จำนวน 31 เรื่อง

กตัญญกตเวที

นิทานคติ
เดิมทีมีพญาช้างสองตัวแม่ลูกอยู่ในดงในป่าเซาะหากินลูกไม้หัวมัน เป็นต้นว่าไม้ไผ่ ใบบง ใบอ้อย ที่ไหนมีก็สู่กันสองตัวแม่ลูกเท่าอั้น ก็อาศัยเลี้ยงชีวิตไปในป่า ทั้งนี้และทั้งนั้นช้างสองตัวนี้ก็รักกันแท้เนอ แม่รักลูก ลูกก็รักแม่ ทั้งนี้แม่ก็แก่เฒ่ามาทุกขณะ อนิจจาวัฏสังขาราสังขารทั้งหลายบ่เที่ยง เมื่อบ่เที่ยงแล้วก็แก่ชรา กายธิมังสังหนังที่เคยตึงมันก็หดก็เฉื่อยชา แสงตาที่ได้หันก็มัวมืด หูที่เคยได้ฟังชัดก็บ่ได้ยิน ทั้งนี้อาศัยอวัยวะทุกส่วนในร่างกายนี้ ย่อมขำขาดไปตามกัน เฒ่าชะแรแก่ชรา ช้างตัวแม่นั้นตาก็บอดเซาะหากินบ่ได้ อาศัยลูกอันเป็นที่รักในดวงใจเลี้ยงแม่มา เออ เข้าในป่าในดงอรัญญาป่าไม้ ได้ใบไผ่ใบบงใบอ้อยได้มาเรียบร้อยก็เอามาหื้อแม่กินตึงวันๆ ก็ได้อาศัยแรงลูก ที่ได้กตเวทีตอบ แทนบุญคุณของแม่ที่ได้อุ้มเกลี้ยงเลี้ยงใหญ่มา มีอยู่วันหนึ่งพระยาเจ้าเมืองออกเที่ยวป่าล่าเกวียนป่าวหื้อเสนาอามาต์เอาข้าวห่อย่อปลาตวยเน่อ วันนี้จะเข้าป่าดงพงไพร ไปเซาะหาสัตว์ในป่าในเงื่อนในดงปู้นไปพอดีเสนาอามาตย์ก็พากันไป ไปปะใส่ช้างตัวลูกงามก็งามงอนก็งาม ดูช้างหื้อดูหาง ดูนางหื้อดูแม่ ดูแน่ๆ หื้อดูถึงตาถึงยาย นึกไปนึกมาก็ใคร่ได้แท้เนอช้างตัวนี้ ก็ป่าวร้องก้องป่าวเสนาอามาตย์ “เออ ขอคล้องช้างหื้อกำเต๊อะเสนาเหยข้าใคร่ได้ช้างตัวนี้” เสนาอามาตย์ก็ประกาศก้อง ญาติพี่น้องมารวมกัน “เออ เขาจะคล้องช้างหื้อพระยา เมื่อห้างเวียกห้างหยังสำเร็จเสร็จฝนแล้ว คล้องช้างตัวนั้นสำเร็จ” เมื่อสำเร็จได้ตามความประสงค์ ก็เอาเข้าบ้านพ่อพระยา พ่อพระยาก็ปกป่าวเสนาอามาตย์ “เออ หื้อสูแปงคอกใหญ่ๆ เอาใบไผ่อ้อยใบบงที่ช้างมักมาหื้อมันกินตึงวันๆ เน่อ เสนา” ทั้งนี้และทั้งนั้นช้างตัวนั้นมันอยู่ในคอก ออกก็ออกบ่ได้ของกินก็มีสะป๊ะสะเป้ดอยู่หั้นหมดของกินที่เคยมักที่ช้างตัวนั้นมัก ห้าหกวันผ่านไปน้ำตาไหลบ่ขาดเบ้า นึกถึงแม่เป็นเจ้าที่ได้เลี้ยงมา นึกไปนึกมาจิตกระแสส่งถึงแม่ แม่ก็นึกถึงลูกขนาดนาคางอยู่อึ่งๆ “ลูกเอ๋ยลูกรักเดี๋ยวนี้ฮ้างแม่ไปไกลลูกไปไหนหยังบ่มา ไปตายกาว่าหนังบ่รู้ บัดนี้แม่ก็แก่ชราแล้วบ่ได้กินไม้ไผ่ใบอ้อย ใบบงหยัง แต่ตามเดิมมาลูกเคยแล่นต้อนกอนแม่ร้อนลูกก็อมน้ำมาหื้อแม่กิน” น้ำตารินไหลหลั่งนึกถึงลูกแท้เนอ เมื่อใดลูกข้าจะกลับมาตายกาแสนโสกาโศกเศร้า แม่ก็เฒ่าไปตึงวัน กึ้ดไปดังจะอี้แล้ว ต่อนั้นมาก็เป็นวันที่หก ช้างก็อยู่ในคอกน้ำตาตกพระยาเจ้าเมืองก็อยู่ข้างคอกช้างมาผ่อมากอย พอมาผ่อก็นึกว่า “ เอ้อ ช้างตัวนี้ผอมไปแหมเมาะมันผอมมันบ่กินหยังของที่เคยกินบ่กิน ของที่เคยมักบ่มัก มันเป็นอะหยังนิ ธรรมดาคนเฮาขาดอาหารมันตึงบ่ได้” เพราะจะอั้นก็เอ่ยปากขึ้นมา “กุญชรเอย เป็นหยังตกโสกาน้ำตาโศกเศร้าน้ำตาไหลหลั่งเบ้าจะอั้นบ่กินหยัง” เทวดาบันดาลหื้อช้างอู้ได้ ช้างก็เอ่ยปาก “ไหว้สามหาราชาเจ้า ที่ข้าพเจ้ามาอยู่ในคอกมีของกินหมดทุกสิ่งทุกอย่าง จะกินอันใดก็เต็มกำมีนี้หมด อาหารที่โอชารสที่เคยกินนั้นนา ที่ข้าพเจ้าบ่กินนี้เพราะอะหยังเพราะนึกถึงแม่มหาราชเหย บัดนี้ได้หกวันแล้วแม่คงตาย แม่บ่ได้กินข้าวบ่ได้กินน้ำ นึกถึงแม่นี้แล้วจะตายตวยแม่นี้แล้ว เพราะฉะนั้น มหาราชเจ้า มหาราชาเจ้าเมื่อข้าพเจ้านึกถึงแม่แล้วขออนุญาตปล่อยข้าพเจ้าเต๊อะ บ่หื้อได้มีบาปมีกรรมหยัง” พระยาเจ้าเมืองได้ยินดังนั้นก็ตรัสลั่นพระวาจาว่า “เสนาเห้ย ปล่อยช้างนี้ออกไปเต๊อะ ออกจากคอกเต๊อะมันนึกถึงแม่มัน มันบ่กินหยัง มันนึกถึงแม่มัน” เสนาก็ว่า “ไปปล่อยช้างเตคอกออกไป” มันก็กินอ้อยเหียกำมอกชื่นอกชื่นใจ แล้วยังบ่แหนมคาบไปหาแม่จะเวยเนอก็กลัวเป็นปิเป็นปั่น ย่างเซไปเซมานึกถึงหาแม่เข้าป่าเข้าดงด้วยกระแสจิตวิญญานนึกถึงแม่ไปตลอดทาง แม่ก็คางอยู่ฮือๆ “ลูกเป็นจะฮือหยังบ่มา” วันถ้วนเจ็ดลูกมาถึงก็ก้มกราบ กราบแม่เป็นเจ้า “แม่เหยบ่าเดี่ยวลูกไปอยู่ในคอก ออกมาบ่ได้ไห้อยู่ที่พระยา ไห้หาแม่ตึงวัน ๆ แม่เหยข้ามาระลึกถึงจะอี้บัดนี้ลูกก็มาแล้วเอาอ้อยมาเคี้ยว” พอได้น้ำก็เอามาใส่ปากหื้อแม่กิน แม่ก็ได้สติใหม่ชื่นขึ้นมา ได้หันหน้าลูกก็นึกถึงลูกถึงเต้า มาดังสมประสงค์ ช้างตัวลูกใจดีได้หันหน้าแม่ เพราะแม่บังเกิดเกล้าได้เลี้ยงลูกมาจนใหญ่โต ใหญ่มาเฮาก็ตอบแทนบุญคุณเปิ้น อันนี้หละสัตว์เดียรฉานยังนึกถึงบุญคุณของแม่

กินข้าวอร่อยทุกมื้อ

นิทานคติ
มีคนเฒ่าคนหนึ่ง มีลูกอยู่สองคน มันรู้ตัวมันใกล้จะตาย มันก็เลยแบ่งทรัพย์สินให้กับลูกๆ แบ่งเงินให้คนละพัน แล้วบอกให้ลูกคนผู้พี่นี้ว่าเอาเงินให้ไปแล้ว ให้กินข้าวอร่อยทุก มื้อ แล้วก็เอาเงินให้ผู้ถ้วนน้องอีก พันหนึ่งเอาเงินให้ลูกไปกินข้าวขอให้กินอร่อยทุกคาบ ผู้พี่นั้นพ่อแบ่งเงินให้แล้วก็เอาไปซื้อของที่ไปอยากได้อยากกินอะไรก็ซื้อกินของกินดีทั้งนั้น ผลสุดท้าย อยู่ไม่นานเงินก็หมด ไอ้ผู้น้องก็ไปทำไร่ใส่สวน ปลูกผักปลูกไม้กิน ถึงหน้านาไปทำนาแล้วก็มานึ่งข้าวหุงแกงกิน เก็บผักเก็บไม้มาทำกิน ตำน้ำพริกกิน กินข้าวลำอร่อย เงินนั้นก็มีอยู่อย่างเก่า ผลสุดท้ายผู้เป็นพี่หิวแล้วข้าว ก็เข้าไปหาน้อง น้องมันก็ถามว่า “พ่อเอาเงินให้มีอยู่ไหม?” “หมด ไม่มีแล้ว พ่อบอกว่าให้เอาไปกินข้าวให้อร่อยทุกคาบ พี่ก็ไปซื้อกินของลำๆ อร่อยๆ ทุกคาบ” “โอ ของน้องยังมีอยู่อย่างเก่า น้องก็กินลำอร่อยทุกคาบเหมือนกัน” ทีนี้มันก็อยู่กับน้องไปทำนา ทุกวันสายๆ มาก็อยากกินข้าว น้องก็ไม่ให้กิน จนว่ามันใคร่อยากกินข้าวสุดๆ ก่อน พี่มันก็ว่าใคร่อยากกินข้าว “โห ยังก่อน ขอให้มันสายกว่านี้ซักหน่อย มันจะได้กินอร่อย” สายแก่ๆ ก็ออกจากทุ่งมา มิหนำซ้ำ พากันมานึ่งข้าวเสาะหาผักไม้มากิน พี่มันอยากข้าวจนพอหน้าเหลืองซีด ทีนี้ทำกับข้าวเสร็จสรรพหมดแล้วก็พากันกิน กินข้าวได้มากกินข้าวอิ่มแล้วก็ถามพี่มันว่า “อร่อยไหม?” “อร่อยมาก” “อันนี้นะพ่อเราตายสั่งไว้บอกว่าให้กินข้าวอร่อยทุกคาบ เงินนี้นะพ่อเอาให้เรามา มาทำมาคิดสร้างเอามาให้ก้าวหน้า อันนี้พี่เอาไปกินลำอร่อยทุกคาบมันไม่ก้าว หน้า มิหนำซ้ำเงินก็หมด“ ต่อนั้นมา พี่ก็ทำวิธีแบบเดียวกัน ก็เลยร่ำรวยขึ้นมา

คนขี้ลืม

นิทานคติ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมีชายคนหนึ่งเป็นคนขี้ลืม และในวันหนึ่งชายคนนั้นได้ไปขอลาพ่อลาแม่จะไปเที่ยวป่า และชายคนนี้ก็เอาถุงย่ามใส่ข้าวห่อไป เดินเข้าป่าไป ไปเจอต้นมะม่วงกำลังสุก ก็เลยเก็บมะม่วงใส่ถุงย่ามไปประมาณ 8-9 ลูก พอเดินไปเรื่อยๆ ๆ ก็ไป เจอพระฤาษี ก็เลยเอามะม่วงไปถวายพระฤาษี พระฤาษีก็เอาธนูกับลูกสามดอก แล้วบอกชายคนนั้นว่า “ถ้ายิงขึ้นไปบนฟ้า อธิษฐานว่าจะเอาอะไร ก็ได้สมดังปรารถนา “ ชายผู้นั้นก็เดินจากไป แต่พอถึงต้นมะม่วงที่เขาเก็บทีแรก พอไปเห็นชาวบ้านเก็บมะม่วงที่ต่ำ ๆ ไปหมด ทีนี้ก็นึกถึงถุงย่ามที่เขาเอาไปด้วยที่เขาลืมไว้ที่พระฤาษีจำศีล ก็นึกอยากกินมะม่วงๆ ก็อยู่สูง จะเก็บก็เก็บไม่ถึง เลยเอาลูกธนูยิงขึ้นไป แต่ยิงอย่างไรก็ไม่ถูกสักที ก็ โมโหขึ้นมาก็เลยกล่าวขึ้นว่า “ฮูขี้นี่“ สิ้นเสียง ทั้งเนื้อทั้งตัวก็มีแต่รูก้นเต็มไปหมด ตั้งแต่หัวจรดเท้า ก็นึกได้ถึงคำของพระฤาษีขึ้นมาได้ ก็เลยยิงลูกธนูไปอีกลูกแล้วกล่าว “เอาฮูขี้พวกนี้หายไปให้หมด“ สิ้นเสียง รูก้นทั้งหมดก็หายไป แม้แต่ของเดิมของตัวเองก็ไม่มี เหลือลูกธนูลูกสุดท้ายก็เลยยิงขึ้นฟ้าแล้วตะโกนไปว่า “เอาฮูขี้ของข้าอันเดียวเน้อ“ ก็เลยได้รูก้นของตนเองคืนมา แต่เขาก็ต้องกลับบ้านมือเปล่า ไม่ได้อะไรติดตัวไปเลย

คนฉลาด 2

นิทานคติ
นานมาแล้วมีสามคนพ่อแม่และลูกสาวอยู่ด้วยกัน ตามปกตินั้นคนเฒ่าผู้ชายรู้สึกว่าตนเองนั้นฉลาดกว่าลูกเมีย จะพูดอะไรก็ถูกต้อง ลูกเมียก็ก็เออออห่อหมกอยู่ด้วยกันเรื่อยๆ ปกติชายคนนี้เป็นคนชาวไร่ชาวนา ไถนาทำนาอยู่ตลอดลุกขึ้นมาก็ไปไถนา เอาควายไปด้วย ถ้าไถนาเสร็จแล้วปลดแอกปลดไถเสร็จแล้วกินข้าวกินน้ำเสร็จแล้วก็อยู่เฉยๆ ป้านคันนา บ้าง ดูน้ำเข้านาบ้างปลูกผักปลูกไม้ ค่ำเมื่อใดก็เข้าบ้าน ชายคนนี้ก็ทำอย่างนี้มาตลอด ครั้งหนึ่งลุกมาก็ไปไถนา เอาควายไปด้วยเอาแอกไปด้วย ถ้าว่าไถนาเสร็จแล้วปลดแอกปลดควายเสร็จแล้วลูกสาวก็ไปส่งข้าวให้ทุกวัน วันนั้นนางไปส่งข้าวเช้าไปหน่อย ไปนั่ง มองดูพ่อไถนายังไม่ปลดแอก ก็เลยไปนั่งอิงต้นไม้ อิงไปอิงมาก็หลับ งีบหลับไปปรากฏว่าฝันเห็นเรื่องแปลกประหลาด ฝันว่าตัวเองไปพบกับผู้ชายรูปงามคนหนึ่ง มีความพอใจซึ่งกัน ก็เลยไปบอกให้แม่ แม่ก็เห็นดีด้วย พ่อก็เห็นดีด้วย จึงแต่งงานกัน แต่งงานอยู่กินด้วยกันสองคนมีความสุขมาก รักกันอยู่กันมาก็ท้อง แล้วคลอดลูกออกมาอายุได้เดือนกว่าๆ ลูกก็ไม่สบายเลยตายไป พอฝันว่าลูกตายก็เสียใจร้องไห้มากนัก พอฝันถึงเท่านี้ก็สะดุ้งตื่น พอรู้สึกตัวก็มาสายไปแล้ว เลยไม่ได้ไปหาพ่อ มัวแต่คิดถึงลูกตนเองในความฝัน ก็หิ้วปิ่นโตเข้าบ้านร้องไห้กระซิกๆ อยู่นั่น แม่เห็นเข้าก็เลยถามความจากลูกสาว “ลูก ร้องไห้อะไร มีเรื่องราวอะไรบอกให้แม่ซิ” พอแม่ถามเรื่อยๆ ลูกก็เลยเล่าความฝันให้แม่ฟัง แม่มันได้ฟังเรื่องฝันเข้าก็ร้องไห้ตามด้วยความสงสารหลานในฝัน ก็ตัดพ้อลูกสาวว่า “ทำไมมึงทำอย่างนั้น มึงทำไมไม่เลี้ยงมันดีๆ ถ้าไม่งั้นแม่คงจะได้อุ้มหลานแล้ว” แล้วก็ร้องไห้กันสองคนไปมา ส่วนพ่อก็รอกินข้าว เมื่อไหร่ลูกจะมาซักที ทุกทีป่านนี้ก็มาแล้ว สายเข้าๆ ก็เลยทนไม่ไหว ทิ้งควายทิ้งแอกทิ้งไถเข้าบ้านมา เห็นสองแม่ลูกนั่ง ร้องไห้สองคน ก็เลยถามได้ใจความว่าร้องไห้เสียดายลูกก็เลยด่าทั้งสอง “ข้าบอกนานแล้วว่าสูทั้งสองคนนั้นโง่ทั้งแม่ทั้งลูก ข้าอยู่ต่อไปไม่ได้แล้วถ้าอยู่กับคนโง่ สูอยู่คนเดียวสูเถอะข้าไปละ” ว่าแล้วก็ห่อผ้าห่อหนึ่งออกจากบ้านไปหลายที่หลายทางไปพบคนประมาณยี่สิบคน พากันนั่งร้องไห้อึกๆ อักๆ ก็เลยเข้าไปถาม “สูร้องไห้ทำไม” “โอ ข้าเขามาสร้างเรือนเสามีทั้งหมดสิบแปดต้น แต่ต้นนี้มันสั้นกว่าเสาอื่น เอามีดพกแทงทำรูเอาเชือกมัดจะดึงให้มันยาวออก แต่มันไม่ยาวออก จะดึงให้มันยาวออกเท่าต้นอื่นก็ทำไม่ได้” “สูทำไมโง่กันอย่างนี้ คนตั้งยี่สิบคนจะให้มันยาวออกได้ยังไง ถ้าอยากให้มันยาวสูก็ตัดต้นไม่ที่ขนาดเท่ากันมาต่อสิ ยาวเท่าไหร่ก็ได้” ผู้ชายคนนั้นก็เลยช่วยเอาไม้มาตัดต่อยาวเท่ากัน แล้วก็ออกเดินทางไปพบบ้านหลังหนึ่ง ผัวเมียกำลังขึ้นหลังคาเอาใบตองออก ก็เข้าไปถามว่า “สูทำอะไรนะ” “ข้าจะตากผ้า เอาไว้ในเรือนนี้แดดมันไม่ส่อง ก็เลยจะรื้อหลังคานี้ให้แดดมันส่อง” ชายชราได้ยินดังนั้นก็ถอนใจแล้วบ่นว่า “สูนี่โง่ หากฝนตกมาไม่ยิ่งแย่กว่าเก่าหรือ ทำไมสูไม่เอาผ้ามาตากข้างนอกเมื่อแห้งก็เก็บเข้าสิ” สองผัวเมียก็พากันทำตาม แล้วก็เดินทางต่อไป ไปพบผู้ชายคนหนึ่งนั่งเฝ้าหลุม ร้องไห้สะอึกสะอื้น ก็เลยเข้าไปถาม “สูมาทำอะไรถึงมานั่งเฝ้าหลุมนี้ “ “โอ ข้ามาลักเกลือเขา คิดจะเอาซักกำมือเดียวเท่านั้น แต่พอกำแล้วข้าก็เอามือออกปากโอ่งไม่ได้” ชายคนนั้นก็บอกว่า “สูนี่โง่จริงๆ ปากโอ่งมันเล็กกว่ากำปั้นจะเอามือออกได้อย่างไร ทำไมไม่เทลงแล้วเอาละ” บอกแล้วผู้ชายคนนั้นก็เอาเกลือออกมาได้ ชายผู้ที่ออกบ้านมาก็มาคิดได้ว่า “ทั่วบ้านทั่วเมืองเรานี้ไม่ใช่มีแต่ลูกเราเมียเราที่โง่นี่นา คนโง่มีเยอะแยะมาก มาย สองสามคนที่ผ่านมานี้มันก็โง่ คนเราก็ใช่ว่าจะฉลาดเสียทุกคน เดินไปเดินมากูนี่ก็โง่เหมือน กัน เสียเวลามาตั้งนาน แทนที่จะเอาเวลาไปทำไร่ไถนา กลับเสียเวลามาเดินขึ้นๆ ล่องๆ ไม่ได้ประโยชน์อะไรซักอย่าง” คิดได้อย่างนี้แล้วก็เลยกลับบ้านมาอยู่กับลูกเมียเหมือนเดิม แล้วพยายามสั่งสอนให้ลูกเมียฉลาดขึ้น ตั้งแต่นั้นก็อยู่กันสบายใจ ช่วยกันทำมาหากินจนร่ำรวย

