จำนวน 29 รายการ

จอมะเขือมื่น

หมวดจอ
มะเขือมื่น หมายถึง มะเขือละโว้ หรือ กระเจี๊ยบขาว

ตำบ่าถั่ว

หมวดตำ
ตำบ่าถั่ว เป็นคำเรียกชื่ออาหารประเภทตำอีกอย่างหนึ่ง โดยนำถั่วฝักยาวสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และนำไปโขลก มีเครื่องปรุงคือ พริกสดเผา กระเทียมเผา หอมแดงเผา กะปิหรือปลาร้าห่อใบตองหมกไฟจนมีกลิ่นหอม ตำบ่าถั่วอาจใส่แคบหมู หรือปลาแห้งย่างสุกก็ได้ โดยแกะเอาแต่เนื้อปลามาโขลกรวมกับเครื่องปรุง หากใส่แคบหมูก็โขลกรวมกับเครื่องปรุงจนละเอียด แล้วนำถั่วฝักยาวที่หั่นเตรียมไว้มาโขลกรวมกับเครื่องปรุงและแคบหมูหรือปลาแห้ง โขลกพอแหลกเข้ากันดี เติมน้ำปลาเล็กน้อย ตักใส่จาน หากชอบความกรอบและเปรี้ยวเล็กน้อยให้บีบมะนาวลงไป แต่บางคนไม่ชอบรสเปรี้ยวก็ไม่บีบมะนาวก็ได้ รับประทานแนมกับผักสด เช่น ยอดกระถิน ผักกาดอ่อน ฯลฯ

น้ำพริกจิ๊นหมู

หมวดน้ำพริก
ส่วนผสม หมูบด พริกสด หอมแดง กระเทียม เกลือ ต้นหอม ผักชี เครื่องเคียง แตงกวา มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว กระถิน ผักกาดลวกหรือนึ่ง ฟักทองนึ่ง

น้ำพริกจี้กุ่ง หรือน้ำพริกจิกุ่ง

หมวดน้ำพริก
จี้กุ่ง หมายถึง จิ้งหรีด เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะค่อนข้างแห้งถึงข้น ชนิดของพริกที่นิยมใช้คือ พริกหนุ่ม หรือพริกดิบ จะใช้จี้กุ่งต้มหรือย่างไฟก็ได้ ส่วนผสม พริกหนุ่ม หอมแดง กระเทียม เกลือรับประทานกับเครื่องเคียง ผักกาดอ่อน (ทางเหนือเรียก ผักกาดหน้อย) ยอดกระถิน มะเขือเปราะ แตงกวา ถั่วฝักยาว

น้ำพริกตาแดง

หมวดน้ำพริก
อ่านว่า น้ำพิกต๋าแดง ความหมาย คือ เผ็ดจนร้องไห้ตาแดงนั่นเอง บ้างเรียก น้ำพริกแดงเพราะใช้พริกแห้งที่ทำให้สีของน้ำพริกแดงสด เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้นเหนียว มีส่วนผสมหลักคือ พริกแห้ง ปลาร้า ปลาแห้ง บางสูตรไม่นิยมใส่ปลาแห้ง หอมแดง กระเทียม และเกลือ รับประทานพร้อมเครื่องเคียงทั้งผักสด เช่น แตงกวา มะเขือเปราะ หรือผักลวก ผักนึ่ง เช่น ผักกาด ฟักทอง กระเจี๊ยบ ถั่วพู ถั่วฝักยาว ฯ

น้ำพริกถั่วเน่าแข็บ

หมวดน้ำพริก
คำว่า แข็บ หมายถึง ลักษณะเป็นแผ่นแห้ง หรือ กรอบ เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้นเหนียว มีส่วนผสมหลักคือ พริกแห้ง ถั่วเน่าแข็บ (ถั่วเหลืองต้มเปื่อย ตากแห้งเป็นแผ่น) กระเทียม เกลือ มะนาว เครื่องเคียง ได้แก่ แตงกวา มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว กระถิน ผักกาด ผักสดอื่นตามชอบ

น้ำพริกน้ำผัก

หมวดน้ำพริก
เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้นถึงขลุกขลิก คำว่า น้ำผัก หมายถึงอาหารที่ทำจากผักกาดเขียวแก่ทั้งต้นดองประมาณ ๒ วัน ให้มีรสเปรี้ยว นิยมรับประทานกับแคบหมูและผักขี้หูด มีส่วนผสมดังนี้ ผักกาดเขียว ข้าวนึ่ง น้ำซาวข้าว เกลือเม็ด พริกแห้ง กระเทียม มะแขว่น เกลือป่น ต้นหอม ผักชี

