๒ วัน ให้มีรสเปรี้ยว นิยมรับประทานกับแคบหมูและผักขี้หูด มีส่วนผสมดังนี้ ผักกาดเขียว ข้าวนึ่ง น้ำซาวข้าว เกลือเม็ด พริกแห้ง กระเทียม มะแขว่น เกลือป่น ต้นหอม ผักชี
น้ำพริกน้ำหน่อ
หมวดน้ำพริก
เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้นถึงขลุกขลิก น้ำหน่อ คือหน่อไม้ดิบที่ขูดอ่อนๆ ดองประมาณ ๒ วัน และนำมาเคี่ยวให้งวด ส่วนผสม คือ หน่อไม้รวก เกลือ พริกสด ถ้าชอบเผ็ดอาจใช้พริกชี้ฟ้า กระเทียม
น้ำพริกน้ำอ้อย
หมวดน้ำพริก
ถือเป็นเครื่องจิ้มสำหรับผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะม่วง มะขาม มะปราง เป็นต้น บางทีอาจใช้เป็นน้ำจิ้มอาหารปิ้งย่าง ก็ได้ มีส่วนผสม คือ พริกแห้ง กระเทียม น้ำอ้อย ปลาร้า เกลือ
น้ำพริกปลา หรือน้ำพิกป๋าจี่
หมวดน้ำพริก
ป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้นถึงขลุกขลิก โดยเอาน้ำต้มปลาใส่ลงไป มากน้อยแล้วแต่ชอบ บางสูตรใช้ปลาช่อนย่างไฟ หรือปลาดุก หรือปลาชนิดอื่น ชนิดของพริกที่นิยมใช้คือ พริกสด ถ้าชอบเผ็ด ให้ใช้พริกชี้ฟ้า เครื่องเคียงที่นิยมรับประทานกับน้ำพริกปลา คือ ยอดผักแว่น ผักกาดอ่อน (ทางเหนือเรียก ผักกาดหน้อย) ยอดกระถิน มะเขือเปราะ ส่วนผสมคือ ปลาช่อน พริกชี้ฟ้า หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ กะปิ เกลือ ต้นหอม ผักชี
น้ำพริกปลาทู
หมวดน้ำพริก
ส่วนผสม ปลาทูสด หรือปลาทูนึ่ง พริกชี้ฟ้า หอมแดง กระเทียม กะปิ น้ำปลา น้ำตาล มะนาว
น้ำพริกมะเขือเทศ หรือน้ำพริกบ่าเขือส้ม
หมวดน้ำพริก
คล้ายกับน้ำพริกโจ๊ะ แต่อาจเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น ใช้มะเขือเทศลูกเล็กเป็นส่วนผสมหลัก และมีส่วนผสมอื่นอีกคือ พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ปลาร้า เกลือ ต้นหอม ผักชี รับประทานกับแตงกวา ยอดกระถิน กะหล่ำปลีสด หรือลวก
น้ำพริกหนุ่ม
หมวดน้ำพริก
คือน้ำพริกที่ใช้พริกสดที่ยังไม่แก่จัด เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป บางแห่งเรียกว่าน้ำพริกหอมจี่ (เผา) มีส่วนผสมคือ พริกหนุ่ม หอมแดง กระเทียม เกลือ ต้นหอม ผักชี เครื่องเคียงได้แก่ แตงกวา มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว กระถิน
น้ำพริกอี่เก๋
หมวดน้ำพริก
(อี่เก๋ เป็นชื่อเฉพาะน้ำพริกชนิดนี้ของถิ่นเหนือ ไม่มีความหมายโดยนัยเป็นอย่างอื่น) เป็นน้ำพริกที่มีน้ำขลุกขลิก ชนิดของพริกที่นิยมใช้คือ พริกขี้หนูแก่สีแดง หรือใช้พริกชี้ฟ้าสีแดงก็ได้ ส่วมผสม พริกขี้หนูสุก แคบหมู มะเขือขื่น กระเทียม กะปิ น้ำตาลทราย มะนาว รับประทานกับแตงกวา มะเขือเปราะ
น้ำพริกอ่อง
หมวดน้ำพริก
น้ำพริกอ่อง คำว่า อ่อง หมายถึง เคี่ยวไฟอ่อนจนงวด มีน้ำขลุกขลิก นับเป็นน้ำพริกพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายพอๆ กับน้ำพริกหนุ่ม ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่อง คือมีสีส้มของมะเขือเทศและพริกแห้งที่เคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิก มีน้ำมันลอยหน้าเล็กน้อย มีสามรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด เล็กน้อย และรสหวานตาม นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักลวกก็ได้ บางสูตร ผัดหมูก่อนแล้วจึงตามด้วยเครื่องปรุงและมะเขือเทศภายหลัง บางสูตร โขลกเนื้อหมู เครื่องปรุงและมะเขือเทศให้เข้ากันก่อน จึงนำไปผัดกับน้ำมัน บางสูตรใส่ถั่วเน่าแข็บหรือใส่เต้าเจี้ยว ในการปรุงรส ส่วนผสมคือ พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม กะปิ หมูบด มะเขือเทศลูกเล็ก ต้นหอม ผักชี น้ำมันสำหรับผัด รับประทานกับเครื่องเคียง เช่น แตงกวา มะเขือเปราะ กะหล่ำปลีสด หรือผักลวก เช่น ผักกาดเขียว มะเขือม่วง ถั่วฝักยาว ถั่วพู เครื่องเคียงอื่น เช่น แคบหมู หนังปอง (หนังควายทอดจนพอง คล้ายแคบหมู)
