จำนวน 8 เรื่อง

กองกาน

นิทานประจำถิ่น
กองกานนั้นมีเรื่องเล่าว่าพระพุทธองค์มาถึงที่หั้น มาโปรดสัตว์โปรดคน แล้วก็คนทั้งหลายก็สับสนว่าพระพุทธองค์ใหญ่เท่านี้ แล้วพระกัสสปะจะใหญ่สักเท่าใด. . .พระเจ้ากองกานมีตาเขียวล่อ กองกานก็คือหมายความว่า บ้านกั๊บก็คือพม่ามาทางสายเหนือ ทีนี้ก็ตั้งทัพเกณฑ์คนจะไปรบกับพม่า แม่ศึก. . .ลอยลำก็มีล่อที่ใกล้กองกาน ลอยลำหมายถึงตั้งลำปื๊นไม้ใหญ่ไม้เล็ก ตั้งลำอยู่หั้น เป็นค่าย

กิ่วหามเฮือ

นิทานประจำถิ่น
ลัวะลุกจากขุนแจมจะมาทานธาตุวัดหลวงช่างเคิ่ง เมียน้อยกับเมียหลวงก็ล่องเฮือมาคำลำ เมียหลวงล่องมาก่อน ล่องตวยร่องน้ำ เมียน้อยก็จะเอาเหลือเมียหลวง ก็เอาหามเฮือข้ามกิ่ว มาตกหั้น เมียหลวงบ่ทันผดโค้งหั้นเตื่อ เมียน้อยผดแล้ว ขี่เฮือมา มาแผวหาดเฮือหักแล้ว เมียน้อยเมียหลวงก็เดินทางด้วยตีน เมียหลวงก็เตียวโตยฮ่องน้ำมา เมียน้อยพาพลโยธาล่องมาทางบก มาแผวกิ่วหลบหมอยก็มาหลบฮอยหั้นนะ

ขุนหลวงบะลังก๊ะ

นิทานประจำถิ่น
ตะก่อนนี้เมืองเชียงใหม่ก่อนมีพญามังรายจะมาสร้าง คนที่ครองเมืองเชียงใหม่ก่อมีอยู่ก่อนแล้ว เรียกว่า “ขุนหลวงบะลังก๊ะ” คล้ายๆ ว่าเป็นลัวะ ขุนหลวงบะลังก๊ะก่ออยากได้นางจามเทวีเป็นเมีย พยายามเกลี้ยกล่อมต่างๆ นางจามเทวีบ่ยอม เพราะว่าขุนหลวงบะลังก๊ะเป็นคนป่าคนดง เป็นลัวะ ก่อเลยท้าขุนหลวง ถ้าพุ่งสะเหน้ามาตกกลางเมืองลำพูนเมื่อใด ข้าจะยอมเป็นผัวขุนหลวงบะลังก๊ะเมื่ออั้น ขุนหลวงก่อพุ่งสะเหน้าไปตกที่หลังวัดมหาวัน ลำพูน บ่ะเดี่ยวนี้เปิ้น ฮ้องหนองสะเหน้าๆๆ ยังมีเท่าบ่ะเดี่ยว นางจามเทวีก่อกลัวได้เป็นเมียขุนหลวงบะลังก๊ะ เลยเกณฑ์เอาหมู่ชาวบ้าน ไผมีซิ่นเก่า เอามาปกกำแพงเมือง ละก่อเอาผ้าซิ่นมาแปงเป็นหมอน เอาหมอยเอาผ้ายกยัดเป็นหมอนมาบรรณาการขุนหลวงบะลังก๊ะ ขุนหลวงก่อนึกว่านางจามเทวีถ้าจะรักเราแท้ เอาพลูแถมกับหมากมาหื้อเคี้ยว เอาหมอยมัด ขุนหลวงบะลังก๊ะ ก่อเอามาเคี้ยว เอาหมวก เอาหมอนมา พุ่งสะเหน้าไปแหมกำ ซ้ำห่างไปแหม เลยเสียใจ ถูกข่ม เวลาคนเชียงใหม่ตะก่อนเคี้ยวหมาก เปิ้นจะเด็ดหางพลู เพราะว่านางจามเทวีเวลาเอาพลูมาแปง เปิ้นเอาปลายพลูแหย่เข้าที่อวัยวะเพศ เอามาแปงหื้อขุนหลวงบะลังก๊ะ คนเชียงใหม่จะเคี้ยวหมาก เปิ้นต้องเด็ดหางพลูขว้างก่อน