คนฉลาด ๑

นิทานคติ
กาลครั้งหนึ่ง มีผู้ชายคนหนึ่งมีลูกชายสองคน ส่วนเมียของตนนั้นตายตั้งแต่ลูกยังเล็กแล้ว เมื่อลูกๆ ทั้งสองเติบโตขึ้นมา พ่อก็ว่า “เออ ไอ่หน้อย จะทำยังไงดี พวกเจ้าก็โตขนาดนี้แล้ว พ่อก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ไร่นาก็ไม่มี จะไปหากินยังไงกัน “ ลูกคนโตมันก็ว่า “พ่อก็ไปสอนให้เราหากินสิ พ่อ“ ผู้เป็นพ่อก็เลยพาลูกชายสองคนเดินไปตามบ้านเรือน เพื่อจะได้สอนวิชาความรู้รอบตัวให้กับลูกทั้งสอง พอเดินๆ ไปถึงกลางทาง ก็ไปเจอห่าน ลูกชายก็ถามว่า “พ่อ ตัวนี้มันเป็นตัวอะไรน่ะ” “ห่าน คอมันยาว มันร้องดัง” ลูกชายคนโตก็เถียงพ่อโดยบอกน้องชายว่า “อย่าไปฟังที่พ่อพูดเลย อึ่งคอมันสั้น ยังร้องดังกว่าห่านเสียอีก “ พ่อมันก็พาไปอีก ไปเจอไร่อ้อยที่เขาปลูกไว้ ลูกชายคนเล็กก็ถามว่า “นี่อะไรน่ะ พ่อ “ “อ้อย พ่อว่าจะหามาปลูกให้ลูกอยู่ “ ลูกชายคนโตก็ถามว่า “ปลูกยังไงเหรอ พ่อ“ พ่อก็ตอบว่า “เขาปลูกเขาต้องรดน้ำทุกวัน ๆ มันยาวเร็ว กินก็หวาน มันใหญ่เร็ว “ ลูกชายคนโตที่อวดฉลาดก็เถียงอีกว่า “ไม่จริงหรอกพ่อ ขนตาข้าล้างทุกวัน มันยังไม่เห็นยาวเลย“ พอเดินๆ ไปอีก ก็ไปเหยียบหนามคา ลูกชายคนเล็กก็ถามพ่อว่า “นี่มันอะไร พ่อ ทำไมเจ็บจัง“ พ่อก็ตอบว่า “มันเป็นหนามคา มันแหลม มันเลยแทงดินออกมา “ ลูกชายคนโตได้ยินก็บอกน้องชายไปว่า “แกอย่าไปเชื่อพ่อ เห็ดไม่แหลมยังแทงดินออกมาได้ “ ผู้เป็นพ่อถูกขัดคอหลายครั้งเข้าก็โมโห เลยไล่ลูกชายไปให้พ้นๆ หน้าเสีย

คนปากบอน

นิทานคติ
กาลครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว มีครอบครัวหนึ่งมีลูกสาวสี่คน ลูกสาวทั้งสี่นั้นก็มีความงามน่ารักทุกคน แต่มีความประพฤติไม่เหมือนกัน คนที่ ๑ จิตใจชอบเจ้าชู้ เปลี่ยนเครื่องผ้าเสื้อบ่อยๆ คนที่ ๒ ชอบลักขโมยของๆ ผู้อื่น คนที่ ๓ ชอบจู้จี้จุกจิก คนที่ ๔ ปากบอน ชอบ นินทาคนอื่น ลูกสาวทั้งสี่คนนี้ยิ่งโตขึ้น นิสัยเสียต่างๆ ก็มากขึ้นจนพ่อแม่ทนไม่ได้ จึงไล่ให้ออกไปจากบ้าน ลูกสาวคนแรกนั้นซึ่งมีความงดงามมากนั้นได้พบนายสำเภาลำใหญ่มีข้าวของ มากมาย นายสำเภาคนนั้นก็เลยพานางไปเป็นเมีย คนที่ ๒ ๓ และ ๔ ก็ได้นายสำเภาเป็น สามีเช่นกัน แต่คนที่ ๔ นั้นมันชอบนินทา ยุแยงให้คนอื่นทะเลาะกันอยู่เสมอ นายสำเภา เห็นนิสัยของผู้หญิงคนสุดท้องก็เลยให้เอานางไปลอยน้ำเสีย นางคนสุดท้ายลอยไปตามน้ำ ก็มีเหยี่ยวสองตัวบินวนไปมาเห็นนางมีความงามก็ลงมา ช่วยกันคาบขอนไม้ให้นางได้เกาะขึ้นฝั่ง เมื่อนางเกาะขอนไม้บินขึ้นมาบนอากาศแล้ว ขณะที่เหยี่ยวสองตัวช่วยกันคาบขอนไม้บินอยู่นั้น นางก็ยุแหย่ให้เหยี่ยวสองตัวผิดเถียงกัน พอเหยี่ยวอ้าปาก ขอนไม้ท่อนนั้นก็หล่นตกลงน้ำไป นางคนนั้นก็ไหลไปตามกระแสน้ำและ จมน้ำตายในที่สุด ต่อมาศพของนางลอยไปติดค้างที่เกาะทราย ร่างกายเน่าเปื่อยผุพังไปเหลือแต่หัวกะโหลก วันหนึ่งมีพระรูปหนึ่งลงไปยังเกาะทรายเพื่อจะล้างมือล้างเท้า ก็มองไปเห็นหัวกระโหลกนั้นยังมีผมติดอยู่บ้างก็เลยเก็บขึ้นมาพิจารณาสังขารและจะได้เอามาสวดแผ่เมตตาให้เจ้าของกระโหลกนั้นได้ไปผุดไปเกิดในที่ๆ ดี ก็เลยนำเอาหัวกระโหลกนางนั้นไปไว้ ตรงหน้าพระประธาน เมื่อพระสงฆ์ในวัดไปสวดแผ่เมตตา ก็สวดไม่เข้ากัน ทะเลาะผิดเถียงกันวุ่นวาย สุดท้ายก็เลยเอากระโหลกนั้นไปทิ้งเสียที่ป่าช้า นิสัยของคนปากบอน ปากเสียนั้น แม้ตายไปแล้วก็ยังทิ้งพิษสงให้คนข้างหลังต้องเดือดร้อนไม่หยุด

คนปากเสีย

นิทานคติ
กาลครั้งหนึ่ง มีผู้หญิงคนหนึ่งเป็นคนปากเสีย อยู่กับใครก็ไม่ได้เพราะปากเสีย ทำให้ทุกคนที่อยู่ใกล้เคียงเดือดร้อนไปหมด ผู้หญิงคนนี้เป็นแม่ม่าย สามีตายไปด้วยโรคหัวใจ เพราะเมียด่าทุกวันๆ นั่นเอง วันหนึ่ง มีประกาศจากเจ้าเมืองว่าต้องการแม่ครัวจึงหาคนที่ทำอาหารเก่งไปแข่งขันทำอาหาร จะได้ไปเป็นแม่ครัวอยู่ในวัง แม่ม่ายคนนี้ก็ทำอาหารเก่ง จึงไปแข่งขันด้วย และปรากฎว่าพระยาเจ้าเมืองติดใจในฝีมือทำอาหารของแม่ม่ายจึงรับไปเป็นแม่ครัว แต่พอเข้าไปทำงานในวังก็มีปัญหากับคนอื่นๆ เพราะความปากเสียของตัวเองนั่นเอง แต่คนงานคนอื่นๆ ก็ไม่กล้าไปบอกใคร เพราะพระยาเจ้าเมืองโปรดปรานฝีมือการทำอาหารของแม่ม่ายคนนี้ แม่ม่ายทำงานอยู่ในวังนานอยู่หลายเดือน พระยาเจ้าเมืองก็ป่วยเป็นโรคเหน็บชา หมอคนไหนหายามารักษาก็ไม่หาย จนได้หมอเฒ่าคนหนึ่งแนะนำว่า “พ่อพระยาเป็นเจ้า พ่อพระยาเป็นโรคเหน็บชา โรคนี้เขาว่าให้เอาแกลบมาแช่น้ำกินหรือไม่ก็เอามาปรุงอาหารเสวยสักเจ็ดแปดวัน อาการก็จะหายเจ้าข้า” พ่อพระยาก็หนักใจเพราะตนเองนั้นเป็นถึงพ่อเมืองจะให้มากินแกลบได้อย่างไร แต่ถ้าไม่ กิน อาการเจ็บป่วยก็จะไม่หาย ก็เลยเรียกแม่ม่ายซึ่งเป็นแม่ครัวในวังมาเข้าเฝ้าแล้วกระซิบ บอกว่า “นี่ แม่ครัว มึงน่ะไปเอาแกลบมาแอ็บ(ห่อหมก)ให้กูกินทีเถอะ กูเป็นโรคเหน็บชาหมอบอกว่าต้องกินแกลบถึงจะหาย แต่มึงห้ามไปบอกใครนะ อย่าให้ใครรู้เด็ดขาด กูเป็นถึงพระยา เจ้าเมือง ถ้าใครรู้เข้าก็จะว่าพระยาเจ้าเมืองเป็นหมู ศักดิ์ศรีความเป็นเจ้าเมืองของกูจะถดถอยไป คนก็จะดูถูกเอาได้ ถ้ามึงหลุดปากไปบอกใคร กูจะลงโทษให้หนัก” แม่ครัวปากเสียก็รับปากแล้วทำแอ็บแกลบ(ห่อหมกแกลบ)ให้พระยาเจ้าเมือง เสวยทุกวันๆ ได้เจ็ดวัน อาการของโรคเหน็บชาก็เบาบางลงและหายไปในที่สุด แต่แม่ครัวก็อึดอัดใจมาก เพราะมันเป็นคนปากเสีย อยากจะบอกใครก็ไม่ได้เพราะพ่อพระยาบอกว่าถ้าความรู้ถึงหู คนอื่นจะลงโทษให้หนัก วันหนึ่ง แม่ครัวก็มีโอกาสกลับไปเยี่ยมบ้านของตนที่บ้านนอก ระหว่างทางที่กลับบ้านก็หยุดพักใต้ต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง ด้วยความอึดอัดใจที่อยากจะพูดเรื่องพระยากินแกลบ ก็เลยไปพูดเรื่องพระยากินแกลบให้ต้นไม้ฟังว่า “พระยากินแกลบแอ๊บ พระยากินแกลบแอ๊บ” นางแม่ครัวพูดซ้ำๆ อย่างนั้นจนสาแก่ใจ แล้วก็กลับไปบ้านของตน พอกลับจาก บ้านมา ทำงานในวัง ต่อมาไม่นานกลองในวังนั้นผุพังไป พระยาเจ้าเมืองก็อยากจะได้กลองใบใหม่ก็ให้เสนาอำมาตย์ไปหาไม้ดีๆ มาขุดทำกลอง เหล่าเสนาก็ไปพบกับต้นไม้ต้นที่นางแม่ครัวมาระบายนั่นพอดี ก็ตัดไม้มาขุดทำเป็นกลอง พอหุ้มหนังกลองเสร็จ ก็ไปทูลเชิญพ่อพระยามาฟังเสียงกลองว่าจะถูกใจไหม พระยาเจ้าเมืองก็อนุญาตให้ตีกลอง พอตีลงไปกลองก็ร้องออกมาว่า “พระยากินแกลบแอ๊บๆๆๆ” พระยาเจ้าเมืองได้ยินดังนั้นก็โกรธมาก จึงเรียกนางแม่ครัวให้มาเข้าเฝ้าแล้วถามว่า “มึงไปเล่าให้ใครฟังบ้างว่ากูกินแกลบแอ๊บ” นางแม่ครัวก็ปฏิเสธ “ข้าเจ้าไม่ได้ไปเล่าให้ใครฟังเลยเจ้าข้า” “ถ้ามึงไม่ได้ไปเล่าให้ใครฟัง ทำไมตอนที่ตีกลองใบใหม่มันถึงร้องว่ากูกิบแกลบแอ๊บล่ะ” นางแม่ครัวก็เลยสารภาพปากคอสั่นว่าเคยไปพูดให้ต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งฟัง พระยาเจ้าเมืองโกรธมาก จึงสั่งให้ประหารนางแม่ครัวเสีย “มึงไม่ควรจะมีชีวิตอยู่ต่อไป ถ้ามึงยังอยู่เรื่องนี้ก็จะกระจายไปเรื่อยๆ ความไม่ดีไม่งามก็จะแพร่ออกไป ไม่เฉพาะเรื่องนี้ แต่คนปากเสียอย่างมึง ต่อไปก็คงจะสนส่อให้ใครต่อใครทะลาะกัน เรื่องไม่ดีไม่งามในบ้านเมืองก็จะแพร่หลายไปเต็มบ้านเต็มเมือง” นางแม่ครัวจึงถูกประหารตายไปเพราะความปากเสียของตน นิทานเรื่องนี้จึงเป็นคติเตือนใจว่า ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่างนำเข้า เพราะมันจะเผาผลาญให้เดือดร้อนวอดวายกันไปหมด

ควายตัวผู้มีลูก

นิทานคติ
มีแม่หม้ายคนหนึ่ง มีควายคู่แม่ลูก แม่ควายนั้นไปติดควายหนุ่มของผู้ใหญ่ บ้าน ผู้ใหญ่บ้านก็ว่าไม่เป็นไร ปล่อยมันอยู่กับควายหนุ่มนี่แหละ พอลูกควายของแม่หม้ายตาม มา แม่หม้ายจะไปเอาคืน ผู้ใหญ่บ้านไม่ให้ หาว่าเป็นลูกควายของตน แม่หม้ายก็ไปหาใครช่วย ใครๆ ก็ไม่ช่วยเพราะกลัวผู้ใหญ่บ้าน มีเด็กคนหนึ่งชื่อว่ามโหสถ รับอาสาช่วยแม่หม้าย แม่หม้ายก็ไปแจ้งความกับกำนัน ทางกำนันบอกให้หาทนายไป แม่หม้ายบอกว่ามีแล้ว จึงนัดกันไว้ว่าเวลาเก้าโมงเช้าของพรุ่งนี้ให้ไปเจอกันที่บ้านของกำนัน รุ่งขึ้น เวลาเก้าโมง แม่หม้ายกับผู้ใหญ่บ้านก็ไปถึงบ้านพ่อกำนัน แต่เด็กน้อยที่ชื่อมโหสถยังไปไม่ถึง พ่อกำนันจึงเรียกคนทั้งสองไปสอบสวน พร้อมกับทนายของผู้ใหญ่ บ้าน ทนายก็ยืนยันว่าเป็นลูกควายของผู้ใหญ่บ้านจริง ทนายของฝ่ายแม่หม้ายยังไม่มา กำนันกำลังจะตัดสินให้ผู้ใหญ่บ้านชนะ เด็กน้อยที่ชื่อมโหสถก็มาถึงพอดี แม่หม้ายตะโกนขึ้นด้วย ความดีใจว่า “มาแล้วเจ้า ทนายข้าเจ้ามาแล้ว” กำนันจึงถามว่า “อยู่ไหน เข้ามา ไอ้เด็กนี้เหรอจะเป็นทนาย” เด็กน้อยก็ตอบว่าใช่ กำนันจึงถามว่า “ทำไมเอ็งถึงมาสาย หา” เด็กน้อยตอบไปว่า “พ่อผมเจ็บท้องกำลังจะเกิดลูก “ กำนันจึงหัวเราะแล้วถามว่า “ไอ้เด็กโง่ มึงนี้โง่จริง ผู้ชายจะมีลูกได้ยังไง” เด็กน้อยจึงตอบสวนไปว่า “ก็กำนันบ้านนี้น่ะสิ โง่ ควายหนุ่มว่ามีลูกได้อย่างใด “ กำนันก็จำนนด้วยเหตุผล จึงตัดสินให้แม่หม้ายชนะความ แม่หม้ายจึงได้ลูกควายและแม่ควายคืน

ชื่อนั้นสำคัญไฉน

นิทานคติ
นานมาแล้ว ยังมีชายคนหนึ่งชื่อว่านายบาป เมื่ออายุได้สิบหกปีแล้วใครๆ ก็อยากจะรู้จัก เวลาใครถามว่าชื่ออะไร พอตอบว่าชื่อนายบาปก็นึกอายชื่อตัวเอง ก็โกรธว่าเกิดมาชาตินี้ก็ไม่เคยทำบาปอะไรเลยแต่ทำไมต้องได้ชื่อบาปด้วย วันหนึ่ง ได้โอกาสดีจึงเข้าไปหาครูบาเจ้า แล้วขอให้ครูบาเจ้าเปลี่ยนชื่อให้หน่อย เพราะชื่อเก่ามันไม่เพราะท่านครูบาเจ้าก็ได้บอกให้นายบาปว่า "ไม่ต้องเปลี่ยนแล้ว ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อนั้นขอให้ไปเที่ยวให้รอบบ้านรอบเมืองก่อนแล้วค่อยมาเปลี่ยนชื่อ" นายบาปได้ยินครูบาว่าอย่างนั้นก็ยกมือไหว้ขอลาครูบาเดินทางไปตามต่างบ้านต่างเมืองอย่างที่ครูบาได้ชี้บอกแนวทางไว้ วันหนึ่ง นายบาปเดินทางไปพบผู้หญิงคนหนึ่งเดินทางผ่านมา เสื้อผ้าอาภรณ์ก็เก่าขี้ริ้ว ถือขันเข้ามาหานายบาป แล้วก็ยื่นมือขอเงิน ส่วนนายบาปให้เงินไปแล้วก็ถามชื่อผู้หญิงคนนั้นว่าชื่ออะไร นางขอทานก็ยกมือไหว้นายบาปแล้วบอกว่า “ข้าชื่อนางสำรวย” นายบาปเดินทางไปอีกไม่ไกลเท่าใดนัก ก็ได้ไปพบนายคนหนึ่งนอนอยู่ข้างทางเพราะกิ่งไม้หล่นใส่ นายบาปก็วิ่งเข้าไปช่วย เอายาให้กิน พอฟื้นสติมาแล้วก็รู้ว่าชื่อนายบุญมี นายบาปเดินทางเที่ยวไปจนทั่วบ้านทั่วเมืองแล้ว ก็กลับไปหาครูบาเจ้า ท่านครูบาก็ถามนายบาปว่า “จะเปลี่ยนชื่ออยู่ไหม หรือว่าไม่เปลี่ยน” นายบาปก็ว่า “ไม่เปลี่ยนแล้วครับ ครูบา ชื่อว่าสำรวยก็ไม่เห็นรวย ยังขอทานอยู่ ชื่อว่าบุญมี ก็ไม่เห็นมีบุญอะไรกิ่งไม้ยังตกใส่หัวอยู่ ไม่เปลี่ยนมันละครับท่านครูบา”