น้ำพริกปลา หรือน้ำพิกป๋าจี่

หมวดน้ำพริก
ป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้นถึงขลุกขลิก โดยเอาน้ำต้มปลาใส่ลงไป มากน้อยแล้วแต่ชอบ บางสูตรใช้ปลาช่อนย่างไฟ หรือปลาดุก หรือปลาชนิดอื่น ชนิดของพริกที่นิยมใช้คือ พริกสด ถ้าชอบเผ็ด ให้ใช้พริกชี้ฟ้า เครื่องเคียงที่นิยมรับประทานกับน้ำพริกปลา คือ ยอดผักแว่น ผักกาดอ่อน (ทางเหนือเรียก ผักกาดหน้อย) ยอดกระถิน มะเขือเปราะ ส่วนผสมคือ ปลาช่อน พริกชี้ฟ้า หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ กะปิ เกลือ ต้นหอม ผักชี

น้ำพริกอ่อง

หมวดน้ำพริก
น้ำพริกอ่อง คำว่า อ่อง หมายถึง เคี่ยวไฟอ่อนจนงวด มีน้ำขลุกขลิก นับเป็นน้ำพริกพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายพอๆ กับน้ำพริกหนุ่ม ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่อง คือมีสีส้มของมะเขือเทศและพริกแห้งที่เคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิก มีน้ำมันลอยหน้าเล็กน้อย มีสามรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด เล็กน้อย และรสหวานตาม นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักลวกก็ได้ บางสูตร ผัดหมูก่อนแล้วจึงตามด้วยเครื่องปรุงและมะเขือเทศภายหลัง บางสูตร โขลกเนื้อหมู เครื่องปรุงและมะเขือเทศให้เข้ากันก่อน จึงนำไปผัดกับน้ำมัน บางสูตรใส่ถั่วเน่าแข็บหรือใส่เต้าเจี้ยว ในการปรุงรส ส่วนผสมคือ พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม กะปิ หมูบด มะเขือเทศลูกเล็ก ต้นหอม ผักชี น้ำมันสำหรับผัด รับประทานกับเครื่องเคียง เช่น แตงกวา มะเขือเปราะ กะหล่ำปลีสด หรือผักลวก เช่น ผักกาดเขียว มะเขือม่วง ถั่วฝักยาว ถั่วพู เครื่องเคียงอื่น เช่น แคบหมู หนังปอง (หนังควายทอดจนพอง คล้ายแคบหมู)

น้ำพริกฮ้าหมก หรือน้ำพริกปลาร้า

หมวดน้ำพริก
คำว่า หมก หมายถึง เผาในขี้เถ้าร้อนๆ หรือถ่านไฟแดงๆ ส่วนผสมคือปลาร้า พริกสด หอมแดง กระเทียม มะเขือเทศลูกเล็ก เกลือ รับประทานกับเครื่องเคียง คือผักลวก หรือผักนึ่ง เช่น ผักกาดเขียว กะหล่ำปลี ฟักทอง กระเจี๊ยบ ถั่วฝักยาว ถั่วพู มะเขือม่วง ฯ

น้ำพริกเห็ดหล่ม

หมวดน้ำพริก
น้ำพริกเห็ดหล่ม คำว่า เห็ดหล่ม หมายถึง เห็ดพื้นบ้านถิ่นเหนือชนิดหนึ่ง มีลักษณะดอกหนา สีครีมเข้ม มีกลิ่นหอม เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะค่อนข้างแห้งถึงข้น ชนิดของพริกที่นิยมใช้คือ พริกสด จะเป็นพริกชี้ฟ้า หรือพริกพันธุ์ใดก็ได้ ถ้าชอบเผ็ด ให้ใช้พริกชี้ฟ้า ส่วนผสมอื่นคือหอมแดง กระเทียม กะปิ รับประทานกับ แตงกวา มะเขือเปราะ ผักลวกหรือผักนึ่ง เช่น ผักกาดเขียว ฟักแม้ว (มะเขือเครือ) ถั่วฝักยาว ฯ

