สรรพคุณของวัตถุดิบ


กระเทียม (หอมกลีบ,หอมเตียม,หอมขาว-ภาคเหนือ)

รสและสรรพคุณทางยา หัว รสเผ็ดร้อนฉุน แก้ไอ แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้แผลเน่า เนื้อร้าย ขับโลหิตระดู บำรุงธาตุ แก้โรคทางประสาท แก้ปวดหู แก้หูอักเสบ แก้โรคในปากในคอ แก้คออักเสบ แก้หืด แก้อัมพาต แก้ลมเข้าข้อ แก้ปัสสาวะขัด แก้ปอดพิการ บำรุงปอด แก้ปอดบวม แก้วัณโรคปอด แก้เสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก้ฟกช้ำบวม แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้สะอึก ฆ่าเชื้อโรคในปากในคอ แก้ปากเหม็น แก้เชื้อรา ลดไขมันอุดตันในเลือด

กะปิ ปลาร้า

รสและสรรพคุณทางยา รสมันคาวและเค็ม ให้โปรตีนและแคลเซียม บำรุงกระดูก และพลังงาน

ขนุนอ่อน

รสและสรรพคุณทางยา รสฝาด บำรุงกำลัง บำรุงน้ำนม ขับน้ำนม รักษาแผลกระเพาะอาหาร (ขนุนอ่อนและฝาดมากจะทำให้ท้องผูก)

ข่า

รสและสรรพคุณทางยา หัวเหง้า-รสร้อนขม แก้จุกเสียดแน่น แก้ปวดท้อง ขับลมให้กระจาย แก้ฟกบวม แก้พิษ แก้บิด แก้ตกเลือด แก้ลมป่วง แก้กลากเกลื้อน แก้ลมพิษ แก้สันนิบาตหน้าเพลิง ขับรก ขับน้ำคาวปลาและเลือดที่คั่งค้าง

ช้าพลู (ผักแค-ภาคเหนือ)

รสและสรรพคุณทางยา รสเผ็ดร้อน เป็นตัวยาประจำธาตุน้ำ เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ ขับเสมหะ ทำให้เลือดลมไหลเวียนดีแก้ศอเสมหะ ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยย่อยอาหาร แก้เสมหะในลำคอ เสมหะในอก คูถเสมหะ (ขับเสมหะในลำไส้ให้ลงสู่คูถทวาร)

ดอกงิ้วแห้ง

รสและสรรพคุณทางยา ดอก รสหวานเย็นเป็นเลือก แก้ปวดแก้คันแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้น้ำร้อนลวก บำรุงกระเพาะ ถอนพิษอักเสบแก้ริดสีดวงทวาร

ดอกแค (ดอกแก-ภาคเหนือ)

ดอกแคมีสองชนิด คือ แคขาว,แคแดง รสและสรรพคุณทางยา ใบ รสจืดมัน แก้ไข้เปลี่ยนฤดู ไข้หวัด ถอนพิษไข้ ดับพิษ ถอนพิษ ดอก รสหวานเย็น แก้ไข้เปลี่ยนฤดู ไข้หวัด อากาศเปลี่ยน

ดอกแค (แดง,ขาว)

รสและสรรพคุณทางยา รสหวานเย็น แก้ไข้หัวลม ไข้เปลี่ยนฤดู (ดอกแคแดงจะมีสรรพคุณมากกว่าดอกแคขาว)

ตะไคร้

รสและสรรพคุณทางยา รสหอมปร่า ขับลม แก้นิ่ว แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ดับกลิ่นคาว เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ปวดท้อง แก้หืด บำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย คุมธาตุ บำรุงไฟธาตุ

ตูน (คูน-แพทย์แผนไทย)

รสและสรรพคุณทางยา รสเฝื่อนคัน แก้ไข้เซื่องซึม แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้พิษตานซางในเด็ก ช่วยในการขับถ่าย ทำความสะอาดลำไส้ ดูดซับไขมันในลำไส้ (สารสีเขียวช่วยต้านเซลล์ที่ผิดปกติและสารสีดำในตูนสีดำมีสรรพคุณเหมือนกัน)