ดวง

นิทานคติ
กาลครั้งหนึ่งมีสองสหายคบหาเป็นเพื่อนกันมานาน คนแรกเป็นคนรวย เป็นลูก เศรษฐี ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นทุกขตะหรือคนยากจน วันหนึ่งทั้งสองคนพากันไปดูดวง หมอดูทำนายไว้ว่า “เออ ไอ่คนแรกนี้ที่เป็นลูกเศรษฐีนี่ ต่อไปอนาคตข้างหน้าจะได้เป็นเศรษฐีเป็นมหาเศรษฐี จะร่ำจะรวย” เพื่อนคนรวยได้ยินก็ดีใจ พอมาถึงเพื่อนคนจน หมอดูก็ทำนายว่า “โอ คนนี้อนาคตต่อไปจะเป็นคนยากจน จะได้เป็นยาจกขอทาน” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เพื่อนคนรวยที่หมอดูทายว่าจะร่ำรวยเป็นเศรษฐีนั้นก็ไม่ทำการทำงาน เอาแต่กินๆ นอนๆ ไปเที่ยวโน่นเที่ยวนี่ นอนรอดวงที่จะได้เป็นเศรษฐี ทำอย่างนี้ทุกวันๆ เงินที่มีอยู่ก็ร่อยรอยหมดไปทีละนิดละน้อย และหมดไปในที่สุดจนต้องออกไปขอทาน ส่วนคนที่ยากจนนั้น เมื่อได้ฟังที่หมอดูทำนายว่าตนเองจะต้องเป็นขอทานในอนาคต ก็คิดมุมานะตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากิน เก็บเล็กผสมน้อย ได้เงินมาก็เก็บหอมรอมริบไปเรื่อยๆ จนเงินน้อยจากที่มีน้อยก็มีมากและกลายเป็นเศรษฐีไปในที่สุด นิทานเรื่องนี้จึงสอนว่า เกิดเป็นคนนั้นไม่ควรจะหวังพึ่งแต่ดวงชะตา แต่ต้องลงมือทำด้วย ชีวิตจึงจะประสบความสำเร็จ

ดาบกายสิทธิ์

นิทานคติ
มีชายทุคตะคนหนึ่ง อยู่ปัญจอาณาเขต ก็คือชนบท บ้านนอกเรานี่แหละ อยู่บ้านก็ขุดดินกินจ้างอยู่ทุกวัน ค้าขายก็ไม่เป็น ขุดบ่อบ้าง ทำนาย้าง ขุดหัวไม้บ้าง ว่างๆ ก็ไปขุดแมงมันขายมีอยู่วันหนึ่ง จะเป็นวันดียามดีอย่างไรไม่รู้ ขุดแมงมันขุดไปขุดมาก็ไปพบดาบเล่ม หนึ่ง มันก็เอามือชุบน้ำลายขัดดู ก็เหลืองอร่ามออกมา "ดาบฝักคำนะเนี่ย ถอดดูหน่อยซิ" ถอดออกมาขาวใสมาก ก็เอาซุกไว้ที่เดิม “อันนี้กูจะเอามาไว้ไม่ได้ มันเป็นของพระยาเจ้าเมือง” พอเข้าไปในเมืองก็บอกให้เสนาถึงเรื่องราวที่มันเจอ เสนาก็พาเข้าไปในวัง เสนาก็สั่งว่า “อย่างเราเข้าไปหาพระยาเจ้าเมือง เข้าไปให้ว่าไหว้สามหาราชเจ้า ข้าเจ้าไปขุดแมงมันที่สันแห่งหนึ่งก็ไปได้ดาบนี้มา” มันก็เข้าไปพูดอย่างที่เสนาบอก พระเจ้าแผ่นดินก็ว่า “ดูหน่อย ดาบอะไรของมึง “ “ดาบอะไรก็ไม่รู้ข้าเจ้าดูเหมือนจะดี” แล้วมันก็ชูให้พระยาเจ้าเมืองดู “โหะ ดาบอย่างนี้เอามาให้กูทำไม ดาบของกูยังดีกว่านี้ตั้งมากมาย“ พร้อมกับยกดาบขึ้น ไอ้ทุคตะคิดว่าพระยาเจ้าเมืองจะฟันมัน ก็เลยวิ่งลากดาบลงบันใดไป แต่ว่าพอหันมาอีกที ก็เห็นพื้นวังเป็นร่องตามดาบที่มันลากมา พระยาเจ้าเมืองเห็นดังนั้นก็ว่า “อ้าว… นี่ไม่ใช่อย่างกูคิดแล้วนี่ เป็นดาบกายสิทธิ์นะเนี่ย ขนาดมันลากทั้งฝักดาบ แผ่นไม้ปราสาทราชวังของกูนี้เป็นรอยไปหมด ซี่บันไดก็หักหมด” พระยาเจ้าเองเลยสั่งให้เสนาอามาตย์ไล่จับตัวมา อย่าฆ่ามัน จับเอามันมาให้ได้ ชายทุคตะก็ไม่รู้ ตำรวจทหารไล่ติดตาม มันก็วิ่งเพราะคิดว่าพระยาเจ้าเมืองสั่งฆ่า มันก็วิ่งไป จนถึงหนองแห่งหนึ่ง หนองนั้นลึกพันวากว้างพันวา มันก็กระโดลงไปว่ายซ้ายว่ายขวา แต่ก็ลำบากเพราะมีดาบติดมาและว่ายไม่สะดวก มันก็เอาดาบที่สะพายมาขว้างทิ้งเสีย ตำรวจทหารล้อมหนองนั้นหมด และจับมันได้ มันก็กลัวสุดขีดตัวสั่นไปหมดทั้งตำรวจทหารต่างก็ค้นหาดาบ “ไหน ดาบมึง ๆ เอาไปไว้ที่ไหน” “โอ ก็อยู่ในหนองนู้นนะสิ” “มึงเอาทิ้งไปทำไม” “ก็ไม่รู้ นึกว่าท่านว่าไล่ฆ่า ดาบก็ตกในหนองนะสิ” หมู่เสนาอามตย์ก็พามันไปหาพระยาเจ้าเมือง เจ้าเมืองก็ถาม “มึงเอาทิ้งลงที่ไหนในหนองนั้นใช่ไหม ไม่เป็นไร ข้าจะให้บ่าวไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั้งหมด ติดถังน้ำคนละใบๆ ให้วิดน้ำในหนอง” เจ้าเมืองก็สั่งให้วิดน้ำออกหนองได้เจ็ดปี เจ็ดเดือน เจ็ดวันก็ไม่แห้ง หนองนั้นลึกพันวากว้างพันวาจะทำยังไงให้มันแห้ง ก็ไปเอาหมอโหรามาถามว่า “หมอโหรา เราจะทำยังไงให้หนองน้ำนี้แห้ง” “เราจะมาวิดด้วยกำลังคนก็ดี กำลังอย่างอื่นก็ดีมันไม่มีทางแห้ง ถ้าจะให้มันแห้ง ไปจ้างผัวเมียที่มันทะเลาะกันทุกวัน เอามาเสียเจ็ดหลังคาเรือนเอามาอยู่รอบหนองนั้น ให้ มหาราชเจ้าเอาคำไปบอกเขาเถอะ มันก็จะทะเลาะกันทุกวัน ไม่เกินเจ็ดวัน ถ้าหากว่าน้ำไม่แห้ง ข้าบาทของเอาหัวเป็นประกัน” พระเจ้าแผ่นดินก็ตีฆ้องร้องป่าวสั่งหัวหน้าชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน สั่งกำนัน สั่งนายอำเภอไป “บ้านใดครอบครัวใดที่มันทะเลาะผิดกันเถียงกันทุกวัน ให้มันไปอยู่รอบหนองนั้นกูจะเอาเงินเดือนให้” ผู้ใหญ่บ้านกำนันก็คัดเอาลูกบ้านที่ทะเลาะกันบ่อยๆ เอาไปอยู่รอบหนองนานได้เจ็ดวัน หนองนั้นแห้งเขินดินเขินทรายก็ได้ดาบผักคำออกมา พระเจ้าแผ่นดินก็ได้ดาบสมใจ บ้านที่คนทะเลาะกันนั้น พระยาเจ้าเมืองก็เอามาประชุมหมดแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านบ้านขึ้นเป็นหัวหน้าชี้แจงให้ฟัง ว่าหนองนี้ลึกพันวากว้างพันวา ชายทุคตะเอาดาบมาตกที่ในนี้ เจ้า เมืองเอาคนทั้งเมืองมาวิดน้ำออกได้เจ็ดปีเจ็ดเดือนเจ็ดวันหนองก็ไม่แห้ง แล้วเอาครอบครัวที่ทะเลาะกันเนี่ยมาอยู่รอบ เพียงเจ็ดวันน้ำก็แห้ง นี่ถ้าผัวเมียที่ทะเลาะกันทุกค่ำเช้า ทำอะไรก็ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะมันร้อนมันไหม้ เหมือนดั่งหนองน้ำนี่แหละลึกพันวากว้างพันวา เอาคนที่ผิดเถียงกันมาอยู่รอบเพียงเจ็ดวันเท่านั้นหนองนี้ก็แห้งและได้ดาบวิเศษมา นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การที่จะอยู่ด้วยกันนั้นต้องมีความเข้าใจกัน ต้องมีความอดทน ถ้าเกิดไม่มีความอดทนนั้นก็จะทำให้ครอบครัวไม่มีความสุข หรือทำอะไรก็ไม่สำเร็จ เพราะมัวแต่ทะเลาะกัน และก็ต้องหย่าร้างหรือว่าแยกกันอยู่

บุญเกิดจากจิตใจบริสุทธิ์

นิทานคติ
ในเมืองสาวัตถี มีทุคตะสองคนผัวเมีย มีอาชีพหาของป่ามาขาย มีในวันหนึ่ง พระพุทธองค์จะมาเทศนาสั่งสอนคนในเมืองสาวัตถี แล้วก็สองคนผัวเมียนี้มีผ้าสไบผืนเดียว ถ้าว่าเมียมันจะไปกาดนั้นก็ให้เมียมันนุ่งไปเสีย ถ้าว่าผัวมันจะไปก็ให้ผัวมันนุ่งไป สองผัวเมียมีผ้าผืนเดียวเท่านั้น คราวนี้ผัวมันไปฟังพระพุทธเจ้าเทศนาธรรมเมืองสาวัตถี มันก็เห็นพวกเศรษฐีถวายเงิน ถวายคำถวายผ้า ถวายเสื้อ ส่วนมันไม่มีอะไรมันเป็นคนทุกข์ไร้คิดไปคิดมา “เอ กูจะเอาผ้าผืนนี้ทานหื้อเปิ้นเนอ วันพูกเมียกูก็จะไปกาด เมียกูจะบ่ได้นุ่งเสื้อแหมแล้ว“ ทีนี้มันก็กลับมาคุยกับเมียมัน เมียมันไปฟังพระพุทธองค์สั่งสอนอีก ฟังแล้วกลับมาคุยผัวมันอีก “เราจะถวายทานอย่างไร เงินเราก็ไม่มี ผ้าเราก็มีผืนเดียว” “ให้เธออยู่บ้านเสีย คืนนี้ข้าจะไปคนเดียว ผู้หญิงมันไปยาก” ฝ่ายชายผู้เป็นผัวเมื่อไปฟังพระพุทธเจ้าเทศนาธรรมในเมืองสาวัตถี มันก็เกิด ปิติตามมา “เอ กูจะเอาผ้าผืนนี้ทานเสีย กูจะตัดสินใจถวายทานให้พระพุทธองค์ เอาไปทำผ้าเพดานกั้นบนหัวพระพุทธองค์ดีกว่า กูเกิดมาชาตินี้กูยากจน เพราะชาตินี้กูไม่ได้ทำบุญและชาติก่อนกูก็ไม่ได้ทำบุญทำทานไว้ กูไม่มีอะไรกูทุกข์ไร้ เขาร่ำรวยกันก็เพราะสร้างกองบุญไว้แต่ ชาติก่อน” มันก็ยกผ้านั้นขึ้นถวายทานเสีย ผ้าเก่าผ้าขี้เมี่ยงผ้าขี้ไคลผืนนั้นนั่นแหละ พระ พุทธเจ้าก็รับเอาผ้านั้นไว้ มันก็ไชโยโห่ร้องคนเดียวของมัน “ไชโยๆๆ ผมชนะแล้ว” คือมันชนะจิตมัน มันลบความตระหนี่ ทีนี้เศรษฐีคนหนึ่งได้ยินก็อยากรู้ว่ามันชนะอะไรจึงถามไปว่า “เอ… ไอ้ทุคตะนั้นมันชนะอะไร เรียกมันมาหน่อยซิ” แล้วคนใช้ก็เรียกไอ้ทุคตะนั้นมา “ที่มึงไชโยโห่ร้อง ว่ามึงชนะนั้นนะ มึงชนะอะไร” “เออ… ผมไม่ชนะอะไร ผมชนะความตระหนี่ของผม บริจาคผ้าผืนนี้หละ เมียผมจะไปกาดก็นุ่งผ้าผืนนี้หละ ผมจะไปกาดก็นุ่งผ้าผืนนี้หละ มันมีผืนเดียวเท่านั้นแหละ เลยสละ จิตเอาไปบริจาคเสีย “ พระพุทธองค์ก็บอกมหาเศรษฐีให้เอาผ้ามาให้ทุคตะอีกสามสิบสองผืน มาให้ทานมัน มันก็ไม่รับ มันเอาให้เมียมันเสียคู่หนึ่ง มันเอาเสียคู่หนึ่ง นอกนั้นมันเอาทำผ้าเพดานกั้นบนหัวให้พระพุทธเจ้าจนหมด นิทานเรื่องนี้จึงสอนให้รู้ว่าการทำบุญทำทานนั้นไม่ว่าจะทำมากหรือน้อย แต่ถ้ามีใจบริสุทธิ์ มันก็ได้กุศลเหมือนกัน

ผัวแก้วเมียเทพ

นิทานคติ
ยังมีครอบครัวหนึ่ง มีลูกชายอยู่คนหนึ่งชื่อว่าปัญญา พอเจริญเติบใหญ่ขึ้นมาแล้วก็อายุได้ ๑๘ ปีเต็ม ใจอยากใคร่ได้คู่สร้างคู่สม อยู่มาวันหนึ่งก็เอ่ยปากต่อพ่อแม่ผู้บังเกิดเกล้า อยากใคร่มีครอบครัวสักคนหนึ่งกับเขา พ่อแม่ก็ยินยอมหื้อลูกเป็นอันมาก อยากใคร่ได้หญิงสาวอย่างใด พ่อก็จะหามาหื้อ ลูกก็บอกว่า “พ่อแม่บ่ต้อง ผมจะไปเซาะค้นหาเอง ผมอยากใคร่ได้ญิงอย่างนี้ครับพ่อแม่ คือว่าหุงข้าว ๗ วันบ่บูดบ่เบี้ยวนั้นแล” ส่วนนางสาวกัลยา เป็นลูกสาวของอีกครอบครัวหนึ่ง พ่อแม่ดีก็จะหาสามีหื้อ ส่วนนางสาวกัลนั้นก็ว่า “ข้าเจ้าจะไปเซาะหาคู่สร้างคู่สมคนเดียว จะหาเอง พ่อแม่บ่ต้องไปเซาะไปหาหื้อข้าเจ้าเลย ข้าเจ้าก็ใคร่ได้เนื้อคู่ดี สามารถทำตลาดรอบบ้านได้เป็นสามี” ต่อมา สองคนนี้ก็ได้เดินทางมาพบกัน ชายเจ้าปัญญาก็เดินตรงเข้าไปหา ก็ใช้กำปั้นลูกกุยหื้อนางสาวกัลยาดู แสดงว่า ถามว่านางมีคนรักแล้วหรือ นางก็ตอบว่าบ่มีเลย ปัญญาก็ตั้งหน้าทำการเป็นพ่อบ้านที่ดี มีหัตถกรรม การฝีมือ การช่างทุกชนิด พานิชกรรม การค้าการขาย กสิกรรม การปลูกเป็นการทำนาทำสวนครัว มีมะฟัก มะแตง มะเต้า กล้วยอ้อย หมากพลู ผักแคบ ข้าว พริก ถั่วลิสง เหล่านี้เป็นต้น ปัญญาได้ทำตลาดไว้รอบบ้านรอบรั้ว ได้เงินได้ทองมาบ่ขาดสักวันตามโอวาทข้อห้า ส่วนนางกัลยานั้น หน้าที่ของแม่บ้านก็คือจัดการหุงข้าวหุงแกงในครัวเรือน บ่บ่น บ่เดือด บ่แซ่ม บ่สวก ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ เจ็ดวันหุงข้าวบ่บูด บ่ใช่ข้าวบูด คือว่าหน้าตาของนางบ่บูดบ่เบี้ยวต่างหาก มีกิริยาอ่อนน้อมต่อสามี ตั้งอยู่ในโอวาทห้าข้อ เป็นภรรยาที่ดี

พญาหมาขี้เรื้อน

นิทานคติ
ยังมีหมาขี้เฮื้อนตัวนึ่ง แอ่วไปที่บ้านคนใดก็ชังขึ้นเฮือนก็บ่ได้ ไปก๋ายก็ “หมาขี้เฮื้อนมาหั้นละ” คนไล่บุบ หมาก็หนีเข้าไปป่าจะไปหื้อเสือกิน เสือก็ตึงบ่ากิน หมาขี้เฮื้อนออกจากคนไปก็เข้าป่าเข้าดงไป ไปปะใส่พระฤาษี มันมานอนที่พื้นอาศรมเปิ้นหั้นนะกะ เปิ้นก็เอาเข้าเอาหยังหื้อกิน โอ้ เอายาเข้าใส่หื้อเหีย หายไปดีก่านิ “หมาฮู้คำแท้เนอหมาตัวนี้ ฮื้อ ใคร่หื้อมันเป็นคนน้อ เอาหื้อมันเป็นคนเหียกำเต๊อะ” ก็เนรมิตหื้อเป็นคน หมาขี้เฮื้อนนั้นหนา เป็นคนมาก็..โถ...ปฏิบัติขัดสีพระฤาษีอยู่หั้นเนาะ “เออ ไอ่นี้มันก็ง่อมลู้ เซาะเมียหื้อมันเหียคนฮะ” ไอ่นั้นหลับละกะ เอาดูกขี้ข้างมาเหียซี่นึ่ง เอามาเป็นแม่ญิงเนรมิตแม่ญิงหื้อมัน อยู่กับกันไปพร้อม พระฤาษีก็เนรมิตบ้านหื้อมันที่นึ่ง มีบ้านมีจอง มีข้าคนมนตรี กำนั้นกะมีข้าคนมนตรี อยู่ทุกอย่าง บ่ได้ทุกข์ได้ฮ้อนหยังละ อันใดกะมั่งกะมีหมดละกอนไปแอ่วหาพระฤาษีกำใดก็ “เออ พญาหมาขี้เฮื้อนมาแอ่วโละนี่” มันฟังก็เคียดหื้อเปิ้น อั้น หมาขี้เฮื้อนนั่นหนา “เอ๊ กูนิ ถ้าพระฤาษีตายเหียท่าบ่ามีไผฮู้เรื่องกูน้าจำฆ่าเหียกำก่อนนิ” หมาขี้เฮื้อนตัวนั้นมันเป็นคนแล้วลู่ กำนั้นกะไปกะนิ ไปที่พระฤาษีกะนิ เอาลูกน้องปล้องปลายไปหมดเลาะนิ จะไปฆ่าพระฤาษี พระฤาษีหันก็ว่า “เฮ้อ ไอ้พญาหมาขี้เฮื้อน คิงจะมาฆ่ากูกะ” แล้วก็ถ่มน้ำลายใส่ มันกลายเป็นหมาขี้เฮื้อนอย่างเก่า