น้ำพริกแคบหมู

หมวดน้ำพริก
ส่วนผสม แคบหมู พริกสด หอมแดง กระเทียม เกลือ ต้นหอม ผักชี เครื่องเคียง ได้แก่ แตงกวา มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว กระถิน ผักกาด ผักสดอื่นตามชอบ ย่างพริก หอมแดง กระเทียม แล้วแกะเปลือกออก นำมาโขลกรวมกันกับแคบหมูและเกลือ ตักใส่ถ้วยคนให้เข้ากัน โรยหน้าด้วยต้นหอมผักชีซอย ควรย่างพริก หอมแดง กระเทียมด้วยถ่านไม้ จะทำให้มีกลิ่นหอมและรสชาติดี อีกสูตรหนึ่ง ใช้พริกขี้หนูสดเก็บจากสวน ล้างสะอาดแล้วเด็ดขั้วออก โขลกกับกระเทียม เกลือ กะปิสด หรือ กะปิเผา ใส่แคบหมูกรอบๆ โขลกละเอียดแล้ว ตักใส่ถ้วย บีบมะนาวตามชอบ รสชาติคล้ายน้ำพริกกะปิแต่มีความเข้มข้นหอมมัน ส่วนน้ำพริกแคบหมู

น้ำพริกแมงดา

หมวดน้ำพริก
ส่วนผสม แมงดา พริกสด หอมแดง กระเทียม เกลือ ต้นหอม ผักชี เครื่องเคียง แตงกวา มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว กระถิน ผักกาด ผักสดอื่นตามชอบ

น้ำพริกแมงมัน

หมวดน้ำพริก
แมงมัน หมายถึง แมลงชนิดหนึ่งคล้ายมด ตัวนางพญามีลักษณะตัวใหญ่กว่าผึ้ง มีปีก ที่นิยมรับประทานคือพันธุ์ตัวเมีย มีสีแดงกล่ำ น้ำพริกแมงมัน เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะค่อนข้างแห้งถึงข้น ชนิดของพริกที่นิยมใช้คือ พริกสด จะเป็นพริกชี้ฟ้า หรือพริกพันธุ์ใดก็ได้ ถ้าชอบเผ็ด ให้ใช้พริกชี้ฟ้า สำหรับส่วนผสมถ้าเปลี่ยนเป็นตัวต่ออ่อน แตนตัวอ่อน หรือผึ้งตัวอ่อน ก็ใช้สูตรการทำเหมือนกัน และเรียกชื่อน้ำพริกว่า น้ำพริกต่อ น้ำพริกแตน มีส่วนผสมคือ พริกชี้ฟ้า หอมแดง กระเทียม เกลือ รับประทานกับแตงกวา ถั่วฝักยาว ยอดกระถิน ผักสด หรือผักลวก เช่น ผักกาดเขียว ถั่วพู ฟักแม้ว (มะเขือเครือ)

น้ำพริกโจ๊ะ หรือน้ำพริกโย๊ะ

หมวดน้ำพริก
คำว่า โจ๊ะ สันนิษฐานว่ามาจากลักษณะของการใช้ไม้ตีพริกลงโขลกช้าๆ และเบา เมื่อใส่มะเขือเทศเผาแกะเปลือกลงไปรวมกับส่วนผสมอื่นๆ แล้ว การโขลกลักษณะนี้จะต้องระมัดระวังเพราะมะเขือเทศมีน้ำมาก และเรียกอาการโขลกแบบนี้ว่า “โจ๊ะ” ส่วนผสมของน้ำพริกโจ๊ะคล้ายน้ำพริกปลาร้า แต่เพิ่มหมูบด และมะเขือเทศลูกเล็ก ประกอบด้วยหมูบด ปลาร้า พริกสด หอมแดง กระเทียม มะเขือเทศลูกเล็ก เกลือ รับประทานกับเครื่องเคียง คือผักลวก หรือผักนึ่ง เช่น ผักกาดเขียว กะหล่ำปลี ฟักทอง กระเจี๊ยบ ถั่วฝักยาว ถั่วพู มะเขือม่วง ฯ

น้ำพริกไข่ต้ม

หมวดน้ำพริก
ส่วนผสม ไข่ต้ม พริกสด หอมแดง กระเทียม เกลือ ต้นหอม ผักชี เครื่องเคียง แตงกวา มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว กระถิน ผักกาด ผักสดอื่นตามชอบ