ต้นหอม,ผักชี

รสและสรรพคุณทางยา เจริญอาหาร ดับกลิ่นคาว แก้หวัด ต้านอนุมูลอิสระ

ถั่วฝักยาว

รสและสรรพคุณทางยา ฝัก รสฝาดหวานมัน แก้บวมน้ำ แก้ปวดเอว ระงับอาการปวด รักษาแผลที่เต้านม บำรุงไต ม้าม แก้บิด แก้อาเจียน แก้ตกขาว ขัดปัสสาวะ

ถั่วฝักยาว

รสและสรรพคุณทางยา ฝัก รสฝาดหวานมัน แก้บวมน้ำ แก้ปวดเอว ระงับอาการปวด รักษาแผลที่เต้านม บำรุงไต ม้าม แก้บิด แก้อาเจียน แก้ตกขาว ขัดปัสสาวะ

ถั่วพู

รสและสรรพคุณทางยา ฝัก รสมันเย็น แก้ร้อนใน แก้หอบ (ใบ ช่วยย่อยอาหารพวกกรดไขมันอิ่มตัว)

ถั่วเน่า

รสและสรรพคุณทางยา รสมัน บำรุงกระดูกเสริมแคลเซียม บำรุงม้าม บำรุงกำลัง บำรุงร่างกายระบายอุจจาระ ขับปัสสาวะ แก้บิด รักษาแผลหนอง ห้ามเลือด เหมาะสำหรับทำอาหารผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน

ถั่วแปบ (มะแปบ บ่าแปบ-ภาคเหนือ)

รสและสรรพคุณทางยา ฝักและเมล็ด รสหวานมัน แก้ไข้ แก้โรคตา แก้เสมหะ แก้ไข้อ่อนเพลีย บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง

บวบ (บวบเหลี่ยม มะนอยข้อง-ภาคเหนือ)

รสและสรรพคุณทางยา รสหวาน บำรุงร่างกาย ลดไข้ แก้ร้อนใน ระบายท้อง ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ

บวบหอม (บวบกลม)

รสและสรรพคุณทางยา ใบ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ผล รสหอมหวาน ระบายท้อง ขับลม ขับน้ำนม แก้เลือดออกตามทางเดิน อาหาร แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ

บ่านอย (บวบเหลี่ยม)

รสและสรรพคุณทางยา รสหวานเย็น บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ลดไข้ แก้ร้อนใน ระบายท้อง ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ใบ รสจืดเย็น ต้มดื่ม ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ขับเสมหะ แก้ระดูผิดปกติ ตำพอก ถอนพิษม้ามโต (ไข้ม้ามโต) แก้ริดสีดวงทวาร แก้โรคเรื้อน ถอนพิษแมลงกัดต่อย แก้คัน เนื้อในเมล็ดขับนิ่ว และขับพยาธิตัวกลม รับประทานมากทำให้อาเจียน

บ่าน้ำ (น้ำเต้า)

รสและสรรพคุณทางยา ลูกอ่อน-รสเย็น ขับปัสสาวะ ทำให้เกิดน้ำนม ขับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ โคนขั้วของผล ต้มดื่ม แก้ปวดท้องที่เกิดจากไข้

ผักกาด

รสและสรรพคุณทางยา รสจืดเย็น ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ถอนพิษไข้ ถอนพิษอักเสบ แก้ร้อนใน ระบายท้อง (สารสีเขียวต้านเซลล์มะเร็ง)

ผักขี้หูด (ผักเปิ๊ก)