พ่อเป็นมหา

นิทานคติ
มีครอบครัวอยู่ครอบครัวหนึ่ง อยู่กินกันมีพ่อมีแม่มีลูกอีกสองคน เป็นลูกสาวคนหนึ่งลูกชายคนหนึ่ง ลูกชายค่อนข้างจะเป็นผู้ทันสมัยหน้อย กำลังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ส่วนลูกสาวนั้นกำลังเรียนอยู่ชั้นประถมปลาย พอจบก็อยู่บ้านกับพ่อกับแม่ ส่วนพ่อนั้นเคยบวชเรียนจนเป็นมหา พ่อเป็นคนสุขุมมีความรู้ทางด้านธรรมะ มีความรู้ทางโลก มีความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ คือความกรุณาต่อสัตว์ทั้งหลาย มีความวางเฉยสรุปแล้วหมายความว่ามีคุณธรรมในจิตใจ อยู่มาวันหนึ่ง ลูกชายไปเรียนที่มหาวิทยาลัย ก็ไปพบเพื่อนฝูงไปประสบกับโลกภายนอก เพื่อนฝูงก็ถามว่าที่บ้านเป็นหยั่งใด ครอบครัวเป็นหยั่งใด ส่วนเพื่อนนั้นเป็นลูกเศรษฐี เป็นลูกนายพลนายพัน เป็นลูกคุณหญิงคุณนาย มีเงินใช้กันอย่างเหลือเฟือ ส่วนครอบครัวของมหานั้นเล่าก็ไม่ถึงกับยากจน แต่ก็มีอันจะกินเป็นครอบครัวที่ใจบุญสุนทาน อยู่มาวันหนึ่ง ลูกชายเศรษฐีเกิดไปหลงระเริงไปคบเพื่อนเที่ยวเตร่กลางคืน ยิ่งยุคปัจจุบันมีลานสเก็ต มีดิสโก้เธค แต่พ่อก็ไม่ได้ห้ามปรามอะไรนัก เพียงแต่อบรมสั่งสอนว่าอะไรควรอะไรไม่ควร ไอ่ลูกคนโตซึ่งเรียนอยู่มหาวิทยาลัยหัวทันสมัยหน้อยก็ย้อนพ่อซึ่งเป็นมหาว่า “พ่อเป็นแค่มหาอะไรก็ไม่รู้ ความรู้ก็ต่ำ อย่ามาสั่งสอนเลย พวกเขาเรียนระดับมหาวิทยาลัย” ว่าอย่างนั้นพ่อก็ไม่ปริปากว่าอะไรทั้งนั้น พ่อก็อดทน อยู่มาวันหนึ่ง ลูกชายในครอบครัวบ้านมหาไปบ้านเพื่อนฝูงสองสามครอบครัว มีครอบครัวของเพื่อนครอบครัวหนึ่งพ่อทะเลาะกันเรื่องพ่อมีเมียน้อย พ่อเจ้าชู้ อีกครอบครัวหนึ่งแม่เล่นการพนัน เล่นไพ่ ถั่วโปไฮโลทุกสิ่งทุกอย่าง ครอบครัวไม่เป็นสุขแต่ละครอบครัวเป็นคุณหญิงคุณนายทั้งนั้น เขาเกิดคิดขึ้นมา “เอ้ ครอบครัวของคนอื่นที่มีเงินทองจับจ่ายใช้สอยมากมาย ขนาดมีเงินทองใช้จ่ายอย่างดีมันก็หาความสุขอันแท้จริงบ่ได้สู้ครอบครัวของเฮาเองบ่ได้ แม้พ่อจะเป็นมหาความสุขก็เกิดขึ้นได้” และแล้วอยู่มาวันหนึ่ง พ่อก็พาไปกราบหลวงปู่ ซึ่งพ่อของเขาเองเมื่อเป็นมหาเคยบวชอยู่วัดนั้น หลวงปู่ก็ได้อบรมสั่งสอน ธรรมจริยาต่างๆ จนเขาเกิดความเลื่อมใสในสัจธรรม จึงขอบวชในบวรพุทธศาสนา นิทานเรื่องนี้จึงสอนให้รู้ว่า อย่าดูหมิ่นคน อย่างปรามาสคน และก็ให้ศึกษาในสิ่งที่ควรศึกษาให้เข้าใจในสิ่งที่เข้าใจ อย่าหลงระเริงในลาภยศ หรือรูป รส กลิ่นเสียง

มูลละเหล้า

นิทานคติ
กาลครั้งหนึ่งมีเศรษฐีคนหนึ่ง มีครอบครัวแล้ว เศรษฐีผู้นั้นมีลูกผู้ชายคนหนึ่งมีนิสัยดื้อรั้น เกกมะเหรกเกเรเป็นที่รังเกียจของคนทั้งเมือง อยู่มาวันหนึ่งลูกชายเศรษฐีอยากได้เมียจึงขอให้เศรษฐีช่วยหาสาวให้ พ่อมันก็ไม่หา ขอแม่ให้หาสาวก็ไม่หาให้ ลูกชายเศรษฐีก็จึงเข้าป่าไม้ดงหนาป่าคาดงใหญ่ไปตามลำพัง ต่อมาไปเจอผู้หญิงคนหนึ่ง ลูกชายเศรษฐีอยาก ได้เป็นเมีย ฝ่ายผู้หญิงก็ถามว่า “พี่เป็นลูกใคร พ่อแม่พี่เป็นใครจ๊ะ” ลูกชายเศรษฐีก็ตอบว่า “พี่นี้เป็นลูกมหาเศรษฐี อยู่เมืองพาราณสี” ผู้หญิงผู้เป็นเมียก็คิดว่า “โอ ผู้ชายคนนี้คงเป็นเนื้อคู่ของเรา มรดกมันก็คงจะเยอะแยะเพราะเป็นถึงลูกเศรษฐี” นางก็ตกลงปลงใจไปอยู่กินเป็นผัวเมียกันกับลูกชายเศรษฐี จนมาถึงเดือนเมษายนซึ่งเป็น ช่วงปีใหม่ ลูกชายเศรษฐีก็มาคิดว่า “โอ้ ถึงปีใหม่แล้วเหรอนี่ ดีละ เราจะไปซื้อเสื้อผ้าซื้อของไปดำหัวพ่อแม่” ฝ่ายเมียนั้นก็จึงทำอาหาร ขนมข้าวต้มเสร็จสรรพ ก็ไปซื้อกางเกง ซื้อเสื้อ ซื้อผ้าขาวม้าจะไปดำหัวพ่อแม่ของสามีตน แล้วก็เดินทางกันไปสองคนผัวเมีย แต่พอมาถึงบ้านเศรษฐี จะมาสระเกล้าดำหัว แม่ของมันก็ไม่มองหน้า เพราะเจ็บใจที่มีลูกก็ไม่เชื่อฟัง เป็นคนเกเร พอมันพาเมียไปหาพ่อ ขอพ่อให้พร พ่อเศรษฐีก็ไม่ปริปากให้พร แม้แต่คำเดียว ทั้งสองผัวเมียจึงออกจากบ้านเศรษฐีมาด้วยเสียใจ เดินเข้าไปในป่า ไปพบ ต้นไม้ใหญ่ มีโพรงไม้ใหญ่อยู่ข้างใน ลูกชายเศรษฐีมันก็เข้าไปปวารณาขอสูมาพ่อแม่ที่โพรงไม้ใหญ่นั้น แล้วก็เอาอาหาร ขนมข้าวต้ม เสื้อผ้าไปไว้ในโพรงไม้นั้น พอถึงฤดูฝน ฝนก็ตกลงมาไปขังอยู่ในโพรงไม้ น้ำที่ตกลงมาก็ไปหมักขนมข้าว ต้ม ทั้งเสื้อ ซิ่นที่ลูกชายเศรษฐีเอาไปใส่ไว้ หมักนานจนกลายเป็นเหล้า ต่อมามีนายพรานคนหนึ่งเข้ามาในป่าไปหากวางหาเก้ง ก็เห็นว่าทั้งนกทั้งหนู เดี๋ยวๆ ก็บิน ลงมาในโพรงไม้นั้น ต่างแย่งกันบินขึ้นบินลง แล้วจิกตีกัน นายพรานก็คิดว่า นกพวกนี้มัน ยังไงกันนะ บินมาเกาะที่โพรงไม้ ประเดี๋ยวก็บินขึ้นไปตีกันดีดกันอยู่บนอากาศ กูจะลองไปดูสักทีสิ คิดดังนั้นแล้ว นายพรานก็ปีนขึ้นไปดูในโพรงไม้ก็เห็นมีน้ำขังอยู่ ก็คิดว่า พวกนกหนูที่บิน ขึ้นไปตีกันนั้นก็คงเพราะมากินน้ำนี้เป็นแน่ ว่าแล้วก็นายพรานก็ลองตักมาดื่ม พอดื่มได้ไม่เท่าไหร่ก็เมา ลืมลูกลืมเมียจนหมด พอดื่มจนเมาแล้ว นายพรานก็มาคิดว่า เอ...ถ้ากู กลับไปบ้านแล้ว กูจะรู้ได้ยังไงว่าโพรงไม้ต้นนี้ ก็จึงคิดเขียนเลขกำกับไว้มันจะได้จำได้ ต่อมาไม่นาน ลูกสาวเจ้าเมืองจะแต่งงาน จะจัดงานเลี้ยงกันแต่ไม่มีเหล้า เจ้าเมืองจึงเรียกนายพรานเข้ามาถามว่า “นายพราน สูรู้ไหมว่ามีเหล้าที่ไหนบ้าง ข้าจะจัดงานแต่งงานให้ลูกแต่ไม่มีเหล้า สูพอจะรู้ไหม” นายพรานก็รีบตอบว่า “โอ้ ผมรู้ครับ ผมจะไปเอาเหล้ามาให้” แล้วนายพรานก็เข้าป่าไปตักเอาเหล้ามาให้เจ้าเมือง พอเจ้าเมืองได้ชิมก็สนุกสนาน บอกว่าเหล้านี่มันอร่อยกว่ากินข้าวเสียอีก พอกินเหล้าไปมากๆ ก็สั่งให้คนใช้ไปฆ่าไก่มากิน แกล้มเหล้าจนไก่หมดทั้งเล้า คนใช้ก็มาบอกว่าไม่มีอะไรให้มากินแกล้มเหล้าแล้ว แต่เจ้าเมืองก็ไม่พอใจเพราะกำลังสนุก ขณะนั้นเอง ลูกคนเล็กของเจ้าเมืองอายุเพิ่งได้ 2-3 ขวบก็คลานออกมาจากห้อง เจ้าเมืองเห็นก็สั่งให้คนใช้เอาลูกคนเล็กนั้นไปฆ่ามาต้มกินกับเหล้า พอรุ่งเช้า เจ้าเมืองสร่างเมาถามหาลูกคนเล็กจ้าละหวั่น “ลูกข้าอยู่ไหน ลูกข้าอยู่ที่ไหน เจ้าเห็นไหม” คนใช้ก็ตอบว่า “ก็ท่านสั่งให้ข้าเอาไปฆ่าแล้วต้มกินกับเหล้าแล้วนี่ท่าน นี่ไง ข้ามีหลักฐาน” แล้วคนใช้ก็เอามือของลูกคนเล็กที่ตัดไว้มาให้เจ้าเมืองดู ฝ่ายเจ้าเมืองเห็นดังนั้นก็เสียใจจนสลบไป นี่คือโทษของเหล้าที่ไม่เคยให้ประโยชน์อะไรกับใครเลย เพราะถ้าไม่มีโทษกับคนอื่นๆ ก็ยังทำให้เกิดโทษกับตนเอง

ลูกพระยาเจ้าเมืองกับทุคตะ

นิทานคติ
ในสมัยก่อนนั้น มีลูกพระยาเจ้าเมืองกับทุคตะเป็นเพื่อนกัน เคยเล่นด้วยกัน ทีนี้ก็มีอยู่วันหนึ่ง ทั้งทุคตะกับลูกพระยาเจ้าเมืองก็ชวนกันไปใส่บ่วงเอาเก้งในป่า ส่วนลูกพระยาเจ้าเมืองนั้นเอาบ่วงไปใส่ไว้บนปลายต้นมะกอก ส่วนไอ้ทุคตะนั้นเอาใส่ใต้ต้นมะกอก ใส่ที่ทางเก้งเดินมาเป็นประจำนั้น ทุคตะก็บอกให้ลูกพระยาเจ้าเมืองว่า “ลงมาวางข้างล่างนี้สิท่าน” ลูกพระยาเจ้าเมืองก็บอกว่า “ใส่ข้างใต้ต้นมันจะได้อะไร เก้งมันจะมากินมะกอกมันต้องขึ้นมากินที่บนต้นนี่” ไอ้ทุคตะให้มาใส่บ่วงด้านล่าง ลูกเจ้าเมืองก็ไม่มา ส่วนเจ้าทุคตะใส่บ่วงด้านล่างวันรุ่งขึ้น เมื่อเช้ามา ลูกพระยาเจ้าเมืองก็แอบไปดูก่อน ไปดูบ่วงของเจ้าทุคตะเห็นว่าเก้งติดอยู่ มันก็ลักเอาเก้งที่ติดบ่วงเจ้าทุคตะขึ้นไปใส่บ่วงบนปลายต้นมะกอกนู่น อีกวันทั้งสองก็ไปดูบริเวณที่ตนทำกับดักไว้ว่าได้เก้งหรือไม่ลูกพระยาเจ้าเมืองได้ลักเก้งขึ้นห้อยบนปลายต้นมะกอกก่อนแล้ว ทุคตะก็บ่น “ดูรอยสิ เหมือนจะติดบ่วงข้างล่างนี้ รอยนี้มันดินอะไรกันนี่ มันน่าจะติดของข้านะเพราะว่าขนยังติดอยู่ที่บ่วงอยู่เลย” ลูกพระยาเจ้าเมืองก็มาผิดใจกับเจ้าทุคตะขึ้นมา หาว่าไอ่ทุคตะนั้นสบประมาทตัวเองพากันไปเอาความไปบอกให้กับพระยาเจ้าเมือง ลูกพระยาเจ้าเมืองก็ไปบอกให้พระยาเจ้าเมืองว่า ไอ้ทุคตะนั้นใส่ร้ายตน ใส่โทษตนว่าตนลักเก้งที่ติดบ่วงบนปลายต้นมะกอก ทีนี้พระยาเจ้าเมืองก็ผิดใจจะเอาไอ่ทุคตะนั้นไปฆ่าทำยังไงก็จะฆ่าให้ได้ ไอ้ทุคตะนั้นก็ร้องไห้หอนวอนทุกข์ เพราะว่าเป็นคนทุกข์คนจนไร้ญาติขาดมิตรพ่อแม่พี่น้องก็ไม่มี ร้องไห้อยู่ทั้งวันทั้งคืน เพราะว่าพระยาเจ้าเมืองตัดสินว่าจะฆ่า ในข้อหากล่าวโทษหาว่าลูกพระยาลักเก้งของไอ้ทุคตะ ทีนี้พระยาเจ้าเมืองนัดมันให้ไปหาทนายมาสู้กัน ให้ไปหาทนายสองวัน ถ้าวันมะรืนหาทนายมาไม่ได้จะฆ่า ทีนี้พระยาเจ้าเมืองก็ให้มันออกบ้านออกเมืองไปหาทนายมาสู้คดี เดินไปก็ร้องไห้ออกบ้านออกเมืองไป เข้าป่าเข้าเมืองไปตามภาษาทุคตะก็ไม่มีใครที่จะมาช่วยเหลือ ทีนี้พระยาอินทร์ก็จะมาให้ความช่วยเหลือ เพราะว่าพระยาอินทร์ร้อนที่นั่งก็เลยดูเล็งลงมาก็เห็น พระยาอินทร์ก็แปลงกายลงมาเป็นคนมาเกิดอยู่กลางป่า ทีนี้ทุคตะก็ร้องไห้ไปพบพระยาอินทร์แต่งตัวเป็นคนเฒ่าแก่ตัวดำ มอซอๆ พระยาอินทร์ก็ถามว่า “โอ ร้องไห้อะไรนักหนา” ทุคตะก็เล่าตั้งแต่ต้นถึงปลายให้ฟัง “พระยาเจ้าเมืองหื้อมาหาทนายมาสู้คดี ท่านจะฆ่าเรา ท่านว่าข้านี้กล่าวโทษใส่ลูกพระยาเจ้าเมืองว่าลักขโมยเก้งของตนเองนั้นเอาไป” แล้วพระยาอินทร์ก็ว่า “ไม่ยาก ลุงจะเป็นทนายให้” ทีนี้เจ้าทุคตะก็ไปบอกให้พระยาเจ้าเมืองนั้นว่า “ได้แล้วครับทนายผม” “เอ้า วันพรุ่งนี้ให้มึงพาทนายไปที่ศาล กูจะไปอยู่ที่นั่นรอ” ทีนี้พระยาเจ้าเมืองก็พาลูกไปอยู่ที่ศาลตัดสินรอ ที่นั่นทุคตะคนนั้นก็ไปตามที่นัดไว้แต่พระยาอินทร์ก็บอกกับเจ้าทุคตะคนนั้นว่า “น้องชาย ไปที่ศาลก่อนเลยนะ แล้วข้าจะตามไปทีหลัง” พระยาเจ้าเมืองก็รอเจ้าทุคตะ ส่วนเจ้าทุคตะก็รอทนายของตนจึงไม่อยากที่จะเข้าพบพระยาเจ้าเมือง จึงค่อยๆ เดินไป รอทนายไปด้วย เมื่อไปถึงศาลพระยาเจ้าเมืองก็ถาม “อยู่ไหน ทนายมึง” “เขาบอกให้ผมมาอยู่ที่นี่รอ แล้วแล้วจะตามมาครับ” “ ถ้าไม่มานะ กูจะฆ่ามึงวันนี้แหละ” ส่วนเจ้าทุคตะก็รอและกระวนกระวายใจเป็นอย่างมาก รอจนใกล้ที่จะกินข้าวเที่ยง พระยาอินทร์ที่ว่ามาแปลงเป็นทนายก็เข้าที่ศาลมา ส่วนพระยาเจ้าเมืองก็ถามว่า “มาแล้วหรือว่ายังไง ทำไมมาสายเรารอตั้งแต่เช้าแล้ว เราจะสู้คดีถ้าเกิดว่าเจ้าสู้ความไม่ได้เราจะฆ่าวันนี้ละ” ส่วนพระยาอินทร์ที่แปลงเป็นทนายก็ตอบว่า “ผมจะมาแต่ตะเช้าแล้วครับ แต่ตอนที่มานั้นได้ไปพบคนเขากำลังเอาช้างลงมาจากต้นตาลก็เลยช่วยเขาช้างขึ้นไปคลอดลูกบนปลายตาลตั้งสิบสองตัว ไม่รู้จะทำอย่างไรเขาวานให้ผมช่วยผมก็ช่วยเอาลงมา ผมเลยมาสายไปครับ” ส่วนพระยาเจ้าเมืองก็ไม่นึกถึงโทษของลูกตัว รีบพูดท้วงขึ้นมา “โคตรพ่อโคตรแม่มึงสิ ช้างเกิดลูกบนปลายตาล” พระยาอินทร์ที่แปลงเพศเป็นทนายก็ว่า “โคตรพ่อโคตรแม่มึงนะสิ เก้งถูกบ่วงปลายต้นมะกอก” ผลสุดท้ายไปสู้คดีกัน ทางพระยาเจ้าเมืองก็สู้ทนายทุคตะไม่ได้ก็เลยเลิกรากันไปเสีย นิทานเรื่องนี้ก็สอนให้รู้ว่า คนเราเห็นเป็นคนดีมีสินร่ำรวยแล้ว อย่าประมาทดูแคลน คนยากคนจน อย่าเห็นว่าเขาตกต่ำกว่าตัวก็ข่มเหงก็ขอให้คิดดูดีๆ ก่อน

ลูกสอนพ่อ

นิทานคติ
อันนี้พ่อมันเป็นขี้ยาแล้วก็ลูกมันจะสอนพ่อ สอนโดยตรงมันตึงบ่เชื่อ มันจะสอนว่า อี่พ่อจะไปกินมันตึงบ่ถูก พอมันสอนพ่อมัน พ่อมันก็ว่า “คิงบ่ต้องอวดรู้บ่า ฮาเลี้ยงคิงมานา คิงบ่ใช่เลี้ยงฮาใหญ่” มันก็เลยมาคิดว่า มันจะสอนพ่อทางตรงมันตึงบ่ถูก ทีนี้มันก็เลยเอาหม้อโอ่งมาแก่นหนึ่ง เอางัวหน้อยมาตังหนึ่ง แล้วปากหม้อโอ่งนั้นกับงัวหน้อยมันเข้ากันบ่ได้ ปากหม้อโอ่งมันหน้อย มันเอาน้ำใส่หม้อโอ่ง จูงงัวหน้อยลงกิน งัวมันตึงบ่าเข้าปากมันหน้อยมันก็จะเข้าหยั่งใด พ่อมันหัน พ่อมันก็ว่า “ก็คิงไปง่าวหยังแท้ คิงบ่ผ่อปากหม้อโอ่งกับปากงัว มันจะเข้ายะหยัง มันเป็นคนจาใดคิงน่ะ เลี้ยงข้าวเลี้ยงง่าว” มันก็บ่ว่าหยัง ตกวันพูกมาเอาแหมละ มันสอนพ่อมันตังอ้อม จูงงัวหน้อยเข้ากินแหม พ่อมันก็ว่า “เอ..กูหนะ นามีบ่รู้กี่ฮ่อม เข้าบ้องไม้รวกเท่าอี้ก็ได้ ช้างมีบ่รู้กี่ตัวมาเข้าฮ่อมไม้รวกเต้าอี้ก็เข้าได้” มันคิดทันลูกมันสอน มันก็เลยตัดยาตั้งแต่วันนั้นหละ