ดอยปูคา

นิทานประจำถิ่น
ดอยลูกนี้แต่ก่อนยังไม่มีชื่อ พญาคาเป็นคนเมืองสิบสองปันนา มาเอาเมียชื่อนางแก้วฟ้าคนเมืองเย็น ก็ยกครอบครัวกันมาราว 120 คน รู้ข่าวที่เวียงตองนี้เห็นเป็นที่เหมาะสม จึงมาพักอยู่ เดิมที่นี่เป็นบ้านห่างของเขมร มีคนเขมรมาอยู่ส่วนหนึ่ง อีกสองส่วนหนึ่งหนีไปแล้ว พญาคาก็มาดู เห็นว่าสมควรมาตั้งบ้านเมืองอยู่ ต่อมาคนก็มาอยู่กันมากเข้าๆ คนเขมรที่อยู่ที่นี่ไม่มีผู้ปกครอง พญาคาก็เลยตั้งนายซ้ายให้ปกครองเขมรอยู่ที่บ้านหัวทุ่ง เขตนี้จึงมีพญาภูคาปกครองและอีกเขตหนึ่งมีพญาซ้ายปกครอง ต่อมาพญาซ้ายเสียชีวิต ชาวเขมรจึงกลับคืนไปอยู่บ้านเกิดเมืองนอนเดิมของตน ส่วนบริวารของพญาซ้ายก็ขึ้นไปอยู่ที่บ้านนาซ้าย ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น “บ้านนาซาย” ส่วนเวียงตองก็เรียกชื่อว่า “บ้านป่าตอง” มาจนถึงเดี๋ยวนี้ หลังจากเจ้าพ่อภูคาสิ้นชีวิต เขาก็เอากระดูกไปฝังไว้บนดอย (ชลประทานปัจจุบัน) แล้ว ก่อธาตุกลมไว้ ก็มาคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ชื่อของท่านอยู่คู่กับบ้านเมืองตลอดไป ก็เลยตั้งชื่อดอยลูกนี้ว่า “ดอยภูคา” เขามีศาลเจ้าพ่อภูคาอยู่ที่ชลประทาน ต้องขึ้นเขาไป เชื่อว่าที่นี่ท่านมารักษาชั่วคราว แต่ที่อยู่ของท่านจริงๆ คือบนดอยภูคา เป็นศาลแรก เขาจะมีการเลี้ยงทุกปี แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีการเข้าทรงเพราะคนทรงตายไปแล้ว มีแต่พ่อจ้ำคือคนเชิญ เช่น ถ้าจะแก้บน ก็นำดอกไม้ธูปเทียนไปหาพ่อจ้ำ พ่อจ้ำจะเป็นคนทำพิธีบอกกล่าวเจ้าพ่อภูคา เจ้าพ่อคำเขียว เจ้าผานอง ว่าวันนี้ลูกบ้านหลานจอง ก็มีดอกไม้ธูปเทียนมาบอกกล่าว ท่านไปอยู่แห่งหนใดก็ขอเชิญมาอยู่หอศาล มายังราษฎร เครื่องคาวของหวานก็ได้นำมาถวาย พ่อจ้ำจะเป็นคนทำพิธีเชิญ ส่วนที่นั่งก็คือคนทรงจะเป็นชายหรือหญิงก็ได้แล้วแต่ท่านเลือกเอา