รสและสรรพคุณทางยา ใบ รสเฝื่อนขม คั้นน้ำแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน แผลมีหนอง ทั้งต้น-รสเฝื่อนขม ต้มดื่มแก้อาหารไม่ย่อย ท้องอืดเฟ้อ แก้เจ็บคอ แก้ต่อมน้ำนมบวม น้ำนมคั่ง ขับปัสสาวะ ละลายก้อนนิ่ว ระบายท้อง เจริญอาหาร ดอก รสขม ขับน้ำดี เมล็ดรสเผ็ดชุ่มสุขุม คั่วชงน้ำดื่มระบายท้อง ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืดแน่น แก้บิด แก้บวม แก้หอบ แก้เสมหะ ขับปัสสาวะ ละลายก้อนนิ่ว หัว รสเฝื่อนฉุน คั้นเอาน้ำดื่ม(ผสมน้ำผึ้ง) บำรุงประสาท แก้อาการ ผิดปกติเกี่ยวกับหลอดลมและทรวงอก แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ตกโลหิตระดู ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี บำรุงกำลัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ริดสีดวงทวาร แก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ ระบายท้อง ขับลม สมานลำไส้ บำรุงม้าม บำรุงโลหิต ทาแก้คัน

ผักชีฝรั่ง (หอมป้อมเป้อ-ภาคเหนือ , ผักหอมน้อย-แพทย์แผนไทย)

รสและสรรพคุณทางยา ทั้งต้น รสเผ็ดสุขุม ขับเหงื่อ แก้พิษหัด เหือด สุก ใส ดำ แดง ขับลม เจริญอาหาร แก้ท้องอืดเฟ้อ ดับกลิ่นคาวปลา เนื้อ แก้ดากออก แก้ไฟลามทุ่ง ผื่นคัน แก้ปวดศีรษะ แก้ไอแก้หวัดอาหารเป็นพิษ ต้านเซลล์มะเร็ง

ผักชีฝรั่ง (หอมป้อมเป้อ-ภาคเหนือ , ผักหอมน้อย-แพทย์แผนไทย)

รสและสรรพคุณทางยา ทั้งต้น รสเผ็ดสุขุม ขับเหงื่อ แก้พิษหัด เหือด สุก ใส ดำ แดง ขับลม เจริญอาหาร แก้ท้องอืดเฟ้อ ดับกลิ่นคาวปลา เนื้อ แก้ดากออก แก้ไฟลามทุ่ง ผื่นคัน แก้ปวดศีรษะ แก้ไอแก้หวัดอาหารเป็นพิษ ต้านเซลล์มะเร็ง

ผักชีลาว

รสและสรรพคุณทางยา ยอดอ่อน รสเผ็ดหอมฉุน แก้ไข้ มีวิตามิน เอ และซีสูง รักษาโรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ต้านอนุมูลอิสระ

ผักตำลึง ( ผักแคบ-ภาคเหนือ,ผักสี่บาท-คำปริศนาของแพทย์แผนไทย)

ตำลึงมีสองชนิด คือ ตำลึงตัวผู้ ตำลึงตัวเมีย รสและสรรพคุณทางยา ใบและยอด รสเย็น ดับพิษร้อนในร่างกาย แก้ไข้ตัวร้อน ถอนพิษไข้ ดับพิษฝี แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้คัน ถอนพิษจากการได้รับพิษจาก พืชบางชนิด แมลงกัดต่อย และตัวบุ้ง

ผักบุ้ง

รสและสรรพคุณทางยา รสจืด บำรุงประสาท แก้โรคประสาท แก้อักเสบ แก้อ่อนเพลีย แก้เบาหวาน แก้ตาฟาง แก้เหงือกบวม แก้ฟกช้ำ ถอนพิษยาเบื่อยาเมา ยาฆ่าแมลง แก้พิษแมลงกัดต่อยแก้พิษฝิ่นและสารหนู ถอนพิษทั้งปวง รากผักบุ้ง แก้ตกขาว แก้ไอเรื้อรัง แก้บวม แก้ปวดฟัน ผสมกับดอกมะพร้าว มะขาม และขิงแก้โรคหืด

ผักปราบ

รสและสรรพคุณทางยา ทั้งต้น รสเฝื่อนเย็น (รสเย็นเป็นเลือก หรือเป็นเมือก) เจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคเรื้อน แก้ปวด แก้ขัดปัสสาวะ แก่ผื่นคัน แก้ระคายเคืองที่ผิวหนัง แก้ร้อนใน แก้ริดสีดวงทวาร

ผักปลัง (ผักปั๋ง)