ลูกเฮงซวย

นิทานคติ
ลูกเฮงซวยนี่ก็คือลูกที่บ่ดี มีครอบครัอยู่ครอบครัวหนึ่งมีลูกตวยกันอยู่สามคน คนที่หนึ่งเก่งในด้านการเรียน คนที่สองเก่งในด้านกีฬา คนที่สามเป็นคนสุดท้องพอดี สามคนพี่น้องเป็นป้อจายหมด ลูกคนสุดท้องนี้รู้สึกว่าคบเพื่อเกเร ร้ายในเรื่องยาเสพติด การพนันสำมะเลเทเมา เยียะหื้อพ่อแม่ทุกข์อกทุกข์ใจเพราะอยู่บ้านนอกก็เลยส่งหื้อเข้าไปเรียนหนังสือในเมือง เรียนได้จ้าดหลายปี อ้ายคนเก๊าก็จบมาได้การได้งานจ้าดดี คนที่สองก็ได้การได้งานจ้าดดี ส่วนคนที่สามปรากฏว่าออกมาเตะฝุ่น จาใดถึงเตะฝุ่น ก็เพราะความประพฤติบ่ดี หนสุดท้ายก็ฆ่าตัวตาย เรื่องคนสุดท้องนี้ก็เป็นจะอี้ ตอนเข้าเรียนคบเพื่อนคบฝูง โก้หรูใหญ่โตถึงขั้นคบกันกับลูกผู้ว่าฯ ลูกปลัด ลูกนายอำเภอ บ่รู้ว่ากำพืดของตัวเองเป็นจาใด พ่อแม่ตากแดดหน้าดำอยู่กลางโต้งกลางนา เกี่ยวข้าวเอาไปขายหื้อเจ๊กในกาดเอาเงินส่งหื้อลูกเรียน ที่ไหนได้ลูกกลับไปติดยาเสพติด พอพ่อแม่รู้ก็ดึงตัวกลับมารักษา พอรักษาหายปุ๊บก็ตกงาน มาอยู่บ้านก็ฆ่าตัวตาย บ่รู้ว่าพ่อแม่จะเสียใจมอกใด ฆ่าตัวตายเสร็จ พ่อแม่ซ้ำโดนคนอื่นประณามว่าหื้อแหม อันนี้เป็นตัวอย่างที่บ่ดี เยียะหื้อเปิ้นได้ตั้งชื่อหื้อว่า ลูกเฮงซวย

สองพี่น้อง

นิทานคติ
สมัยปัจจุบันนี้ มันบ่เหมือนสมัยก่อน สมัยตะก่อนมันยืดยาว สมัยเมื่อก่อนนี้สัตย์ซื่อ เอาเงินเป็นใหญ่สองคนพี่น้องไปเรียนหนังสือเมืองตักกสิลา แล้วพระฤาษีสอนสองคนพี่น้องว่า ถ้าว่าเยียะสังกะหื้อเยียะแท้ๆ เยียะจะแลดแจ้แหล้บ่ได้กิน ต๊ะอี้ละเปิ้นบอกหื้อนะ แล้วเขาก็พากันมา มาแผว สองคนพี่น้องหั้นก็ว่า “เฮาจะทำอะหยัง” “หะปลา” ก็หะปลาขึ้น หะไปหะมาแห้งแล้วอ้ายนะพอจะออกแล้ว “อ้าย เปิ้นสอนว่าอย่างใดเล่า หื้อเยียะสังเยียะแท้ๆ เยียะจะแลดแจดแหล้บ่ได้กิน อี้จะหว่า” “จะเยียะจะใดละแถม” “กะคดปลาเยี่ยนก่า” ก็คดปลาเยี่ยน ไปปะใส่ไหเงินเขาก็หามออกมา เอามาฝากที่สองเฒ่าอยู่สวนว่า “แม่ป้า ขอฝากโอ่งฮ้านี่หน่อยลอ” ก็เอาโอ่งเงินไปฝากไว้ เฒ่าสองคนผัวเมียหันเป็นโอ่งเงินก็เอาโอ่งฮ้าแลกเปลี่ยนเอาเหีย วันพูกสองคนพี่น้องก็ไปเอา “ที่ไหนละ โอ่งเงินข้านะ” “หองหลานว่าโอ่งฮ้า ว่าอั้น” เขาก็ฟ้องร้องแผวพระยาเจ้าเมือง แล้วก็เบิกพยาน หื้อเอาพยานใส่ในกลอง หื้อสองเฒ่าหาม สองเฒ่านั้นบอกว่า “เอ ก็หองเขาว่าโอ่งฮ้าว่าอั้น เฮาก็เอาโอ่งฮ้ามาเปลี่ยนหื้อมันเหียก่า” หามสามรอบแล้วก็เอาไปตั้งไว้หั้น แล้วสองพี่น้องมา หามแหม หามแวดแหม มาอู้กัน “หองคิงว่าโอ่งฮ้า โอ่งเงินอี้กะดีก่า หองว่าโอ่งฮ้า เปิ้นก็เอาโอ่งเงินมาเปลี่ยนเอาเหียก่า” เบิกพยานออกมา เป็นของเจ้ากุมารสองคนนั้นเพราะมันเป็นของเปิ้นแท้ พยานรู้แล้วล่อ

สองสหาย

นิทานคติ
กาลครั้งหนึ่ง มีสองสหายที่เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมานาน แต่ก็ยังยากจนอยู่เหมือนเดิม สุดท้ายตัดสินใจจะแยกทางกันไปทำมาหากินคนละทิศคนละทาง ก่อนจะจากกันก็ได้ให้สัญญากันไว้ว่า “ถ้าเอ็งรวยขึ้นมา อย่าลืมข้านะ เพื่อน ถ้าข้ารวยขึ้นมาข้าก็จะไม่ลืมเอ็ง” ฝ่ายสหายคนที่เดินทางไปทางทิศใต้ก็เกิดโชคดีร่ำรวยขึ้นมา สหายคนที่ไปทางทิศหนือได้ ข่าวว่าเพื่อนรวยก็จะไปหาแต่ก็คิดว่า “เพื่อนมันจะช่วยเราจริงไหมหนอ” คิดแล้วก็ห่อข้าวห่อปลาเริ่มออกเดินทาง ระหว่างทางเจอเพิงอยู่ข้างทางก็ไปแวะยั้งแกะห่อข้าวกิน พอดีก็มีหมาตัวผอมโซตัวหนึ่งเดินมา มันก็ว่า “เอ้า ข้ากินไม่หมดเอาข้าวให้หมากินเสียดีกว่า มันคงจะหิว” ชายคนนั้นก็เอาข้าวให้หมากินแล้วก็ออกเดินทางต่อไป จนถึงบ้านเพื่อน ฝ่ายเพื่อนที่ร่ำรวยเห็นเพื่อนของตนเดินทางมาหาเช่นนั้นก็ตะโกนไปว่า “โอ้ เพื่อนมาหาข้าเหรอนี่ มานี่ๆ” “โอ เพื่อนไม่ลืมกันจริงๆ นะนี่ ไม่เจอกันนานแล้ว โอ เพื่อนสบายจริงๆ หนอ ร่ำรวยแล้ว” เพื่อนที่ร่ำรวยก็บอกว่า “ข้าจะช่วยเหลือเพื่อนนะ เพื่อนทุกข์ยากข้าก็จะช่วย” แล้วเพื่อนผู้ร่ำรวยก็ให้เพื่อนไปขึ้นตาชั่งข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งก็เอาทองคำใส่ไปให้เท่ากับน้ำหนักตัวแล้วบอกเพื่อนที่ยากจนว่า “ข้าจะช่วยเพื่อนเต็มที่ เอ้า เพื่อนจงอธิษฐานเอาเถอะ เพื่อนได้ทำบุญสุนทานอะไรมาก็ภาวนาเอาเถอะ ถ้าเพื่อนมีบุญตาชั่งมันก็จะกระดกขึ้น” ว่าแล้วก็เอาทองคำใส่ตาชั่ง แต่ใส่ไปเท่าไหร่ ตาชั่งก็ไม่กระดิกเลย เพื่อนที่ยากจนนั้นก็คิดถึงบุญที่เคยทำไว้ งานบุญที่นั่นที่นี่เคยไปร่วมก็คิดมาหมด แต่ตาชั่งก็ไม่กระดิกเลย จนกระทั่งนึกถึงหมาที่ให้ข้าวกินเมื่อเช้าขึ้นมาได้ก็เลยว่า “เอ ข้าจะเอาทานที่ข้าให้ข้าวหมาเมื่อเช้านี่ดีไหมนะ ถ้าที่ข้าให้ข้าวมันไปพอจะมีบุญกุศลก็ขอให้มันกระดกขึ้นทีเถอะ” พอคิดแค่นั้นเอง ตาชั่งก็ยกขึ้น เพื่อนผู้ร่ำรวยก็เลยมอบทองคำเท่าน้ำหนักตัวนั้นให้กับเพื่อน นิทานเรื่องนี้จึงสอนว่า การทำบุญทำทานถ้าทำด้วยจิตที่บริสุทธิ์ตั้งมั่นในการทำบุญจริงแล้วๆ ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด ก็ได้บุญกุศลทั้งนั้น

สองสหายคู่ยาก

นิทานคติ
ในกาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมีสองสหายคนหนึ่งชื่อว่านายตาบอด คนหนึ่งชื่อว่าอ้ายขาตีบสองคนนี้ชอบพอกันเป็นเพื่อนอย่างยิ่ง อยู่มาวันหนึ่งสองสหายก็พากันไป เที่ยวขอทานไปตามบ้านน้อยเมืองใหญ่ โดยไอ้ขาตีบเป็นตาไอ้ตาบอดเป็นตีน ไอ่ตาบอดนั้นให้ไอ้ขาตีบขี่หลังเดินไปขอทานตามบ้านต่างๆ อยู่มาวันหนึ่งเมื่อขอทานนั้นไปในบ้านน้อยเมืองใหญ่ก็รู้สึกว่าเบื่อระอา ก็เลยพากันเดินลัดไปกลางทุ่ง ว่าจะไปขอทานบ้านหล่ายทุ่ง พอดีก็ไปเจอต้นไม้ต้นหนึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของหมู่นกทั้งหลาย ไอ้ขาตีบบอกให้ไอ้ตาบอดขึ้นไปดูบนต้นไม้นั้นว่าคงจะมีไข่นกอยู่ บอกไอ้บอดว่าถ้ามีเราก็จะได้เอามาหมกกินกัน ไอ้ตาบอดก็ได้ขึ้นไปๆ พอดีก็ตะโกนมาถามไอ้ขาตีบว่า “เออ สหายถึงรึยัง” ไอ้ขาตีบก็ว่า “ขึ้นไปอีกยังไม่ถึง ขึ้นไปอีกหน่อย” ขึ้นไปอีกนิดหน่อย ไอ้ขาตีบก็ตะโกนบอกว่า “ถึงแล้ว ล้วงเลย” พอไอ้ตาบอดนั้นล้วงเขาไปก็คว้าเอางูเห่าออกมา พอดีว่างูนั้นได้พ่นพิษเข้าตา ไอ้บอดทำให้ตาของมันนั้นกลับมามองเห็นอีกครั้ง พอไอ้บอดตาเห็นเป็นปรกติแล้วเห็นงูที่ตนเองถืออยู่ก็ตกใจ โยนลงมาตกตรงหน้าไอ้ขาตีบ เมื่อไอ้ขาตีบเห็นอย่างนั้นแล้วก็ตกใจยืดขาตนเองได้แล้วก็ลุกวิ่งหนีงูเพราะว่าตกใจสุดขีด สุดท้ายทั้งสองเพื่อรักก็หายจากอาการพิการในที่สุด นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า คนเราถ้ามีความสามัคคี ถึงว่าจะเป็นคนพิการอย่างไร ก็จะต้องทำมาหาเลี้ยงชีพตนเองได้อย่างสบาย

สัจจะ

นิทานคติ
ยังมีสามีภรรยาคู่หนึ่ง ทั้งสองแต่งงานกันมานานมากและให้สัจจะซึ่งกันและกันว่าจะรักกันไปตลอด ถึงว่าใครคนใดคนหนึ่งตายก็จะไม่แต่งงานใหม่อีกต่อไป ทั้งสองก็ชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขมาเรื่อยๆ จนวันหนึ่งฝ่ายสามีก็ไดเตายจากภรรยาสุดที่รักไป ภรรยาก็ได้แต่ร้องไห้คร่ำครวญคิดถึงสามีที่ตายไป นางจึงได้ไปที่ป่าช้าแล้วขุดเอาหัวกะโหลกสามีตนมาเก็บไว้แล้วก็ออกเดินทางเป็นขอทานไปตามเมืองนั้นเมืองนี้ไปเรื่อยอย่างคนที่ไม่มีจุดหมาย จนไปถึงเมืองๆ หนึ่งนางก็ไปนั่งขอทานอยู่และยังมีลูกชายของเศรษฐีมาชอบพอนาง เพราะว่านางนั้นมีหน้าตาที่สวยงาม แต่ว่านางนั้นไม่ยอมแต่งานกับใครเลยเพราะได้ให้สัจจะกับสามีตนที่ตายไปแล้วว่าจะไม่แต่งงานกับใครอีก ฝ่ายลูกเศรษฐีก็vยากที่จะได้นางนั้นมาเป็นเมียของตนเองจึงได้ไปรบเร้ากับพ่อให้มาสู่ของนางมาเป็นเมีย ฝ่ายพ่อเศรษฐีนั้นก็มาพูดจาสู่ขอนางขอทานแต่ว่าก็ไม่สำเร็จ จนฝ่ายเศรษฐีประกาศกับชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลายว่า “ถ้าใครที่สามารถที่จะเอานางขอทานคนนี้มาเป็นเมียได้ เราจะเอาทองคำน้ำหนัก ๑,๐๐๐ ทองคำให้เป็นรางวัล” ชาวเมืองทั้งหลายก็ต่างพากันมาติดต่อเชื้อเชิญ เล้าโลมนางคนนี้เพื่อที่จะเอาไปเป็นเมียตนเอง แต่จนแล้วจนเล่า นางก็ไม่ยอมที่จะเป็นเมียของใครซักคน เพราะว่านางนั้นได้ให้สัจจะกับสามีที่ตายของตนเองไปว่าจะไม่ยอมแต่งงานใหม่กับใครอีก ชายทั้งเมืองไม่มีใครเลยที่สามารถแต่งงานกับนางได้ จนวันหนึ่งมีชายยาจกต่างเมืองเดินมาเห็นชาวเมืองทั้งหลายต่างเข้าคิวเรียงแถวกันไปจีบนางขอทานคนนี้เป็นแถวยาวเหยียดก็เลยเข้าไปถามเศรษฐีที่นั่งดูตรงนั้น “ท่านเศรษฐีครับ เขาเข้าแถวทำอะไรกันครับ” “อ้อ เข้าแถวเพื่อที่จะขอนางขอทานคนนั้นแต่งงาน เพราะว่าถ้าใครที่ขอนางคนนั้นแต่งงานได้ข้าจะเอาทองคำเป็นรางวัลให้ ๑,๐๐๐ น้ำหนักทอง เพราะว่านางนั้นไม่ยอมแต่งงานกับใครเลย เนื่องจากว่านางนั้นตั้งสัจจะกับสามีที่ตายไปแล้วว่าจะไม่แต่งงานใหม่ และก็เอากะโหลกสามีนอนกอดทุกวัน” “จริงหรือครับท่าน ข้าขอลองได้ไหม?” “ได้สิตามใจเจ้า ขนาดเราเป็นถึงเศรษฐี นางยังไม่สนเลย เจ้าเป็นคนยากจนจะไปมีปัญญาอะไร” “งั้นข้าขอลองนะท่าน” “ก็เอาสิ” ตกกลางคืน ชายยากจนนั้นก็เข้าไปในป่าช้าแล้วก็ขุดเอาหัวกะโหลกผีขึ้นมาหัวหนึ่ง พอวันรุ่งขึ้นชายยากจนก็เอาหัวกะโหลกที่ขุดมานั้นใส่ในถุงย่ามของตนเองแล้วก็เดินเที่ยวตามหาว่านางขอทานอยู่ที่ไหน เมื่อรู้ที่อยู่ของนางและก็รู้อีกว่านางนอนที่ศาลาริมทางทุกคืน ตอนเย็นชายยากจนก็เดินมาที่ศาลาริมทางที่นางขอทานทำเป็นที่นอนนั้น และแสร้งทำร้องไห้ฟูมฟายตลอดทาง เมื่อมาถึงศาลาก็เข้าไปนั่งร้องไห้อีก นางขอทานจึงถามชายคนนั้นว่า “ท่านเป็นอะไรเหรอถึงได้ร้องไห้ขนาดนั้น” “เราคิดถึงเมียเราที่ตายนะสิ นางตายแล้วข้าก็คิดถึงมากเลย ข้าก็เลยเอากะโหลกเมียเรามานอนกอดนี่นะ” “แล้วท่านทำไมไม่แต่งงานใหม่ละ” “ข้าให้สัจจะกับเมียว่าจะไม่แต่งงานใหม่จะรักนางคนเดียวเท่านั้น” “ข้าก็เหมือนกัน ผัวข้าตายไปและข้าก็ทำเหมือนกับท่านนี่แหละ” ชายยากจนก็เอ่ยอีกว่า “นาง ข้าขอนอนที่ศาลานี้ด้วยได้ไหม?” “ได้สิท่าน” พอตกกลางคืนนางขอทานก็หลับไปแล้ว ฝ่ายชายยากจนนั้นยังไม่หลับมันก็แอบไปเอาหัวกะโหลกสามีนางขอทานที่เอาไว้ในถุงย่ามของนางมาแล้วก็เอามาใส่ไว้ในถุงย่ามของตนเอง พอรุ่งเช้าชายยาจกก็ร้องตะโกนโวยวายขึ้นมา “โอ้...... นี่นาง สามีของนางนะแอบมาเป็นชู้กับเมียเรานะดูสิ เข้ามาอยู่ในถุงย่ามเรา ข้าไม่ยอมนะ ยังไงก็ไม่ยอม มิหน้าละเมื่อคืนข้าได้ยินเสียงกุกกัก ข้าก็นึกว่าหนูมาแถวนี้ ยังไงข้าก็ไม่ยอม” ฝ่ายนางขอทานนั้นก็ไม่รู้จะทำอย่างไรได้แต่ร้องไห้ “โถ พี่นี่ช่างไม่รักษาสัจจะที่เราเคยให้ต่อกันเลยนะว่าจะไม่นอกใจกัน จะรักเดียวใจเดียวซื่อต่อกัน ทำไมพี่ทำอย่างนี้” เรื่องก็เกิดขึ้นฝ่ายชายยากจนก็ไม่ยอมก็เลยเข้าไปฟ้องกับเจ้าเมืองให้ช่วยตัดสินคดีนี้ ฝ่ายเจ้าเมืองก็เรียกทั้งสองฝ่ายมาถามถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น แลตัดสินให้นางขอทานนั้นเป็นเมียของชายยากจนเสียเพื่อเป็นการใช้หนี้ที่ผีสามีของนางขอทานไปแอบเป็นชู้กับผีเมียของชายยากจนนั้น หลังจากที่แต่งานกันเรียบร้อยแล้ว ชายยกจนก็ไปที่บ้านของเศรษฐีเพื่อทวงทองที่เศรษฐีจะให้ตามสัญญา ท่านเศรษฐีก็ไม่รู้จะทำอย่างไรก็จำยอมเอาทองมาให้ตามสัญญา และหลังจากนั้นเจ้าคนยากจนและนางขอทานก็ไม่ต้องขอทานอีกเพราะว่ามีฐานะขึ้นมาและก็ประกอบอาชีพที่สุจริตจนร่ำรวยสบายเป็นเศรษฐีของเมืองๆ นั้นอีกครอบครัวหนึ่ง