ผักกาดจอ (จอผักกาด)

หมวดจอ
ผักกาดจอเป็นอาหารประเภทแกงชนิดหนึ่ง แต่ไม่มีรสเผ็ด เพราะไม่ใส่พริก ใช้ผักกาดกวางตุ้งที่กำลังอวบเขียว และผลิดอกสีเหลืองสะพรั่ง เด็ดใบ และเลือกก้านนุ่มจนถึงยอดจะมีรสหวานอร่อย สูตรของเชียงใหม่จะเด็ดผักกาดเป็นท่อนสั้นๆ แต่ชาวลำปางจะใช้ทั้งต้น บางทีใช้ตอกมัดเป็นมัดเล็กๆ เพื่อให้เป็นระเบียบสวยงาม

ยำผักจุ๋มป๋า

หมวดยำ
ยำผักจุ๋มป๋า หรือ ผักกาดนา เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ในนาข้าว มีรสขมเล็กน้อย นิยมนำมาจิ้มน้ำพริก หรือนำมายำ มีส่วนผสม คือ ผักจุ๋มป๋า หมูสับ ข่า ผักชี ต้นหอม กระเทียมเจียว น้ำมันสำหรับผัด เครื่องแกงใช้พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ข่า กะปิ ปลาร้า

ลาบควาย

หมวดลาบ
วัตถุดิบ เนื้อควาย (เนื้อสันนอกหรือสันใน) เครื่องใน ผ้าขี้ริ้ว (ย่อ) กระเพาะ (คันนาหรือต๋าสับปะรด) ตับ (อย่าลืมดี กับเพลี้ยหัวดี) เลือดก้อน เครื่องปรุงที่ใช้ดิบ ข่า ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง (หัวสีเหลือง) ขีดกะปิ ส่วนสูตรของจังหวัดลำปางจะเผาหอมแดง และนำกะปิไปย่างไฟจะทำให้มีกลิ่นหอมยิ่งขึ้น เครื่องเทศที่แห้งนำมาคั่วให้พอมีกลิ่นหอมและป่นหรือโขลกตำให้ละเอียด

ลาบปลาน้ำโขง

หมวดลาบ
ลาบปลาน้ำโขง (ปลาหนัง) เป็นอาหารประจำถิ่นอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ส่วนประกอบได้แก่ ปลาบึก ข่า หอมแดง กระเทียม ผักไผ่ ต้นหอม ผักชี ส่วนน้ำพริกลาบ มีพริกแห้ง มะแขว่น เมล็ดผักชี เมล็ดยี่หร่า

ลาบหมู

หมวดลาบ
วัตถุดิบ เนื้อหมู (เนื้อสันนอกหรือสันใน) เครื่องในหมู เช่น ตับ ไต (มะแกว หรือเซี่ยงจี้) ไส้หวาน หนังหมู กระเพาะ ม้าม มันคอ เลือดหมู (เลือดก้อน) เครื่องปรุงที่ใช้นำมาคั่วให้มีกลิ่นหอม ข่า ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง (หัวสีเหลือง) กะปิ (ห่อใบตองแล้วปิ้งให้พอหอม) เครื่องเทศที่ใช้แห้งมาคั่วให้พอมีกลิ่นหอมและป่นหรือโขลกตำให้ละเอียด

ส้าจิ๊น

หมวดส้า
วัตถุดิบ เนื้อควาย หรือเนื้อวัว (เนื้อสันนอกหรือสันใน) น้ำเพลี้ยหัวดี (น้ำย่อยที่อยู่ในไส้อ่อนมีรสขมพอประมาณแต่อมหวาน) เครื่องปรุงที่ใช้สด ผักชีฝรั่ง ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง ผักชีต้นหอม เครื่องเทศแห้งนำมาคั่วให้พอมีกลิ่นหอมและป่นหรือโขลกตำให้ละเอียด

ส้าผักกาดหน้อย

หมวดส้า
เป็นการนำผักกาดต้นอ่อน มาคลุกเคล้ากับน้ำพริกที่มีปลาเป็นส่วนผสมเช่นเดียวกับส้ายอดมะม่วง บางสูตรใส่ถั่วเน่าเมอะ บางสูตรนำใบคาวตองมาผสม หรือนำผักหลาย ๆ อย่างมาผสม เช่น ผักปู่ย่า ผักจ๊ำ ยอดมะกอก ใช้มะกอกสุกบีบหรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมเพื่อเพิ่มรสชาติ ส่วนผสมคือ ผักกาดหน้อย ปลาช่อน (ปลานิล ปลาทู) หอมแดง ตะไคร้ ผักชี ต้นหอม ปลาร้าต้มสุก เครื่องแกงใช้พริกชี้ฟ้า หอมแดง กระเทียม กะปิ