รสและสรรพคุณทางยา ใบ รสหวานเอียน (เย็นเป็นเรือก เป็นเมือก) แก้กลาก ผื่นคัน แก้บิด ขับปัสสาวะ ระบายท้อง แก้ริดสีดวงทวาร ตำพอก แก้ฝีเนื้อร้าย ดอก รสหวานเอียน แก้โรคเรื้อน คั้นเอาน้ำทาหัวนมแตกเจ็บ ดับพิษ แก้พิษฝีดาษ ต้น เถา รสหวานเอียน แก้พิษฝีแก้พิษฝีดาษ แก้อักเสบบวม ต้มน้ำดื่มแก้ไส้ติ่งอักเสบ แก้แน่นท้อง ระบายท้อง ราก รสหวานเอียน แก้มือเท้าด่าง แก้รังแค แก้พรรดึก ขับปัสสาวะ ใช้ทาถู นวดให้เลือดมาเลี้ยงผิวหนังมะเขือเทศ รสและสรรพคุณทางยา รสเปรี้ยวหวาน ช่วยระบาย กระจายเสมหะ ช่วยบำรุงธาตุน้ำ

ผักเผ็ด (ผักคราด ผักคราดหัวแหวน-แพทย์แผนไทย)

รสและสรรพคุณทางยา ทั้งต้น รสเอียนเบื่อเล็กน้อย (รสเผ็ดปร่าซ่า) แก้ปวดหัว แก้โลหิตเป็นพิษ ขับน้ำลาย แก้ปวดฟัน แก้โรคในปากในคอ แก้พิษตานซาง แก้ริดสีดวงผอมเหลือง แก้บิด แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้หอบไอ แก้ไอกรน แก้ปอดบวม แก้ไขข้ออักเสบ แก้งูและสุนัขกัด แก้ดีซ่าน แก้โรคตับอักเสบ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้คันคอ แก้ปวดมวนในท้อง แก้ปวดท้องหลังคลอด (ต้มดื่ม) แก้ชอกช้ำภายในทรวงอก เจ็บปวดสีข้าง (มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่) มีฤทธิ์ฆ่าตัวอ่อนยุง ใช้เบื่อปลาได้

ผักเสี้ยว

อุดมไปด้วยวิตามินซี พริกมีรสเผ็ด ช่วยขับลม ช่วยย่อย ช่วยเจริญอาหาร ข่ามีรสเผ็ด ช่วยขับลม ขับพิษโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้ กระเทียม รสเผ็ดร้อน ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคผิวหนัง ยับยั้งแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด ผักชะอม (ผักหละ-ภาคเหนือ) รสและสรรพคุณทางยา รสร้อนเฝื่อน ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดเสียวในท้อง (คนที่มีความดันสูง หรือลมกำเริบ ไม่ควรทาน)

ผักโขมแดง

รสและสรรพคุณทางยา ต้นแก้อาการแน่นหน้าอกและไอหอบ ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ขับถ่ายปัสสาวะ

พญายอ (ผักมันไก่-ภาคเหนือ,เสลดพังพอนตัวเมีย-แพทย์แผนไทย)

รสและสรรพคุณทางยา รสจืดเย็น แก้พิษงู พิษแมลงกัดต่อย แก้เริม งูสวัด แก้บิด ถอนพิษไข้อีสุกอีใสอีดำอีแดง ถอนพิษงูและสัตว์มีพิษทุกชนิด

พริกขี้หนู (พริกแด้ พริกแต้-ภาคเหนือ)

รสและสรรพคุณทางยา ผล รสเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับผายลม เจริญอาหาร แก้ปวดตามข้อทำให้เลือดลมไหลเวียนดี แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ใบ รสเย็น ขับปัสสาวะ แก้กษัย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปวดตามข้อ แก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

พริกหนุ่ม/ พริกขี้หนูสด

รสและสรรพคุณทางยา รสเผ็ดร้อน ทำให้เกิดกำลัง ทำให้เกิดน้ำลาย แก้ปวดตามข้อ ขับลม เจริญอาหาร แก้ปวด เมื่อยตามร่างกาย ทำให้เลือดไหลเวียนดี