น้ำพริกฮ้าหมก หรือน้ำพริกปลาร้า
หมวดน้ำพริก
คำว่า หมก หมายถึง เผาในขี้เถ้าร้อนๆ หรือถ่านไฟแดงๆ ส่วนผสมคือปลาร้า พริกสด หอมแดง กระเทียม มะเขือเทศลูกเล็ก เกลือ รับประทานกับเครื่องเคียง คือผักลวก หรือผักนึ่ง เช่น ผักกาดเขียว กะหล่ำปลี ฟักทอง กระเจี๊ยบ ถั่วฝักยาว ถั่วพู มะเขือม่วง ฯ
น้ำพริกเห็ดหล่ม
หมวดน้ำพริก
น้ำพริกเห็ดหล่ม คำว่า เห็ดหล่ม หมายถึง เห็ดพื้นบ้านถิ่นเหนือชนิดหนึ่ง มีลักษณะดอกหนา สีครีมเข้ม มีกลิ่นหอม เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะค่อนข้างแห้งถึงข้น ชนิดของพริกที่นิยมใช้คือ พริกสด จะเป็นพริกชี้ฟ้า หรือพริกพันธุ์ใดก็ได้ ถ้าชอบเผ็ด ให้ใช้พริกชี้ฟ้า ส่วนผสมอื่นคือหอมแดง กระเทียม กะปิ รับประทานกับ แตงกวา มะเขือเปราะ ผักลวกหรือผักนึ่ง เช่น ผักกาดเขียว ฟักแม้ว (มะเขือเครือ) ถั่วฝักยาว ฯ
น้ำพริกแคบหมู
หมวดน้ำพริก
ส่วนผสม แคบหมู พริกสด หอมแดง กระเทียม เกลือ ต้นหอม ผักชี เครื่องเคียง ได้แก่ แตงกวา มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว กระถิน ผักกาด ผักสดอื่นตามชอบ ย่างพริก หอมแดง กระเทียม แล้วแกะเปลือกออก นำมาโขลกรวมกันกับแคบหมูและเกลือ ตักใส่ถ้วยคนให้เข้ากัน โรยหน้าด้วยต้นหอมผักชีซอย ควรย่างพริก หอมแดง กระเทียมด้วยถ่านไม้ จะทำให้มีกลิ่นหอมและรสชาติดี อีกสูตรหนึ่ง ใช้พริกขี้หนูสดเก็บจากสวน ล้างสะอาดแล้วเด็ดขั้วออก โขลกกับกระเทียม เกลือ กะปิสด หรือ กะปิเผา ใส่แคบหมูกรอบๆ โขลกละเอียดแล้ว ตักใส่ถ้วย บีบมะนาวตามชอบ รสชาติคล้ายน้ำพริกกะปิแต่มีความเข้มข้นหอมมัน ส่วนน้ำพริกแคบหมู
น้ำพริกแมงดา
หมวดน้ำพริก
ส่วนผสม แมงดา พริกสด หอมแดง กระเทียม เกลือ ต้นหอม ผักชี เครื่องเคียง แตงกวา มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว กระถิน ผักกาด ผักสดอื่นตามชอบ
น้ำพริกแมงมัน
หมวดน้ำพริก
แมงมัน หมายถึง แมลงชนิดหนึ่งคล้ายมด ตัวนางพญามีลักษณะตัวใหญ่กว่าผึ้ง มีปีก ที่นิยมรับประทานคือพันธุ์ตัวเมีย มีสีแดงกล่ำ น้ำพริกแมงมัน เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะค่อนข้างแห้งถึงข้น ชนิดของพริกที่นิยมใช้คือ พริกสด จะเป็นพริกชี้ฟ้า หรือพริกพันธุ์ใดก็ได้ ถ้าชอบเผ็ด ให้ใช้พริกชี้ฟ้า สำหรับส่วนผสมถ้าเปลี่ยนเป็นตัวต่ออ่อน แตนตัวอ่อน หรือผึ้งตัวอ่อน ก็ใช้สูตรการทำเหมือนกัน และเรียกชื่อน้ำพริกว่า น้ำพริกต่อ น้ำพริกแตน มีส่วนผสมคือ พริกชี้ฟ้า หอมแดง กระเทียม เกลือ รับประทานกับแตงกวา ถั่วฝักยาว ยอดกระถิน ผักสด หรือผักลวก เช่น ผักกาดเขียว ถั่วพู ฟักแม้ว (มะเขือเครือ)
น้ำพริกโจ๊ะ หรือน้ำพริกโย๊ะ
หมวดน้ำพริก
คำว่า โจ๊ะ สันนิษฐานว่ามาจากลักษณะของการใช้ไม้ตีพริกลงโขลกช้าๆ และเบา เมื่อใส่มะเขือเทศเผาแกะเปลือกลงไปรวมกับส่วนผสมอื่นๆ แล้ว การโขลกลักษณะนี้จะต้องระมัดระวังเพราะมะเขือเทศมีน้ำมาก และเรียกอาการโขลกแบบนี้ว่า “โจ๊ะ” ส่วนผสมของน้ำพริกโจ๊ะคล้ายน้ำพริกปลาร้า แต่เพิ่มหมูบด และมะเขือเทศลูกเล็ก ประกอบด้วยหมูบด ปลาร้า พริกสด หอมแดง กระเทียม มะเขือเทศลูกเล็ก เกลือ รับประทานกับเครื่องเคียง คือผักลวก หรือผักนึ่ง เช่น ผักกาดเขียว กะหล่ำปลี ฟักทอง กระเจี๊ยบ ถั่วฝักยาว ถั่วพู มะเขือม่วง ฯ
น้ำพริกไข่ต้ม
หมวดน้ำพริก
ส่วนผสม ไข่ต้ม พริกสด หอมแดง กระเทียม เกลือ ต้นหอม ผักชี เครื่องเคียง แตงกวา มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว กระถิน ผักกาด ผักสดอื่นตามชอบ