สี่เต่าแฮ้

นิทานคติ
สี่เต่าแฮ้นี้เป็นเมืองๆ หนึ่งเป็นเมือง มีแม่น้ำไหลผ่านที่ข้างเมือง ที่แม่น้ำนั้นมีบ้านของนางปากเปียกอยู่ ที่นางได้ชื่อนี้เพราะว่านางคนนี้ชอบเอาเรื่องราวของคนหนึ่งไปเล่าให้อีกคนหนึ่งฟัง เรื่องของบ้านหนึ่งเล่าให้อีกบ้านหนึ่งฟัง เรื่องของเมืองหนึ่งเล่าให้อีกเมืองหนึ่งฟังจนเป็นที่ทะเลาะวิวาทผิดเถียงกันเรื่อยมา เมื่อนางปากเปียกนี้ตายชาวบ้านก็ช่วยกันเอาศพของนางนั้นไปฝังที่หลังวัด แต่ว่านางคนนี้ตายไปก็ยังมิวายจะใช้นิสัยเดิมของนาง นางปากเปียกนี้ก็ไปเข้าฝันพระในวัดและสนส่อให้พระในวัดนั้นทะเลาะกันอีก จนเจ้าอาวาสเจอเข้ากับตนเองก็เลยรู้ว่าเพราะผีของนางปากเปียกนี้นี่เองที่เป็นสาเหตุของความวุ่นวาย เจ้าอาวาสก็เลยได้ทำบุญอุทิศส่วนบุญไปให้ผีของนางเพื่อที่จะให้นางนั้นได้ไปผุดไปเกิดในที่ๆไกลแสนไกล และแล้วผลบุญก็บันดาลให้นางนั้นไปเกิดเป็นเต่า วิญญาณของนางปากเปียกนั้นก็ได้ไปเกิดเป็นเต่าตัวหนึ่งไปอยู่หนองน้ำในที่ห่างไกล หนองน้ำนั้นเมื่อเต่าตัวนั้นเกิดมาก็รู้สึกว่าแห้งแล้งมาก เต่านั้นก็ไม่ได้กินน้ำก็อยาก กินน้ำเพราะว่านางปากเปียกมาเกิดเป็นเต่าในหนองจึงทำให้น้ำแห้งไป วันหนึ่งก็มีหงส์สองตัวมาหากินก็ไปพบเต่าตัวนั้นที่เป็นนางปากเปียกกลับชาติมาเกิด เต่าตัวนั้นก็อ้อนวอนหงส์สองตัวนั้นขอให้ช่วยพาไปปล่อยในที่ๆ มีน้ำหรือว่าแม่น้ำทีเพราะว่าอยู่ที่นี่ก็จะอดตาย “นี่ท่านหงส์ทั้งสองจ๋า ช่วยพาข้านี้ไปในที่ๆ มีน้ำหน่อยเถอะ ถ้าอยู่ที่นี่ข้าก็จะตายไปเสียเปล่า นึกว่าช่วยเต่าเอาบุญเถอะนะ” หงส์ทั้งสองก็ปรึกษาแตกลงจะเอาเต่านั้นไปปล่อยที่แม่น้ำ “เออได้ เราจะพาเจ้าไปในที่ๆ มีน้ำเอง แต่เจ้าต้องหาไม้มาท่อนหนึ่งนะ” หงส์สองตัวนั้นได้ไม้ที่เต่าเอามาแล้วก็บอกให้เต่าว่า “เจ้าเต่า เจ้าคาบกลางไม้นะ เราจะคาบสองข้างพาเจ้าไป แต่ว่าเจ้าห้ามอ้าปากเด็ดขาดเพราะเจ้าจะร่วงลงไปตาย” เจ้าเต่าก็รับคำอย่างดี หงส์ก็พาบินไปยังแม่น้ำใหญ่ แต่ว่าก่อนที่จะถึงแม่น้ำนั้นได้ผ่าที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง เมื่อชวบ้านเห็นว่าหงส์นั้นหาบเอาเต่าบินมา ต่างก็พากันตะโกนว่า “หงส์หามเต่าๆๆๆ” เจ้าเต่ามันก็กลัวเสียเปรียบ และอดไม่ได้ที่จะพูดตามนิสัยเสียของมัน มันก็เลยบอกชาวบ้านว่า “เต่าหามหงส์นะ ไม่ใช้หงส์หามเต่า” แต่มันลืมนึกไปว่ามันนั้นอยู่กลางอากาศเอาปากคาบไม้ไว้ พอมันอ้าปากบอกชาวบ้านมันก็ตกลงมา ชาวบ้านก็เอาไม้เข้าไปทุบตีเต่าจนแหลกเหลว พอดีว่าชาวบ้านนั้นไป โดนขี้ของเต่า ขี้เต่าก็กระเด็นไปตกที่รักแร้ของคน ก็เลยกลายเป็นขี้เต่าแฮ้ไป

เรียนวิชาค่าพันคำจากตักกสิลา

นิทานคติ
มีครอบครัวอยู่ครอบครัวหนึ่ง มีลูกชายอยู่สองคน แต่ว่าดวงชะตาของภรยานั้นตายก่อนผัว เหลือก้าพ่อกับลูกชายสองคน มีคำอยู่สองพันคำ ทีนี้พอลูกชายสองคนใหญ่หน้ากล้าบานมา พอก็ถือโอกาสแนะนำว่า “โห แม่เจ้าตังสองก็ตายไปแล้ว พ่อก็เฒ่าแก่มาตึงวัน สูเจ้าสองคนนี้ก็บ่มีการงานที่จะทำเป็นหลักเป็นฐาน หรือวิชาอันใดก็บ่เก่งกล้าสามารถ พ่อก็มีคำสองพันคำ ตามครูบาอาจารย์เปิ้นเล่ากันมาว่า เมืองตักกสิลาเนียะมีครูบาอาจารย์ที่เก่งกล้าสามารถมีความรู้สูงเปิ้นก็นิยมไปเรียนเมืองตักกสิลากัน ฉะนั้นพ่อก็ขอแนะนำหื้อเจ้าสองคนเนียะพากันไปเรียนวิชาความรู้ที่เมืองตักกสิลา อี่ป้อจะมอบคำสองพันคำนี้หื้อ ทีนี้คำสองพันคำนี้ พันหนึ่งหื้อเป็นค่าใช้จ่ายในระหว่างทาง แหมพันหนึ่งเป็นค่าวิชาความรู้ของครูบาอาจารย์” ลูกชายสองคนก็ถือโอกาสฟังคำพ่อแนะนำ ก็พากันห่อข้าวห่อปลาเตรียมอาหารการกิน เดินทางไปเมืองตักกสิลา ก็ไปเป็นระยะเวลาอันนาน ไปถึงก็ถึงสำนักอาจารย์ตักกสิลาแท้ ก็ไปขอเรียนวิชา เอาคำนะเป็นขันตั้งปู่จาเปิ้น อาจารย์ก็สอนวิชาหื้อว่า “ยะหยังหื้อยะแท้ๆ ยะบ่แท้บ่ได้กิน” พันคำนะครับค่าวิชาเนียะ ก็ถือว่าเป็นสำเร็จ คล้าย ๆ กับว่าสำเร็จการศึกษาชั้นนั้นชั้นนี้ ปริญญานั้นปริญญานี้ สองพี่น้องก็ถือโอกาสร่ำลาอาจารย์มา ตามระยะทางก็นอนฮ้างนอนแฮมมา พอดีก็มาปะสระแห่งหนึ่งกว้างขวางพอดีในหนองนั้น น้ำมันหยังมานักแท้นักว่า เวียนว่ายกันอยู่สับสนอลหม่านไปหมด ชายสองคนพี่น้องก็มากึ๊ดใจว่า “เอ้อ อาหารการกินเราเอามาในระหว่างทางนี้ก็หมดก็เสี้ยงไปเหียละ เหลือแต่ข้าวบ่ดาย แล้วอาหารบ่มี เราช่วยกันหะหนองปลานี่บ๋อ เราเอาปลาไปเป็นอาหารการกินระหว่างที่ไปสู่บ้านสู่จอง “ น้องมันก็ว่า “หะก็หะ กอนว่าอ้ายจะหะอี้ก็หะ” สองคนพี่น้องพากันหะหนองปลาที่กว้างขวางพอประมาณนั้น โอ้ว จนพอหิวพอหอด จนหมดลังที่จะหะ สายน้ำก็ยังเหลืออยู่พอที่จะหะแห้งได้ น้องก็ว่า “อ้ายเอานา หะจะพอเป็นวันค่ำก็ยังบ่แห้ง หะไป หะไปน้ำก็มีอย่างเก่า เมื่อใดเราจะหะหื้อมันหมดผมว่าบ่ถ้าเอาละ ไปหากินทางหน้าดีกว่า น้องก็บ่มีกำลังที่จะยะ ยะบ่ไหวละ” อ้ายก็ว่า “โอ๋ น้อง กึ๊ดใจหื้อดี วิชาที่เราเรียนมาเนียะค่ามันพันคำแล้ว หื้อยะแท้ๆ ยะบ่แท้บ่ได้กิน เนียะเราหะหนองปลาเนียะ น้ำแห้งถึงขนาดนี้แล้วพอจะเกิ่งจะช้อนไปแล้ว มาละมาขว้างเนีย ผ่อมันเวียนว่ายไปตามน้ำนี้เราก็หันอยู่ แต่เรางมมันบ่ได้เพราะว่าน้ำมันนัก ต้องช่วยกันอุตสาหะ หะต่อไปแถม ยะตามหลักวิชาของเรา” น้องก็ฟังคำอ้าย หะหนองนั้นต่อไปแถมจนพออิดพอหิวจนพอหมดแรง ก็บอกหื้ออ้ายเป็นครั้งที่สองว่า “อ้ายบ่ถ้าเอานา บ่ถ้ายะนา พอนา น้องบ่สามารถจะยะใดแล้ว บ่สามารถจะช่วยอ้ายได้แล้ว ขออ้ายย้างเต๊อะ เราเอากำลังที่เหลืออยู่เนียะมาเดินทางไป เราจะได้อาศัยข้าวปลาอาหารกิน บ่เอาละปลาหนองนี้” อ้ายก็เตือนเป็นครั้งที่สองว่า “น้อง วิชาที่เราเรียนมาเนียะ ค่าพันคำยะหยังหื้อยะแท้ๆ ปลาเราก็หันอยู่ตัวจ้าดใหญ่ จ้าดใหญ่ละก็มีนักหนาปาป้านถึงขนาดนี้ ถ้าเราจะบ่ยะบ่ทำนะมันจะผืนคำสั่งสอนและวิชาที่อาจารย์เปิ้นว่ายะหยังหื้อยะแท้ ๆ ยะบ่แท้บ่ได้กิน ต้องยะเอาจนแท้ๆ” น้องมันก็ฟังคำอ้าย ก็เอาแถม เอาจนหมดกำลัง น้ำก็แห้งเหลือน้อยเข้ามานักแก ปันสามเหลือสักส่วน น้องก็หมดกำลัง เตือนอ้ายแถมแล้วเป็นครั้งที่สาม ว่า “พอนาอ้าย ขอเต๊อะ สู้บ่ได้นา บ่มีกำลังที่จะหะจะยะต่อไปแล้ว ผมว่าบ่ถ้าเอาละปลานี้ ขอเดินทางต่อไปเต๊อะ พบบ้านพบจองเราจะได้เปิ้งป๊ะนาบุญเปิ้น จะได้ขอกินข้าวกินน้ำเปิ้นไป ขออ้ายฟังคำผมเต๊อะ ผมว่าบ่เอา “ อ้ายก็เตือนน้องเป็นครั้งที่สามว่า “น้อง น้ำเนียะเราหะมาจะเป็นวันค่ำแล้ว กำลังวังชาที่เราเสียสละจนพออิดพอหิว พออิดพออ่อน จนน้องท้วงเป็นครั้งที่สาม แต่อ้ายขอเตือนน้องว่าจะไปละความเพียรและพยายาม เพราะเราหันผ่อปลามันนักหนาอย่างอี้ และน้ำก็ปอจะแห้งแล้ว ก็ช่วยกันยะกันทำ หื้อปฏิบัติตามหลักวิชาที่เราเรียนมา ยะหยังหื้อยะแท้ๆ ยะบ่แท้บ่ได้กินขอฟังคำอ้ายเต๊อะ และขอฟังคำครูบาอาจารย์ที่เราเรียนมา” น้องก็อุตสาหพยายามช่วยอ้ายแถมจนน้ำแห้ง พอแห้งแล้วปรากฏว่าหนองนั้นบ่มีปลาสักตัว ปลาหายไปไหนหมดสองคนพี่น้องก็สงสัยว่า เอ ปลาจะบุ่นลงขี้เปอะที่ก้นหนองนี้แน่นอน เราก็พากันคดขี้เปอะก้นหนอง ปะอุ่งคำ ใหญ่ขนาดพอสองคนหามแป๊ ก็ช่วยกันหามมา ก็บ่ปอไกลเท่าใด ก็พลบค่ำพอดี ก็เลยขอพักบ้านนั้น เป็นว่าแก่บ้านนั้นเปิ้นยินดีต้อนรับละอ่อนสองคนนี้ แก่บ้านก็สอบสวนว่าอันนี้ ที่สูหามมานี้อุ่งอะหยัง “อุ่งปลาส้มครับ ผมเขาไปเรียนวิชาความรู้ที่เมืองตักกสิลามา เสี้ยงพันคำ ละก็เดินทางมาถึงกลางป่าก็เลยปะใส่สระ โห หันปลามันนัก ผมก็ช่วยกันหะจะได้ปลาเนียะ ได้อุ่งเฮี่ยหั้นแก่น ปลาเข้าใส่อุ่งเนียะดองเป็นปลาส้ม จะเอาเมือกินบ้าน ก็จะพอค่ำพอมึด ก็ขอพักกับพ่อแก่บ้านเนียะ” แก่บ้านก็ว่าบ่เป็นหยัง ก็ยกข้าวยกน้ำมาสู่เขาเพราะว่าเป็นเมื่อค่ำแล้ว ทีนี้สองคนพี่น้องนั้นก็เอาอุ่งปลาส้มนะไปวางบนเติ๋น แล้วสองคนนอนคนละข้าง เอาตีนก่ายกัน เอาประสานกัน เอาอุ่งปลาส้มไว้ตังกลาง ทำหื้อแก่บ้านสงสัยว่าเป็นอย่างใดมันมาขางอุ่งปลาส้มมันหยังบ่าล้ำบ่าเหลือ มันมายะอย่างอี้ แสดงว่ามันขางอุ่งปลาส้มมันขนาด ขอมันหลับกูจะลักผ่อ มันปลาส้มแท้กาว่าบ่ใช่ปลาส้มแท้ พอละอ่อนสองคนเขาหิวเขาอ่อน เดินทางตวย หะปลาตวย หลับบ่ฮู้คิง แก่บ้านไปลักเปิดอุ่งผ่อ โห อุ่งปลาส้มกลายเป็นอุ่งคำตึงหมด ”ไอ่ละอ่อนหมู่นี้โกหกนี่ กูจะเปลี่ยน เพราะพยานหลักฐานเขาอ้างว่าปลาส้ม กูจะเอาอุ่งปลาส้มมาเปลี่ยน” แก่บ้านลักเอาอุ่งคำนั้นไปซ่อนเหีย พอดีแก่บ้านนั้นก็มีอุ่งปลาส้ม ก็เลยเอาอุ่งปลาส้มนั้นเข้ามาเปลี่ยนพอแจ้งมาแล้วป้อจายสองคนที่เป็นนักเรียนตักกสิลาเปิดกอยอุ่งของตัวเอง กลายเป็นอุ่งปลาส้มไปเหีย ละบ่ใช่อุ่งของตัวเอง อุ่งคำนั้นหายไปเหียแล้ว ก็เลยถามพ่อแก่บ้านว่า “พ่อแก่ๆอุ่งนี้มันบ่ใช่อุ่งผมเขาลอ อุ่งผมเขามันเป็นอุ่งคำครับละมันใหญ่กว่านี้” “เหาะ ก็ตัวว่าเป็นอุ่งปลาส้ม พ่อหลวงก็บ่ได้ไปเปิดไปผ่อลอ สูก็นอนกอดอุ่งอยู่หั้น พ่อหลวงบ่รู้เรื่องรู้ราว สูเขาก็นอนนอกนี่ ไปว่าพ่อหลวงเอาอุ่งสูเขาไปได้จะใด” ผลที่สุดเถียงกันไปเถียงกันมา แก่บ้านก็บ่ยอมเอาอุ่งคำมาคืนไอ่สองคนก็บ่ยอมรับรู้ว่าอุ่งนี้เป็นอุ่งของเขา สองชายหนุ่มก็ถือโอกาสว่า “ยะอย่างใดหื้อได้อุ่งคำ เราไปร้องพญาเจ้าเมือง” อ้ายมันว่าอย่างอั้น น้องมันก็ว่า “ไปก็ไป” สองคนพี่น้องก็พากันไปร้องพญาเจ้าเมือง ว่าแก่บ้านเนียะโกงเอาอุ่งคำเขาไป ก็เล่าเรื่องประวัติความเป็นมาตั้งแต่ต้นหื้อฟัง พญาเจ้าเมืองก็บอกว่า “อื่อ บ่เป็นหยังจะจัดการความนี้หื้อ หากเป็นจริงตามนี้” ทีนี้เมื่อฮ้องแก่บ้านมาสอบสวน พญาเจ้าเมืองก็ถือโอกาสเอากลองมา เอาอามาตย์คนหนึ่ง เอาสมุดดินสอเข้าอยู่ในกลองหั้น ละก็เอาไม้งิ้วตองที่เป็นหนามเนียะมาหื้อสองคนผัวเมียนี้หามแวดเวียงสามรอบ ถ้าบ่หามแล้วผิดอาชญา เพื่อจะแก้ไขความยุติธรรมเนียะ จะหื้อมันมีและเกิดขึ้น หามตึงสอง เอาผัวเมียหามก่อน ละก็เอาอ้ายสองคนที่เป็นพี่เป็นน้องเนียะหามทีหลัง แก่บ้านบ่รู้ยะจะใด หามไปก่อน เมียหามตวยก้น หามไปได้บ่เท่าใดเมียมันสู้บ่ได้ละ หนามตองปักบ่ามัน “ข้าบอกว่า บอกความจริงนี้หื้อเปิ้นเหียเต๊อะ เอาคืนหื้อเปิ้นเหียก่าอุ่งคำ เอาหองเปิ้นมาเยียะหยัง หองเปิ้นแท้ ผ่อหนามตองปักบ่าข้าเนียะ ข้าบ่หันลู่” แก่บ้านก็ว่า “สู ข้าบ่หื้อ คำตึงอุ่งในชาตินี้จะไปเอาที่ไหนได้ เราจะได้เป็นเศรษฐี เป็นมหาเศรษฐี ร่ำรวยเงินทองเป็นดีมีกินกำเนียะ มันก็ทุกข์กะมอกหนามตองอ้ากะ กลัวมันหยัง หาม” เมียมันก็อดเอาหามไปรอบเวียงได้รอบหนึ่งละ ครั้งที่สองเมียมันสู้บ่ได้ละ รอยแผลหนามตองปักไปตึงสองบ่า แต่ผัวมันสู้ สู้ได้อยู่ ถึงมันจะปักก็แค่หนามตอง มันบอกว่ามันบ่กลัว ปักก็ปักไป แต่เมียมันสู้บ่ได้เพราะแม่ญิงเป็นเพศอ่อนแอ ก็เลยฮ้องขึ้นแหมว่า “บ่เอาละ ข้าบ่เอาละ นั้นนะข้าว่านา ของตัวบ่มีใคร่โลภเอาหองเปิ้น เปิ้นว่าอุ่งฮ้าๆ ก็เปิ้นกลัวเราลักตัวเข้าไปเปิดเป็นอุ่งคำ ก็เอาอุ่งฮ้าไปเปลี่ยนของเปิ้นอุ่งก็บ่ใช่อุ่งเปิ้น อุ่งเปิ้นเป็นอุ่งคำนะ เปิ้นมาฟ้องหัวจะเอี๊ยะ ข้าบ่ยะนา ข้าเจ็บบ่าล้ำไป บ่ยะละนา พอ” ผัวมันก็เดือดหื้อเมียมันแหม “คำตึงอุ่ง ชาตินี้ไปหาไหนได้ อดเอา” เมียมันก็อดเอาเป็นครั้งที่สอง ครั้งที่สามเมียมันบ่เอาแล้ว สวะไม้คาน ผัวมันก็ว่า เอ้า อดเอาจนได้ เมียมันก็อดเอาเป็นครั้งที่สาม ก็เอามามอบหมายว่า “พญาเจ้าเมือง ข้าพเจ้าตึงสองคนนี้ก็หามแล้วสามรอบแล้ว ครบละ ความอดความอุตสาหะเพราะคำนี้เป็นของข้าพระองค์เขาแท้ ฮ้าเป็นของเขา” “เอ้า สองผัวเมียนี้ได้สามรอบก็ดีละ นับว่ามีความอดทน คำนี้เป็นของเขาแต่ยังบ่แน่ ชายสองคนนี้อาจจะฟ้องเป็นความเท็จก็ได้ สองคนนี้หาม” สองคนพี่น้องก็หื้ออ้ายไปก่อน หามไปได้หน้อยเดียวต๊ะอ๊ะ น้องบ่เอาละ หนามตองปักบ่ามันว่า “อ้าย เราบ่เอาละคำนะ บ่ได้นา น้องเจ็บบ่านา” “ฮื้อ อดเอาน้อง มันจะปักเลิ้กเท่าใดก็ตึ๊กหนามตองต๊ะอั้นละ คำตึงอุ่ง หะตึงวันค่ำได้จนพออิดพอหิว ของเราแท้ๆ แก่บ้านโลภเอา ก็น้องท้วงสามสี่ครั้งแล้วว่าบ่ายะๆ เมื่อน้ำบ่าแห้งอ้ายกะเตือนว่าเพื่อเราเรียนวิชามาเสี้ยงพันคำละ ว่ายะหยังหื้อยะแท้ ๆ ยะบ่าแท้บ่าได้กิน ก็เตือนน้องตึงสามสี่ครั้งแล้ว หะไปปลาตัวหนึ่งก็บ่มี ปลาเต็มหนองว่ายผุดๆ ว่าย ๆ เผื่อน้ำแห้งมาบ่มีปลาสักตัว เราคดขี้ดินไปแหมเจ้นจะได้อุ่งคำ ที่เราว่าอุ่งฮ้านั้น เราว่าเพื่อจะหลอกแก่บ้านบ่หื้อมันโกงหองเราบ่ดาย แล้วเราก็นอนกอดอุ่งคำไว้ แก่บ้านยังอุตส่าห์ลักหองเราไป เอาอุ่งฮ้ามาแทนขอคืนดีๆ ก็บ่หื้อคืน จนมาฟ้องพญาเจ้าเมือง แล้วเปิ้นก็เขเราหามกลอง ถ้าเราหามบ่ได้ เราบ่ได้นาอุ่งคำเรานา” “ก็มันเจ็บบ่านาอ้าย “ “ก็เจ็บก็อดเอากะ ยะแท้ ๆ บ่ถ้ากลัว แก่บ้านกับเมียเปิ้นยังหามมาได้ เราบ่หามได้จะใด” สองพี่น้องก็เถียงกันรอบเวียง ครั้งที่สองน้องบ่เอาละ พี่มันก็เดือด ว่าอุ่งคำตึงอุ่ง น้อง เราก็เรียนวิชามาเสี้ยงตึงสองพันคำ แม่เราก็บ่มี เหลือก้าพ่อ เปิ้นก็อุตส่าห์หื้อเรามาเรียนวิชา อดเอานาน้อง ตามหลักวิชาที่เราเรียนมาน้องมันก็อุตส่าห์หามไปแหม ได้รอบที่สอง พอรอบที่สามน้องบ่เอาแหมเมาะ เพราะบ่าพองหมด หนามตองปักอ้ายก็เตือนอยู่ตลอดเวลา จนเป็นครั้งที่สามก็มาหมอบมากราบไหว้ ตึงแก่บ้าน ตึงเมียมัน ตึงชายสองคนพี่น้องเนียะ เปิดกลอง อามาตย์ที่อยู่ในกลองก็ออกมาพญาเจ้าเมืองก็ถามว่า “อุ่งคำนี้เป็นของไผกันแน่ “ อามาตย์ตัดสินทันทีว่า “เป็นของสองคนพี่น้องนี้ แก่บ้านกับเมียโกง” พญาเจ้าเมืองตัดสินทันทีว่า “ต้องเอาอุ่งคำมาคืนหื้อเขา และอันแก่บ้านกับตึงภรรยาลูกเต้าทั้งหมดเนียะเป็นขี้ข้าชายสองคนเนียะอพยพไปเป็นขี้ข้าอยู่บ้านเรา โลภ โกง อิจฉา ริษยา บ่มีความเป็นธรรม จะอยู่ในบ้านในเมืองนี้บ่ได้ หื้อไปเป็นขี้ข้าชายสองคนเนียะ ตึงผัวตึงเมียตึงลูกตึงเต้าหมดมอบอุ่งคำคืนหื้อเขา“ แก่บ้านพร้อมทั้งเมียและครอบครัวยอมรับกราบไหว้พญาเจ้าเมือง และอำลาโดยสวัสดิภาพ ก็เลยกลายเป็นขี้ข้าทาสรับใช้ขายสองคนที่ไปเรียนวิชาเมืองตักกสิลามา หลักวิชานั้นมีอยู่ว่า ยะหยังหื้อยะแท้ๆ ยะบ่แท้บ่ได้กิน