พริกแห้ง

รสและสรรพคุณทางยา ผล รสเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับผายลม เจริญอาหารแก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว แก้ปวดตามข้อ ทำให้เลือดลมไหลเวียนดี แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

ฟักเขียว (ฟักหม่น-ภาคเหนือ)

รสและสรรพคุณทางยา รสเย็น แก้ธาตุพิการ แก้ไอเป็นเลือด แก้โลหิตเป็นพิษ ขับปัสสาวะ (แสลงต่อโรคปวดข้อปวดกระดูก และโรคเกาต์)

มะกรูด มะนาว มะขาม

รสและสรรพคุณทางยา รสเปรี้ยวกลิ่นหอม (มะนาว,มะกรูด,มะขาม) แต่งกลิ่นและปรุงรส ขับเสมหะให้ลงสู่เบื้องต่ำ ฟอกโลหิต ระบายท้อง ชะล้างเมือกมัน-ไขมันในลำไส้ ชำระน้ำเหลือง

มะละกอ

รสและสรรพคุณทางยา รสจืด ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด ขับพยาธิ แก้ตับและม้ามโต

มะเขือขื่น (มะเขือแจ้ บ่าเขือแจ้ บ่าเขือหนาม-ภาคเหนือ)

รสและสรรพคุณทางยา ลูก รสขื่นเปรี้ยวเย็น แก้เสมหะเหนียว แก้น้ำลายเหนียว แก้ไข้สันนิบาต บำรุงกำลัง

มะเขือพวง (มะแคว้งกุลา-ภาคเหนือ)

รสและสรรพคุณทางยา ลูก รสหวานเฝื่อน ออกขมเปรี้ยวเล็กน้อย ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะช่วยย่อยไขมันและฟื้นฟูตับ

ยอดฟักแก้ว (ยอดฟักทอง)

รสและสรรพคุณทางยา รสจืด ขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน มีกากใยมากช่วยในระบบขับถ่าย น้ำยางเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ขับน้ำนม แก้ริดสีดวงทวาร

ยอดมะขามอ่อนหรือยอดส้มป่อย

รสและสรรพคุณทางยา รสเปรี้ยว ใช้ปรุงรสอาหาร กัดเสมหะ ขับเสมหะ ระบายท้อง ชะล้างไขมันในลำไส้ ฟอกโลหิต

ยอดมะขามอ่อนหรือยอดส้มป่อย

รสและสรรพคุณทางยา รสเปรี้ยว ใช้ปรุงรสอาหาร กัดเสมหะ ขับเสมหะ ระบายท้อง ชะล้างไขมันในลำไส้ ฟอกโลหิต

ยอดมะพร้าวอ่อน (มะป๊าว บ่าป๊าว-ภาคเหนือ)

รสและสรรพคุณทางยา ยอดอ่อน รสหวาน แก้ไข้ แก้ท้องเดิน แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต แก้อ่อนเพลีย บำรุงครรภ์

วุ้นเส้น

รสและสรรพคุณทางยา รสมันจืด ขับปัสสาวะ แก้เหน็บชา บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย แก้ร้อนใน บำรุงไขข้อ

สะค้าน

รสและสรรพคุณทางยา เถา รสเผ็ดร้อน ขับลม แก้ลมปัตตคาดเนื่องจากเป็นพรรดึก (ท้องผูก) แก้ลมอัมพฤกษ์ ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดแน่น แก้ธาตุพิการ ทำให้ผายเรอ บำรุงธาตุ เป็นตัวยาประจำธาตุลม นอกจากนี้ การที่ชาวล้านนามีอาหารที่หลากหลาย ยังสะท้อนถึงภูมิปัญญาอันชาญฉลาดในการกิน โดยผักอื่นๆ ที่มีสรรพคุณทางยาที่ช่วยป้องกันและรักษาโรคไปพร้อมกัน