ห่อนึ่งไก่

หมวดนึ่ง
ส่วนผสม เนื้อไก่บ้าน ข้าวคั่ว ใบมะกรูด ผักชีซอย ต้นหอมซอย ใบยอ ผักกาดเขียว หรือผักกาดขาว น้ำมันสำหรับผัด เครื่องแกง คือ พริกแห้ง ข่าหั่น ตะไคร้ซอย ขมิ้น หอมแดง กระเทียม กะปิ เกลือ

เจี๋ยวผักกาดอ่อน

หมวดเจี๋ยว
เจี๋ยวผักกาดอ่อน หรือ ผักกาดหน้อย นิยมใช้ผักกาดต้นอ่อน ที่ขนาดลำต้นยาวประมาณฝ่ามือ บางท้องถิ่นใส่หมูสับลงไปด้วย ส่วนบางท้องถิ่นอาจใส่เฉพาะถั่วเน่าแข็บ มีวิธีทำ คือ เด็ดรากผักกาดออกและล้างผักให้สะอาดเตรียมไว้ นำกระทะตั้งไฟ ใส่น้ำประมาณหนึ่งถ้วย เมื่อน้ำเดือด บุบกระเทียม พริกสด หอมแดง กะปิเล็กน้อยใส่ลงไป หรือ โขลกถั่วเน่าแข็บลงไป น้ำเดือดอีกครั้งใส่หมูสับ คนไปมา พอหมูสุก ใส่ผักกาด ปิดฝาให้ผักสุก เปิดฝาคนพลิกไปมา ปรุงรสด้วยน้ำปลาหรือเกลือตามชอบ สุกแล้วยกลงตักรับประทานได้

แกงผักกาดหน้อยใส่ถั่วฝักยาว/ ใส่ผักชีลาว

หมวดแกง
แกงผักกาดหน้อย หมายถึง ผักกาดอ่อนที่ใบขนาด ๒-๔ เซนติเมตร ใส่ถั่วฝักยาว ใส่ผักชีลาว หรือใส่ผักโขมแดงอ่อน ใส่ผักขี้หูดอย่างละนิดอย่างละหน่อยบางท้องถิ่นเรียกแกงชนิดนี้ว่า “แกงผักอะหยิอะเหยาะ” ซึ่งหมายถึง แกงผักหลากหลายชนิด (เฉพาะผักที่กล่าวมาอย่างละนิดอย่างละหน่อยนั่นเอง) แกงชนิดนี้อาจใส่ถั่วเน่า และปลาแห้ง หรือหัวปลาชะโดแห้งด้วยก็ได้

แกงผักกาดใส่ไก่

หมวดแกง
ส่วนผสม ผักกาดเขียว (ผักกวางตุ้ง) หรือ ล้านนาเรียก ผักกาดจ้อน คำว่า จ้อน หมายถึง กำลังผลิดอก เนื้อไก่ บ่าแขว่น (กำจัด) เครื่องแกงมีพริกแห้ง กระเทียม หอมแดง กะปิ ปลาร้า

แกงหน่อไม้ดอง (หน่อไม้ส้ม หน่อส้ม)

หมวดแกง
แกงหน่อไม้ดองหรือหน่อไม่ส้มถ้าจะให้อร่อย ควรใช้หน่อไม้ที่ดองไม่นานนัก และยังกรอบ ไม่อ่อนเกินไป

แมงมันจ่อม

หมวดจ่อม
แมงมัน คือ สัตว์คล้ายมด อาศัยอยู่ในโพรงใต้ดิน ในฤดูแล้งจะวางไข่ ซึ่งมีขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่เท่าปลายนิ้วก้อย นอกจากคนล้านนาจะนิยมรับประทานตัวนางพญาของแมงมันที่มีปีก ลำตัวสีแดงกล่ำแล้ว ยังนิยมรับประทานไข่ของแมงมันอีกด้วย โดยอาจนำมาใส่แกงผักกาด หรือนำมาทำ แมงมันจ่อม