เล่ห์กลของขโมย

นิทานคติ
ยังมีเมืองๆ หนึ่งเป็นเมืองที่มีความมั่งคั่งร่ำรวยแต่ว่าผู้คนในเมืองนั้นเป็นคนที่ใสซื่อ วันหนึ่งมีกลุ่มมหาโจรแอบมาดูลาดราวยังในเมืองถึงความเป็นอยู่ว่าเป็นยังไง เพื่อที่จะ เข้าปล้นเมือง พอเจ้าโจรทั้งหลายมาดูและเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ก็กลับไปวางแผนการเข้าปล้นเมืองกัน คืนหนึ่งเจ้าโทรทั้งหลายก็เขียนประกาศไปติดเอาไว้ที่ตลาดซึ่งเป็นศูนย์กลางของเมืองพอรุ่งเช้าชาวเมืองทั้งหลายก็เข้าตลาดเพื่อที่จะไปจับจ่ายก็เห็นประกาศที่ติดเอาไว้ทั่ว ตลาด เด็กน้อยคนหนึ่งลูกเศษฐีคนหนึ่งในเมืองก็เอาใบประกาศนี้กลับมาให้กับพ่อของตนอ่านที่บ้าน “พ่อๆ ประกาศนี้เขียนว่าไงนะ” “ประกาศนี้บอกว่าอีก ๗ วัน ยักษ์จะมาที่เมืองนี้จับคนกินเป็นอาหาร ให้รีบตักน้ำกินกักตุนอาหารเอาไว้แล้วอย่าออกนอกบ้าน ถ้ามีเสียงดังอะไรหรือว่าเสียงประหลาด ก็อย่าออกบ้าน ถ้าเกิดออกจากบ้านยักษ์มันจะจับกินเป็นอาหาร... ไอ้ลูกชายรีบไปบอกคนของเราให้เตรียมตัวไปเร็วๆ” ลูกชายของเศรษฐีก็รีบไปจัดการตามที่พ่อของตนเองสั่ง หลังจากนั้นเจ็ดวันครบกำหนดที่ยักษ์จะมาเมืองนี้ทั้งเมืองนั้นเงียบราวกับไม่มีใครอยู่เลย ทุกคนในเมืองปิดประตูบ้านอยู่ในบ้านกันหมดเพราะกลัวที่ยักษ์จะมาและจะจับตนเองกินเป็นอาหาร ต่างก็อยู่ในบ้านปิดประตูอย่างแน่นหนา พอตกค่ำก็ได้มีเสียงดังกุกกัก เสียงดังโครมคราม หรือว่าเสียงแปลกๆ ดังขึ้นมาทั้งเมือง คนในเมืองก็ไม่มีใครที่จะออกมาดูซักคนเพราะคิดว่ายักษ์มาที่เมืองของตน จนถึงรุ่งเช้า ทุกคนไม่ได้ยินเสียงอะไรก็คิดว่ายักษ์เหล่านั้นไปจนหมดแล้ว ก็ต่างพากันออกมาดูภายนอกบ้านเรือนของตนว่าเกิดอะไรหรือว่าเป็นยังไงบ้างหลังจากที่ยักษ์ได้เข้ามายังเมืองของตนเอง มื่อทุกคนออกมาก็ต้อตกใจเพราะว่าข้าวของ ช้าง ม้า วัว ควายและทรัพย์สินหลายอย่างในเมืองในบ้านนั้นหายไป ทำให้เมืองนี้จากเมืองที่มั่งคั่งร่ำรวยก็กลับกลายเป็นเมืองที่ยากจนข้นแค้น เพราะถูกโจรเข้ามาปล้นเมืองกวาดเอาทรัพย์สินจนหมดเมือง นี่คือผลที่ได้รับจากการที่หลงเชื่อคนง่ายและไม่ใช้สติ และปัญญาในการคิดพิจารณาให้ถ้วนถี่ก่อนที่จะเชื่ออะไร

เศรษฐีขี้เหนียว

นิทานคติ
ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่งเป็นคนขี้เหนียวเป็นอย่างยิ่ง เศรษฐีมีบ้านหลังใหญ่ มีพื้นที่ในบริเวณบ้านมากมายหลายไร่ เศรษฐีให้คนใช้ปลูกผลหมากรากไม้นานาพันธุ์ไว้จนเต็มสวน เมื่อถึงฤดูออกดอกออกผล ผลไม้ในบ้านของเศรษฐีก็ออกลูกมาดกเป็นพวงน่ากินยิ่งนัก แต่เศรษฐีคนนี้เป็นคนขี้เหนียวมาก ผลหมากรากไม้ที่หล่นร่วงเต็มบ้าน เวลาใครมาขอกินก็ไม่ให้กิน คนที่มาขอผลไม้ร่วงนั้นกินก็ว่า “ทำไมพ่อเศรษฐีไม่ให้พวกเราล่ะ มันตกเรี่ยราดเต็มพื้นก็เน่าไปเปล่าๆ” เศรษฐีก็ว่า “มันจะเน่าก็เน่าบ้านข้า ไปหนักหัวใคร ใครจะมาว่ากูได้” เศรษฐีผู้นี้เป็นคนที่ขี้เหนียวเป็นที่สุด การทำบุญก็ไม่ทำเพราะว่ากลัวเปลืองเงินหรือว่ามันจะสูญเปล่า วันหนึ่งเศรษฐีขี้เหนียวก็ได้ตายไป พอตายไปแล้วก็ได้เข้าไปเกิดในท้องของยาจกหญิงคนหนึ่ง ยาจกหญิงคนนี้เป็นคนที่ไปขอทานที่ไหนหรือว่าไปที่แห่งใดนั้นก็ไม่เคยที่จะอดหรือว่าขอเงินไม่ได้ แต่ว่าเมื่อเศรษฐีขี้เหนียวนี้มาปฏิสนธิในท้องของนาง นางไปหากินหรือว่าไปขอทานที่ไหนก็ไม่เคยที่จะได้เลย นางไม่รู้ที่จะทำอย่างไรดีจึงไปปรึกษาเจ้าอาวาสวัด “นมัสการเจ้าค่ะท่าน คือว่าตัวข้านะเจ้าคะ เมื่อก่อนนั้นไปขอทานที่ไหนหรือว่าไปหากินที่ไหนก็ไม่เคยอดเลย แต่ว่าพอตัวข้านี้เกิดท้องขึ้นมาแล้วไปที่ไหนหรือว่าทำอะไรก็ไม่ได้ อยู่อย่างอดๆ อยากๆ นะเจ้าคะ ข้าอยากรู้ว่ามันเพราะอะไรเจ้าคะ” พระก็ตรวจดวงชะตาของนางแล้วก็ว่า “โอ้ นี่นาง เศรษฐีขี้เหนียวนั้นได้ตายแล้วมาเกิดในท้องของนางนะจึงทำให้เกิดผล อย่างที่นางเป็นอย่างนี้นะ ไม่มีใครอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้มันนะ นางต้องหมั่นทำบุญเยอะๆ เพื่อที่จะลดความยกลำบากลงนะ” หลังจากนั้นนางยาจกก็ได้ทำตามคำแนะนำของเจ้าอาวาส ขอทานแบ่งเงินทำบุญตามกำลังของนางนั้นจากที่อดๆ อยากๆ ก็ค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ จนนางนั้นพออยู่พอกิน ไม่ต้องอดอยากเหมือนแต่ก่อน

โลภมาก ลาภหาย

นิทานคติ
มีชายสองเป็นคนยากจนเครื่องนุ่งเครื่องห่มก็ไม่มี ผ้าเสื้อก็ขาดหวิ้นชาวบ้านชาวต่างก็รังเกียจ ทีนี้ทั้งสองก็คุยกันว่า “โฮ้ เราจะไปตามหน้าบุญตามกรรมดีกว่า เป็นอย่างไรก็ช่างมัน เราจะเข้าไปในป่าในดง ในป่าที่สงัด” “เอ้า ถ้าเจ้าไปเราก็ไปด้วย” แล้วทั้งสองก็พากันเข้าไปป่าจนตะวันตก “เอ้าคืนนี้เรานอนที่นี่แหละ” “นอนก็นอน” “เราจะนอนอย่างไร” “เราก็นอนเอาตีนต่อกัน ดูว่ามันจะเป็นอย่างไร” ทั้งสองก็นอนหงายเอาเท้าชนกัน คนหนึ่งแสร้งกรนดังครอก ครอก ครานั้นเทวดาก็มาโปรดทั้งสองคน เทวดาก็เนรมิตเป็นกระต่ายวิเศษมาสองตัว ออกป่ามาเห็นชายทุคตะสองคนก็เอ่ยขึ้นว่า “โอ้ คนสองหัว เสื้อผ้าก็ไม่มี เราจะโปรดเขา เอาไปขว้างหลุมเงินคนหนึ่ง ขุมทองคนหนึ่ง” “เอ้อ ตกลง” จากนั้นกระต่ายวิเศษก็พากันหามทั้งสองมา “เอาคนหนึ่งไปขว้างหลุมเงิน เอาอีกคนไปขว้างขุมคำ” พอกระต่ายไปไกล ทั้งสองก็เก็บเงินเก็บคำใส่ห่อเสื้อ แล้วก็มาบ้านเก่า มาหาคนที่ด่ามันทั้งสอง “เจ้าไปทำอะไรมานะ” “เราก็ไปตามกรรมตามเวรของเราในป่านั่นนะสิ” “เจ้าเข้าไปไกลไหม?” “เดินไปทั้งวันนะสิ ค่ำไหนก็นอนที่นั่น” สองคนที่ชอบว่าให้เจ้าสองคนยากจนเป็นประจำคิดโลภ อยากที่จะได้ข้าวของทรัพย์สมบัติเหมือนกับเจ้าสองคนที่เข้าไปในป่านั้น ทีนี้คนที่คิดโลภทั้งสองนั้นก็ชวนกันไป เข้าไปในป่าเรื่อยๆ ก็เป็นเวลาเย็นย่ำลงแล้วทั้งสองก็พากันไปนอนเอาตีนชนกันเหมือนที่ชายยากจนทั้งสองบอก ซักพักกระต่ายก็มาอีกแล้วก็เจรจาการกันเหมือนเดิม “เราจะมาโปรดเขาซักหน่อย” “เออ ทำไมเรามาพบแต่คนสองหัวนะ นี่เจออีกแล้วเราเอาไปหลุมเงินคนหนึ่ง หลุมทองอีกคนเนาะ” กระต่ายทั้งสองก็หามไป แต่ยังไม่ถึงหลุมเงินทอง ไอ้คนที่มาทีหลังนั้นก็เกิดความโลภเลยกล่าวขึ้นว่า “ขอเอาข้าไปหลุมทองนะ” กระต่ายวิเศษทั้งสองตัวสะดุ้ง ก็เลยทิ้งเอาไว้อย่างนั้น มันก็เลยกลับมาบ้านโดยไม่ได้อะไรเลย

ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว

นิทานคติ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีสองคนผัวเมียคู่หนึ่งมีลูกเล็กหนึ่งคน ลูกชายนั้นกำลังอยู่ในวัย ช่างพูด เห็นอะไรก็พูดแจ้วๆ ครอบครัวนี้นอกจากจะอยู่กันสามคนพ่อแม่ลูกแล้วยังมีพ่อเมียหรือพ่อตา ซึ่งก็คือตาของเด็กน้อยอาศัยอยู่ด้วย แต่พ่อเมียคนนี้ขี้บ่นพูดมาก บ่นได้ทั้งวัน พ่อของเด็กน้อยซึ่งเป็นลูกเขยก็รำคาญมาก จึงบ่นกับเมียของตนว่า "พ่อน่ะ พูดมากขี้บ่น พูดอยู่ได้ทั้งวัน มีแต่หาเรื่องมาด่ามาว่าข้า ข้าไม่ชอบ รำคาญ ข้าจะเอาพ่อไปปล่อยไว้ในป่าละนะ" แม่ของเด็กก็ไม่กล้าขัดเพราะกลัวและตามใจผัวของตน ฝ่ายผัวจึงไปจ้างชาวบ้านสานก๋วยหรือเข่งใบใหญ่ใส่คนเข้าไปได้มาใบหนึ่ง พอเอาก๋วยเข้ามาในบ้าน ลูกชายตัวน้อยคนนั้นก็มาเมียงๆ มองๆ ดู คนเป็นพ่อก็ไม่กล้าอุ้มพ่อเมียใส่ก๋วย เพราะกลัวลูกเองจะเห็น ก็รอจนลูกชายของตนหลับเสียก่อน แต่รอจนดึกลูกชายก็ยังไม่หลับ ก็ทนไม่ไหวจึงอุ้มเอาพ่อเมีย ใส่ในก๋วยใบนั้น ฝ่ายพ่อตาสะดุ้งตื่นรู้สึกตัวแล้วก็ถามลูกเขยเสียงดังว่า “นี่มึงจะเอากูไปไหน” ลูกเขยจึงตอบไปด้วยอารมณ์ฉุนเฉียวว่า "โหะ จะเอาไปไหนล่ะ ก็เอาไปปล่อยน่ะสิ อยู่บ้านก็หนักบ้าน พูดมากปากนักอย่างนี้รำคาญ" ทั้งคู่ต่างตะโกนเสียงดัง จนลูกชายตัวน้อยตื่นขึ้นมา ลุกขึ้นมาเห็นพ่อกับแม่ของตนกำลังอุ้มตาใส่เข่งแบกขึ้นบ่าจะออกไปนอกบ้าน เด็กน้อยจึงตะโกนเรียก "พ่อๆ" เด็กน้อยตะโกนเรียกอยู่อย่างนั้นจนพ่อกับแม่หันมา "จะเรียกพ่อทำไมนักหนา ไอ้หนู" เด็กน้อยจึงตะโกนตอบพ่อไปว่า "ถ้าพ่อเอาตาไปปล่อยแล้ว พ่อเอาเข่งมาให้ผมด้วยนะ" ผู้เป็นพ่อสงสัยจึงถามไป "เอ็งจะเอาเข่งมาทำอะไร" "ก็ถ้าพ่อแก่เหมือนตา ผมจะเก็บเอาไว้ใส่พ่อไปปล่อยมั่งน่ะสิ" พ่อกับแม่ของเด็กน้อยได้ยินอย่างนั้นก็เข่าอ่อน เดินต่อไม่ไหว รู้สึกสำนึกผิดจึงอุ้มพ่อกลับเข้ามาในบ้านเหมือนเดิมแล้วก้มลงกราบขอขมา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ไม่ว่าพ่อตาจะบ่นหรือพูดมากยังไง คนเป็นพ่อก็พยายามทำใจเสีย ไม่กล้าคิดจะเอาพ่อตาไปปล่อย ไปทิ้ง เลย