หน่อไม้

รสและสรรพคุณทางยา รสขื่นขมร้อน ใช้หน่อตาเต่าตำพอกแก้ตับทรุด ม้ามย้อย แก้กษัยเลือดเป็นก้อน หน่อไม้ทุกชนิด รสและสรรพคุณโดยรวมจะเหมือนกัน แต่จะมีบางสรรพคุณที่ต่างกัน เช่น หน่อไม้ไร่และหน่อไม้บงป่า ที่เหมาะสำหรับคนที่เป็นพยาธิ (ผู้ที่มีโรคประจำตัวมาก) หน่อไม้ซาง คนที่มีโรคประจำตัวไม่ควรรับประทาน หน่อไม้ทุกชนิด จะมีกรดยูริกมาก โดยเฉพาะหน่อไม้ซางและหน่อไม้ไผ่ป่า คนที่มีอาการปวดตามเส้น กล้ามเนื้อ ปวดข้อปวดกระดูกไม่ควรรับประทานหน่อ เนื่องจากหน่อไม้เป็นของแสลง ทำให้มีอาการปวดเพิ่มขึ้นการสังเกตหน่อไม้ ให้ดูที่ความขมและขื่น ยิ่งมีมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้ความปวดมีมากยิ่งขึ้น วิธีทำให้ความเข้มข้นของกรดยูริกที่มีในหน่อไม้ลดลงได้คือก่อนที่จะแกง ให้นำหน่อไม้ใส่ลงในหม้อแกง ใส่น้ำให้ให้ท่วม ตั้งไฟต้มให้เดือดหลังจากเดือดแล้วประมาณ ๒๐ นาที เทน้ำทิ้ง คั้นใบย่านาง กรองเอาแต่น้ำใส่แทนเป็นการช่วยลดความเข้มข้นของกรดยูริกลงได้

หยวกกล้วยอ่อน

รสและสรรพคุณทางยา รสฝาดเย็น ช่วยในระบบขับถ่าย ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ

หอมแดง

รสและสรรพคุณทางยา หัว รสเผ็ดร้อนหวาน แก้ไข้เพื่อเสมหะ เสมหะในทรวงอก บำรุงผมให้งอกงาม แก้ไข้ที่ทำให้ร้อนใน ทำให้เนื้อหนังสดชื่นแก้ปวดกระบอกตาแสบร้อนตา ขับเสมหะ แก้โรคในปากคอ บำรุงธาตุ แก้หวัด แก้กล้ามเนื้อหัวใจตีบและเส้นเลือดตีบ

หัวปลี

รสและสรรพคุณทางยา รสฝาด แก้โรคกระเพาะอาหารและลำไส้ บำรุงน้ำนม แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน บำรุงโลหิต แก้ถ่ายเป็นมูกเลือด

เห็ด (เห็ดหูหนูขาว เห็ดหูหนูดำ เห็ดนางฟ้า เห็ดมัน เห็ดลม เห็ดขอนขาว เห็ดฟาง และเห็ดอื่นๆ)

รสและสรรพคุณทางยา รสเย็นหวาน บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง บำรุงตับ แก้ช้ำในกระจายโลหิต บำรุงตับ เจริญอาหาร ต้านอนุมูลอิสระ

เห็ดลม อ่อนและแก่

รสและสรรพคุณทางยา รสเย็นเป็นเลือก (เป็นเมือก) บำรุงกำลัง แก้ช้ำใน บำรุงร่างกาย ทำให้ขับถ่ายง่ายขึ้น รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้ริดสีดวง

ใบมะกรูด

รสและสรรพคุณทางยา รสหอมปร่า ดับกลิ่นคาว แก้ไอ แก้ช้ำใน แก้อาเจียนเป็นโลหิต

ใบย่านาง

รสและสรรพคุณทางยา รสมันเย็นจืดขมน้อย ลดกรดยูริก ลดความร้อนในร่างกาย ถอนพิษ แก้ไข้แก้ลิ้นกระด้างคางแข็ง

ใบแมงลัก

รสและสรรพคุณทางยา รสเผ็ดหอมฉุน ขับลม บำรุงธาตุ แก้แน่นจุกเสียด