ประตูช้างเผือก

นิทานประจำถิ่น
ประตูช้างเผือกอยู่ใกล้ ๆ กับวัดกู่เต้าหั้นนะ ประตูช้างเผือกเปิ้นก็มีเล่าเรื่องเหมือนกันว่า เมื่อตะก่อนสมัยพระเจ้ากือนาเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ จนเฒ่าจนแก่ก็ได้ตายไป เมื่อพระเจ้ากือนาตายไป พระเจ้าแสนเมืองเป็นลูก ก็ได้เป็นเจ้าเมืองต่อ อยู่มาได้แหมบ่เมินบ่นานเจ้าเมืองสุโขทัยก็เกิดศึกกับอยุธยา เจ้าเมืองสุโขทัยกลัวจะสู้เมืองอยุธยาบ่ได้ ก็ได้ส่งหนังสือไปหาเจ้าเมืองเชียงใหม่หื้อไปช่วยรบ แต่แล้วเจ้าเมืองสุโขทัยก็บ่ไปตีเมืองอยุธยาสักกำ ซ้ำร้ายปิ๊กมาตีเมืองเชียงใหม่เราแหม พระเจ้าแสนเมืองก็หนีออกจากที่ทัพสุโขทัยล้อมมาได้กับทหารสองคน เจ้าเมืองก็ได้ขี่หลังทหารตึงสองคนตวยกัน เปลี่ยนกันขี่คนนึ่งอิดแล้ว เปลี่ยนคนนึ่งขี่ต่อแหม จนมาถึงเมืองเชียงใหม่ เจ้าเมืองก็กึ๊ดถึงความดีของคนทั้งสอง จึงได้ตั้งหื้อเป็นขุนเจ้าฝ่ายขวา และขุนเจ้าฝ่ายซ้าย และได้แป๋งรูปช้างไว้เป็นสัญลักษณ์ ต่อมาช้างที่แป๋งก็ได้หักพังลงไป พระเจ้ากาวิละก็หื้อแป๋งช้างขึ้นมาใหม่ คือแป๋งช้างตัวเดียว แต่หื้อมีสองหัว ทาสีขาว เปิ้นฮ้องช้างเผือก ละก็ฮ้องหนตางที่มีช้างเผือกอยู่ว่าประตูช้างเผือก ถ้าไผใคร่หันก็ไปผ่อได้ ไปตามถนนเลยหน้าสนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ไปหน้อยก็จะปะพอดี

ผาวิ่งชู้

นิทานประจำถิ่น
มีขุนสงะครองเมืองเป็นเชื้อลัวะ แหมคนนึ่งชื่อขุนลึครองคนละเมือง เป็นพี่กะน้องก็ไปมาหาแวดกัน คนนึ่งก็มีลูกแม่ญิง คนหนึ่งก็มีลูกเป็นป้อชาย อยากหื้อลูกเกิดคุ้นเคยกัน รักชอบกัน เป็นทำนองชู้สาว ทีนี้รักกันแท้ ๆ ก็บอกให้พ่อแม่ทั้งสองฝ่าย พ่อแม่ก็ว่าเป็นญาติกันเอากันบ่ได้ ผิดประเพณี ก็เสียใจและชวนกันหนีไปตาย ว่าเราตึงบ่ได้สมในความรัก ก็ขี่ม้ารวบกันไป จะไปวิ่งที่ผาวิ่งชู้ ผาจันผาเงิบ มันเป็นร่องน้ำแม่แจ่มทางเหนือนี้ เป็นห้วยเป็นน้ำไหลทางลุ่ม ตึงน้ำไหลล่องมาทางใต้เนียะ ที่ข้างน้ำเป็นผาสูง (ต้องไปจากแม่นาจรไป ๔ กิโล ต้องเดินไปทางรถไม่มี) ผู้ชายขี่ก่อน และแม่ญิงขี่มาตางหลัง สามตั้งบ่สำเร็จ จะวิ่งก็ชักม้าคืน แม่ญิงใจเด็ดกว่า ม้าวิ่งก็บ่ชักละ ปล่อยตกลงไปที่หน้าผา ตายตึงม้าตึงอะหยังหมด ก็เก็บเชื้อดอกเชื้อหยัง ไปตกหล่น ก็เป็นเชื้อดอก. . . พ่อแม่เซาะหาบ่หันทั้งสองเนียะ ไปเซาะขึ้น ๆ ล่อง ก็ตวยฮอยหมา ลงก็บ่ได้ จำเป็นได้ไปทางอื่น มีหมาไปตวยคนไปเหยียบน้ำฝ่ายปู้น เป็นหน้าผายังเป็นฮอยหมา เปิ้นก็ว่าหย่อมตีนหมาที่มาเสาะหาป้อชายกับแม่ญิง ลูกสาวกับลูกบ่าวที่วิ่งผาวิ่งชู้ที่ตายบนนี้ ฮอยหมาเป็นพยานหื้ออยู่หน้าผา