ได้-เสีย

นิทานคติ
กาลครั้งหนึ่ง มีเศรษฐีคนหนึ่งเป็นคนธัมมะธัมโม รู้กฎธรรมชาติเป็นอย่างดี แต่ลูกเมียและคนในบ้านเป็นคนไม่สนใจในหลักธรรมใดๆ เลย เศรษฐีมีม้าแสนรู้อยู่ตัวหนึ่ง เศรษฐีและคนในบ้านรักมัน ต่างดูแลมันอย่างดี อยู่มาวันหนึ่งเจ้าม้าแสนรู้ตัวนั้นหายออกจากบ้านไปโดยที่ใครก็ไม่รู้ ลูกเมียของเศรษฐีต่างโศกเศร้าเสียใจเป็นการใหญ่ เศรษฐีก็ปลอบลูกปลอบเมียว่า “สงบใจกันเสียเถอะ เรื่องได้เรื่องเสียนั้นเป็นของธรรมดา ให้คิดเสียเวลา ตอนที่ได้ม้ามานั้นทำไมเราถึงได้มา ตอนนี้มันหายไปก็ให้คิดว่าทำไมมันถึงหายไป มันหายไปแล้วก็ หายไป มันอาจจะมีอะไรดีๆ มาตอบแทนเราก็ได้ อย่าเสียใจไปเลย หยุดร้องไห้เสียเถอะ” ลูกเมียและคนใช้เมื่อได้ฟังดังนั้นก็ต้องจำใจนิ่งแล้วหยุดร้องไห้ตามคำตักเตือนของเศรษฐี แต่ใจจริงของทุกคนนั้นไม่เชื่อ คำพูดของเศรษฐี เพราะคิดว่าไม่มีอะไรมาแทนได้ หรอก อยู่มาไม่ช้าไม่นานเจ้าม้าแสนรู้ของเศรษฐีที่ความจริงแล้วมันหลุดออกจากคอกไปเที่ยวในป่า ก็เลยไปอยู่รวมกับฝูงม้าป่าเสียหลายวันนั้น ก็เกิดคิดถึงบ้าน ก็จึงกลับมาบ้านเศรษฐีพร้อมด้วยม้าป่าอีกหลายสิบตัวที่ตามมาด้วย ฝ่ายลูกเมียของเศรษฐีและคนใช้เมื่อเห็นม้าป่าหลายสิบตัวตามมาในบ้านก็ดีอกดีใจกันมาก ไปขอร้องให้เศรษฐีทำบุญรับขวัญม้า ท่านเศรษฐีก็ปรามว่า “อย่าเพิ่งดีใจกันนักเลย ตอนม้าหายไปเสียใจกันใหญ่ ตอนนี้เราได้ม้ามาหลายตัว แต่ต่อไปเราจะเสียอะไรไปก็ไม่รู้ เวลาได้อย่าแสดงอาการจนเกินไป การแสดงอาการดีใจง่ายๆ เสียใจง่ายๆ ไม่ใช่หลักของคนฉลาด มันเป็นหลักของคนโง่” เมื่อได้ฟังดังนั้น ลูกเมียก็จำใจงดการฉลองรับขวัญม้า ต่อมาไม่นานนัก ลูกชายของเศรษฐีซึ่งเป็นลูกชายคนเดียวเกิดอยากจะขี่ม้าขึ้นมา ม้าแสนรู้ตัวเก่าซึ่งถือว่าเป็นวัวเคยขาม้าเคยขี่ ก็ไม่อยากจะขี่เพราะขี่จนชิน อยากจะลองขี่ม้าตัวใหม่ซึ่งตามม้าแสนรู้มา ลูกชายเศรษฐีก็กระโดดขึ้นหลังม้าป่า ซึ่งไม่เคยฝึกมาก่อน ม้าก็สะดุ้งตกใจลอดเข้าใต้ถุนบ้าน ลูกชายเศรษฐีหัวฟาดกับเสาหัวแตก ตอนที่ม้าลอดเข้าใต้ถุนบ้าน แข้งขาหักถึงกับร่างกายพิการ ภรรยาเศรษฐีและคนทุกคนในบ้านเสียอกเสียใจกันเป็นการใหญ่ เศรษฐีเลยห้ามปรามคนทั้งหลายให้ทราบว่า “เห็นไหม ข้าเคยบอกแล้วว่าเมื่อเราได้ม้ามาแล้วมันก็อาจเสียอะไรต่อไปอีก ตอนนี้เราก็เสียลูกเพราะลูกพิการ แต่อย่าไปเสียใจอะไรเลย ต่อไปเราอาจจะได้อะไรที่เราคาดไม่ถึงก็ได้ เฉยๆ ไว้ก่อนเถอะ อย่าเพิ่งตีโพยตีพายไป” หลังจากนั้นไม่นาน ปรากฏว่าทางบ้านเมืองเกิดสงคราม ทางราชการต้องเกณฑ์ชายฉกรรจ์ในบริเวณบ้านเศรษฐีไปรบ แต่ละคนล้มตายกันหมดเพราะภัยของสงคราม ส่วนลูกเศรษฐีได้รับการยกเว้นเพราะร่างกายพิการ ถ้าไม่พิการก็ต้องถูกเกณฑ์ไปรบ ก็คงต้องตายในสนามรบเป็นแน่น ลูกเมียภายในบ้านก็พากันดีใจ “โชคดีแท้ ๆ ลูกเราไม่ต้องได้ออกรบ ไม่ต้องไปตาย” เศรษฐีก็บอกอีกว่า “อย่าไปดีใจมันอาจจะมีอะไร เป็นผลเสียตามมาอีกก็ได้” และแล้วก็เป็นจริงอย่างที่เศรษฐีคาดไว้ ทางการแจ้งว่าเศรษฐีมีลูกพิการช่วย เหลือราชการบ้านเมืองไม่ได้ แต่มีม้าหลายตัว ทางการจึงขอม้าของเศรษฐีไปทั้งหมดเพื่อจะเอาไปใช้ในสงคราม ลูกเมียเศรษฐีก็พากันเสียใจ เสียดายม้า ขอร้องเศรษฐีว่าม้าทั้งหมดยกให้ ทางการ แต่ขอให้เก็บม้าแสนรู้ไว้ตัวหนึ่งแล้วกัน เศรษฐีเลยบอกให้ลูกเมียและคนในบ้านว่า “อย่าขอมันเลยม้าตัวนี้ มันทำให้เราดีใจเสียใจมากกี่ครั้งแล้ว ถ้าเราให้เขาไปเสียหมด ตัวเสียมันก็หมด มันต้องได้หมดได้แล้วเสียหมดกันอยู่ทีหนึ่ง “ นิทานเรื่องนี้จึงสอนให้รู้สึกว่า ไม่มีใครที่จะได้ตลอดไป เมื่อมีได้ก็ย่อมมีเสีย จึงควรจะตระหนักถึงกฎธรรมชาติข้อนี้ไว้ จะได้ไม่เสียใจหรือดีใจมากเกินไปจนทำให้ชีวิตผิดพลาด

ไม้เท้าดีกว่าลูกเต้าลืมคุณ

นิทานคติ
ในสมัยก่อนนั้น มีพราหมณ์เศรษฐีคนหนึ่งอยู่ในเมืองสาวัตถี มีข้าวของสมบัติมหาศาล มีสมบัติแปดแสน และมีลูกผู้ชายสี่คน เมื่อลูกทั้งสี่คนนี้ใหญ่หน้ากล้าบานเติบใหญ่ขึ้นมาเป็นหนุ่มพอที่จะมีหอมีเรือนมีลูกมีเมียได้แล้ว พ่อก็ไปหาเมียให้แล้วก็สร้างเรือนหอให้ลูกทั้งสี่คน ทั้งสี่พี่น้องก็ได้ลงไปอยู่เรือนใครเรือนมันคนหลังๆ แบ่งทรัพย์สมบัติให้คนละหนึ่งแสน สี่คนก็สี่แสน มอบทรัพย์สมบัติให้เรียบร้อยแล้ว พออยู่ต่อมาไม่นานแม่ของทั้งสี่นั้นก็ได้ตายลงไปตามธรรมดาของสังขาร เมื่อแม่ตายไปแล้วลูกก็มาคิดว่า “เอ กลัวพ่อเราไปได้เมียใหม่ แล้วก็ทรัพย์สมบัติทั้งหลายที่เหลือที่ค้างอยู่ 4 แสนนั้นจะตกไปเป็นของลูกใหม่เมียใหม่ไหมหนอ” ลูกทั้งหลายก็พากันคิด แล้วก็คุยกันปรึกษาหารือกันว่า เราทั้งสี่คนนี้ช่วยกันดูแลพ่อให้ดีๆ หมั่นตักน้ำ หาข้าวปลาอาหารให้พ่อได้อยู่ดีกินดีมีสุข ตักน้ำ เช็ดบ้านถูเรือน ปูที่นอน ซักผ้าซักผ่อน น้ำอุ่นน้ำเย็น ดูแลให้ดีที่สุดแล้วก็ออกอุบายให้พ่อขายทรัพย์สมบัติ ขายหอขายเรือนเสียแล้วก็นำสมบัติทั้งสี่แสนที่เหลืออยู่นี้เอามาแบ่งลูกๆ ให้มันครบทุกคนนัดหมายกันอย่างนี้และก็บอกกับพ่อของตนเองตามที่วางแผนกันไว้พร้อมทั้งบอกกับพ่อว่า “พ่อจะไปอยู่กับลูกคนใดก็ได้ สบายมาก” พ่อก็ตกลงขายหอขายเรือน แบ่งเป็นสี่ส่วน ให้ลูกทั้งสี่คนแล้วก็พราหมณ์เฒ่าเศรษฐีก็ไปอยู่กับลูกคนโต อยู่เมื่อระยะแรกนั้นก็ดีอยู่ พูดจาปราศรัย เลี้ยงข้าวปลาอาหาร อุปัฏฐากดี อยู่นานไปจะเริ่มออกลวดลายแสดงออกทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางจิตใจบ้าง ลูกสะใภ้ทำไม่ดีกับพ่อผัวแช่งหมูแช่งหมา ด่าเป็ดด่าไก่เป็นทำทีขมึงทึงต่อพ่อ พ่อก็รู้ว่าลูกสะใภ้ทำเหน็บแนมตน ลูกตัวเองไปฟังคำเมียพ่อก็โกรธ ก็หนีจากลูกคนโตไปอยู่กับลูกคนที่สอง อยู่นานไปก็เป็นเหมือนอยู่กับลูกชายคนโตพ่อก็โกรธให้ลูก หนีไปอยู่กับคนที่สามอยู่ไม่ ่ถึงสิบวันก็เป็นเช่นเดิมเหมือนกับไปอยู่กับลูกคนโตและคนที่สอง พ่อก็หนีไปอยู่กับ ลูกคนที่สี่คนสุดท้าย อยู่เข้าไม่ถึงเจ็ดวันก็เป็นเหมือนเดิมอีกเหมือนกับลูกคนโต คนที่สอง คนที่สาม พ่อก็ไม่สบายใจ ตัดสินใจ “หนีดีกว่าโว้ย” เลยหนีไปไม่ได้อยู่ดีกินดี ไม่ได้กินอิ่ม เสื้อผ้าก็ไม่ดี ร่างกายก็หม่นเล้าเศร้าหมอง ไม่อ้วนพีดีงามสมบูรณ์เหมือนแต่ก่อน พราหมณ์เศรษฐีก็รู้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าท่านทรงมีเมตตาต่อสัตว์โลก ต่อมนุษย์ทั้งหลาย รู้ข่าวอย่างนั้นก็หนีไปหาพระพุทธเจ้า ก็เดินถือไม้เท้าไปหาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ามีที่ไหนก็ค่อยกระทำเพียรเดินทางไปหาพระพุทธเจ้าไปถึงก็เอา ไม้เท้าวางลง แล้วก็ไปกราบพระพุทธเจ้าเล่าเรื่องราวให้พระพุทธเจ้าฟัง พระพุทธเจ้าก็สอนคาถาให้พราหมณ์ว่า “เยหิ จาเตหิ นันทิสัง” สอนวิธี สอนกุศโลบายให้พราหมณ์ แล้วพราหมณ์เฒ่าเศรษฐีก็ลาพระพุทธเจ้าจะกลับมาหาลูกมาถึงศาลานอกบ้าน ก็พอดีวันนั้นเป็นวันประชุม ประชุมศรัทธาชาวบ้าน พราหมณ์เฒ่าก็เห็นลูกทั้งสี่คนมีในที่ประชุมนั้นพอดี พราหมณ์ก็เลยถามว่า “เอ วันนี้พ่อลุงไปเรียนคาถาจากพระพุทธเจ้ามา ใคร่เอามาเล่า แล้วท่านสูเจ้าทั้งหลายนี่จะว่าอย่างใด” หมู่ที่ประชุมก็ว่า “ขอลุงได้เล่าเรื่องคาถาให้ฟัง อยากใคร่รู้ใคร่ได้ยิน ได้ฟังบ้าง” “เออ เมื่อสูเจ้าทั้งหลายใคร่ได้ยิน ลุงก็จะเล่าสู่กันฟัง คือว่า ลูกเต้าลุงทั้งสี่คนนี้ปฏิบัติต่อพ่อไม่ถูกตามหลัก ไม่ถูกตามหน้าที่ของลูกของเต้า กระทำประพฤติในทางที่ไม่ถูก ทำให้เกิดความไม่ราบรื่น ไม่มีความชุ่มเย็นเป็นสุข อยู่กับลูกเต้ามีแต่ความทุกข์กายทุกข์ใจ ไม่ได้กินอิ่มนอนหลับ ลูกสะไภ้ก็ไม่ดีลูกตัวก็ไปฟังคำเมียเสีย นี่ละเขาถึงว่าไม้เท้าดีกว่าลูกเต้าลืมคุณ ไม้เท้ามันดีหลายอย่าง เวลาวัวควายสัตว์มาหาก็เอาไล่ก็ได้ หมามาหาก็เอาไล่หมูหมาก็ได้ ตะวันตกต่ำไม่เห็นหนทางก็เอาไม้เท้านี้กวัด ๆ แกว่ง ๆ เดินทางไปที่ไหนมันจะเป็นเหวเป็นหลุมเป็นบ่อ จะตกจะหล่นก็ใช้ไม้เท้านี้ควานไปอย่างกับคนตาบอดก็ได้ ดีกว่าลูกของพ่อลุงนี้เป็นไหนๆ” ในสมัยนั้นมีกฎหมายอาชญาบ้านเมือง ระบุว่าให้ฆ่าคนที่เป็นลูกเป็นเต้าลืมคุณพ่อแม่ ผู้เนรคุณไม่อุปัฏฐากไม่เอาใจใส่ด้วยข้าวปลาอาหาร ปล่อยปะละเลยเฉยเมย มิหนำซ้ำยังด่ายังแช่ง ยังเสียดสีต่างๆ นานา ในที่ประชุมนั้นเขาก็พร้อมใจกันเอะอะโวยวายขึ้นมาจะฆ่าไอ้สี่คนนั้นว่าเป็นผู้ที่ลืมบุญคุณพ่อแม่ ทีนี้พ่อก็กลัวลูกตาย เอ็นดูลูก รักลูก ห่วงลูกอยู่ จิตใจพ่อเป็นอย่างนี้ ยังรักยังห่วงลูกอยู่ พ่อก็ขอชีวิตลูกไว้ “ขออย่าฆ่าลูกข้าเลย อุ่นใจภายหน้าจะได้เลี้ยงพ่อยามเฒ่ายามแก่ ยามชรา จะขออภัยขอชีวิตลูกข้าไว้เถอะนะ” ทีนี้ลูกมาก็มาสะดุ้งกลัวต่ออาชญา ก็เลยกลับใจใหม่ ก็ว่า “ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าจะอุปัฏฐากพ่ออย่างดี เลี้ยงข้าวน้ำปัจจัย ตักน้ำอาบ น้ำกิน เช็ดบ้านถูเรือน ปูที่นอน ซักผ้า น้ำอุ่น น้ำเย็นพร้อมไม่ให้พ่อได้ทุกข์เหมือนหลังแล้ว” ทีนี้พ่อก็ได้อยู่กับลูก ต่อจากนั้นมามีความสุขสบายหายทุกข์กายทุกข์ใจ มีผิวพรรณวรรณะอันผ่องใสมา สบายมา พราหมณ์สบายแล้วก็มานึกถึงคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “ที่กูได้สบายหายจากทุกข์มานี้ ก็เพราะพระพุทธองค์ท่านมีเมตตากรุณาแก่มนุษย์” พราหมณ์เศรษฐีนึกถึงคุณพระพุทธเจ้าแล้วก็เอาผ้าเนื้อดี ไปถวายพระพุทธเจ้าสองผืนพระพุทธเจ้าท่านก็รับเอา แล้วก็ให้พรให้โอวาท พราหมณ์เศรษฐีก็ได้รับความเข้าอกเข้าใจชื่นใจในพระธรรมเทศนาก็เลยรับเอาแก้วทั้งสามเป็นที่พึ่ง ตั้งแต่นั้นมากลับมาอยู่กับลูกเหมือนเก่าเหมือนหลัง ได้รับความสุขสบายทุกอย่าง ลูกเต้านั้นก็ปฏิบัติดีตามหน้าที่ที่ดีของลูกทั่วไป ลูกทั้งสี่คนนี้พากันส่งขันข้าวให้พ่อทุกวันๆ ไหนสี่ขัน ทีนี้พราหมณ์เฒ่าเศรษฐีก็ใคร่ใส่บาตร ก็ขอนิมนต์พระพุทธเจ้าว่า “ขอนิมนต์พระพุทธเจ้ามาบิณฑบาตที่บ้านข้านี้ทุกวัน ข้าได้รับขันข้าวสี่ขัน ก็จะเอาทานถวายพระพุทธเจ้าสองขัน ขอนิมนต์พระพุทธองค์มาโปรดทุกวันเถอะ” “ธรรมดาตามธรรมเนียมของพระพุทธองค์ทั่วไปจะโปรดสัตว์ในสถานที่ทั่วไปไม่เลือก คือให้คนทั้งหลายได้ใส่บาตรโดยทั่วถึงกัน” ความประสงค์ของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนั้น ทีนี้รุ่งเช้าอีกวัน ลูกชายคนก็คิดอยากจะทำบุญตักบาตรกลางเรือน สืบชาตา ก็มาปรึกษากับพ่อว่า “เอ ผมจะทำบุญ เราจะไปหาใครมาเป็นทำพิธี มาให้ศีลให้พร” พ่อก็บอกว่า “ไม่ยากลูก พ่อจะไปอาราธนานิมนต์พระพุทธเจ้าให้ท่านมาโปรดเป็นประธาน ไม่เป็นไรพ่อจะจัดการให้” พ่อก็เลยไปนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมกับพระสงฆ์ทั้งหลายมารับบิณฑบาตมาสวดมนต์ มาให้ศีลให้พร สืบชะตา เมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมพระสงฆ์ทั้งหลายได้มาถึงบ้าน ให้โอวาทว่า “การอุปัฏฐากบิดามารดาพ่อแม่นั้น เป็นบุญเป็นกุศลเป็นมงคลอันประเสริฐล้ำเลิศแก่ลูกเต้าทั้งหลายจะมีความสุขความเจริญทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ไปทางไหนก็ไม่ให้จน ไม่อดไม่อยากไม่มีภัย ไม่มีเวร เรียกว่ามีความสุขทั้งในชาตินี้และชาติหน้า มีอมตะ มหานิพพาน ลูกเต้าปฏิบัติดีต่อพ่อแม่เป็นสิ่งที่น่าอนุโมทนาสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าตายไป ชาติหน้าก็จะไปจุติในสวรรค์ชั้นฟ้า ได้ไปเสวยความสุข” อันนี้เป็นอานิสงส์ที่ลูกได้อุปัฏฐากต่อพ่อแม่ แต่ถ้าว่าตรงกันข้าม ถ้าลูกเต้าลืมคุณมันก็ไม่มีความหมาย ไม้เท้านี้ยังดีกว่าลูกเต้าลืมคุณ