รังงู

นิทานประจำถิ่น
สมัยเมื่อสงครามเขมร ละว้า เจ้าหญิงลัวะ มีแก้วกับพระทองคำ เจ้าหญิงลัวะหนีทัพมาพร้อมกับเชลยศึกหลายคนมา มาถึงวังงู ก็เอาแก้วซ่อนในมวยผม แก้วก็มีแสงออก เอาซ่อนที่ไหนก็มีแสงออก เลยเอาไปฝากไว้ที่ถ้ำงู ฆ่าหมู่เชลยศึกหื้อเฝ้าหั้น งูหมู่นั้นเป็นเชลยศึกนา ละก่อนจะฆ่าเชลยศึกก็ถามว่า อยากจะกินอะหยัง ชอบอะหยังเหลือเปิ้นมากที่สุด หัวหน้าเชลยศึกก็ว่าชอบปลากั้งปิ้งที่สุด คนที่มาเอาของเนียะ เปิ้นมาถึงเอาคนแม่จรนี้ลวดไปส่ง เปิ้นเซาะปลากั้งปิ้งมาปิ้งจะเอาไปบนผี เข้าง่ายที่สุด ไปถึงก็เปิดบ่ะหินก็เข้าได้ อย่างเราไปฮิเอาดำเข้าก้นกุน ปากมันมีในน้ำล่อ ถ้ำน่ะ แต่ที่เข้ามันมีบนบก เปิ้นไปเอาพระกับเอาแก้ว มันมีตางปู๊นล่อ ถ้าอยากใคร่ได้ของ ก็มีพระทองคำอยู่องค์นึ่งและมีแก้ว คืออยากจะเอาแก้วคืน คือเป็นแก้วของวงศ์ตระกูล วิธีที่จะไปเอาคืนเปิ้นก็บอกหื้อนายอำเภอเก่าหมด คือเจ้าเก่าที่ตกทอดตางท้าย สืบตระกูลมาทางเพ้ เปิ้นมีลายแทงเก่า มีในตัวเปิ้นอยู่นา มันตกทอดกันมา เจ้าเก่ามอบหื้อนายอำเภอมาเอา บอกวิธีบอกหมด นายอำเภอมาถึงแม่จรนี่ก็จ้างหื้อชาวแม่จรนี้ไปเซาะปลากั้งมาปิ้ง ละก็เอาไปบวน ละไปเอาของออกมา เอาพระทองคำกับแก้วนี้ละ จะเป็นแก้วศักดิ์สิทธิ์อย่างใดก็บ่รู้ คือเป็นแก้ววงศ์ตระกูลเปิ้น พอเอาออกมางูมันนัก งูตวยมาถึงบ้านเราเพ้. .งูเฝ้าของมันน่ะแต่บ่ะเดี่ยวบ่มีแล้ว มันไปหมดละ ไปถึงเปิ้นจะบอกหื้อเสร็จว่า ไปถึงเอาฆ้อนที่มีต่อยๆ หัวงู. . . งูนี้เชื่อว่ามันเป็นวิญญาณของเชลยศึก ถ้าเปิ้นเอาไปมันก็พ้นกรรมพ้นเวร ไปผุดไปเกิดหมดหน้าที่เปิ้นละ

สนทนาเรื่องพญาผาบ

นิทานประจำถิ่น
พญาผาบเป็นนักประชาธิปไตย เป็นหมู่การเมือง ตะก่อนบ้านสันป่าสักกับบ้านป่าตองเป็นเส้นสายเดียวกัน. . .เขาว่าเป็นเงี้ยว พญาผาบคงมาจากไทยใหญ่. . .ขนาดวัดหนองเงือกยังเป็นเงี้ยว บ้านเงี้ยวเต็มนี้. . .หน้าตาเป็นฮ่อ งัวต่างค้าขายช่วงไหนถึงฤดูแล้ง งัวต่างก็มาต่างเอาของในบ้านในเวียง เอาพริกมาแลก เอางามาแลก เอาของป่ามาขาย. . .ตุ๊เจ้าเขาก็มาบวชทางนี้ตั้งวัดตั้งวา พญาผาบคงเป็นกษัตริย์เงี้ยว สมัยนั้นมีต้นหมากต้นพลู มีที่ไหนเปิ้นก็เก็บสตางค์สองสตางค์ พญาผาบแข็งข้อ ปลุกปั่นประชาชนจะไปรบ ไปอาบยา. . .เปิ้นไต่สวนครูบา ก็สิก ว่าเป็นใจกับกบฏ ผลสุดท้ายก็ก๊าน เปิ้นต่อต้าน ก็กระจัดกระจายอยู่ เมื่อก่อนนักโทษการเมืองมันบ่จับได้ทันที บ่ถูกฆ่ามันก็หลบกันไปเหีย