จำนวน 62 รายการ
ขนมจีนน้ำแจ่ว
หมวดอาหารว่าง/ ของทานเล่น/ ขนม
คำว่า ขนมจีน ใช้เรียกตามภาษาไทยกลาง หากเป็นภาษาล้านนา ใช้คำว่า “ขนมเส้น” เพราะเรียกตามลักษณะที่เป็นเส้นๆ ขนมจีนน้ำแจ่ว หรือ ขนมเส้นน้ำแจ่ว จัดเป็นเมนูยอดนิยมของชาวบ้านทั่วไปในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นขนมจีนที่แตกต่างจากขนมจีนทั่วไป มีลักษณะเป็นน้ำใส ส่วนประกอบน้ำแจ่ว ได้แก่ เครื่องในหมู ข่า ตะไคร้ หมูบด กระดูกหมู น้ำปลา หอมแดง ส่วนประกอบเครื่องปรุง ได้แก่ น้ำปลา น้ำตาล พริกขี้หนูสด กระเทียม
ควายน้อยนึ่ง
หมวดนึ่ง
ควายน้อยนึ่ง เป็นคำเรียกอาหารที่มาจากการนำลูกควายตายในท้องมานึ่ง เพราะมีเนื้อนุ่มอร่อย อาจรับประทานกับน้ำพริกข่า และผักลวก หรือผักนึ่งหลากหลายชนิดตามแต่จะหาได้ในท้องถิ่น
คั่วผักโขม
หมวดคั่ว
คั่วผักโขม มีส่วนประกอบคือ ผักโขม (ล้านนาเรียก ผักหม) เนื้อหมูบด พริกแห้ง กะปิ เกลือ กระเทียม หอมแดง ตะไคร้ ข่า
คั่วฟักเขียว
หมวดคั่ว
คั่วฟักเขียว เป็นอาหารเฉพาะถิ่นของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีส่วนประกอบ คือ ฟักเขียว เนื้อหมู พริกแห้ง กะปิ ถั่วลิสง เกลือ กระเทียม หอมแดง ตะไคร้ ข่า
คั่วเห็ดถอบ
หมวดคั่ว
คั่วเห็ดถอบ เห็ดถอบ หมายถึงเห็ดเผาะ เป็นคำเรียกชื่ออาหารที่ได้จากป่า เป็นเห้ดที่มีความกรอบและรสชาติดี จึงเรียกว่า เห็ดถอบ มีหลายสูตรแตกต่างกันไปแต่ละท้องถิ่น สำหรับสูตรของลำพูนมีส่วนประกอบ คือ เห็ดถอบ หมูสับ ยอดมะขามอ่อน ยอดมะพร้าวอ่อน ผักชีฝรั่ง
คั่วเห็ดปีด
หมวดคั่ว
คั่วเห็ดปีด เป็นอาหารเฉพาะถิ่นของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีส่วนประกอบ คือ เห็ดปีด เนื้อหมูบด พริกแห้ง กะปิ เกลือ กระเทียม หอมแดง ตะไคร้ ข่า
จิ๊นนึ่ง
หมวดนึ่ง
จิ๊นนึ่ง เป็นคำเรียกอาหารประเภทเนื้อควาย นำมานึ่งเป็นชิ้นใหญ่ๆ จนสุกเปื่อย รับประทานกับน้ำพริกตาแดง หรือ น้ำพริกข่า และผักลวกนานาชนิด
จิ๊นฮุ่ม
หมวดอุ๊ก
คำว่า จิ๊น หมายถึง เนื้อวัว ควาย เนื้อหมู หรือเนื้อเค็มตากแห้ง (ที่เรียกว่า จิ๊นแห้ง) ส่วนคำว่า ฮุ่ม มาจากการนำเนื้อที่ตากแห้งและมีกลิ่นเล็กน้อยมาปรุงแบบแกงพอมีน้ำขลุกขลิก ดังนั้น การทำ จิ๊นฮุ่ม จึงปรุงอย่างแกง เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ ให้เนื้อเปื่อย และเหลือน้ำเพียงเล็กน้อย ส่วนผสมคือ เนื้อหมู (หรือเนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อเค็มตากแห้ง ชนิดใดชนิดหนึ่ง) ตะไคร้ซอย ผักชีลาว รากผักชี ผักชีซอย ต้นหอมซอย เครื่องแกงมีพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม กะปิ ตะไคร้ซอย ข่าหั่น ขมิ้น เกลือ
จื๋น
หมวดจื๋น
จื๋น หมายถึง การสกัดน้ำมันด้วยความร้อน ในการทำอาหาร สิ่งที่สามารถจื๋นได้ คือ มันแพหรือมันเปลวของหมู หรือ หมูสามชั้น ที่ต้องการให้สุกกรอบ จะต้องจื๋นน้ำมันออกไป ให้หมูสุกกรอบ ทำให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ในสมัยก่อนนิยมใช้น้ำมันจากหมูในการทำอาหาร ดังนั้น แม่บ้านจึงมัก จื๋นน้ำมันจากมันเปลวหมูเก็บไว้สำหรับจ่าวหรือคั่วอาหารให้มีรสชาติอร่อยยิ่งขึ้น อาหารที่อาจจัดอยู่ในหมวดของการจื๋น อาจได้แก่ แคบหมู หนังปอง เป็นต้น เพราะทำจากหนังหมูติดมัน นำมาจื๋นน้ำมันออกจนหนังพองกรอบ
จ่าวยำบ่าถั่วบ่าเขือ
หมวดจ่าว
ยำบ่าถั่วบ่าเขือ คือ ยำถั่วฝักยาว และมะเขือม่วงลูกเล็กที่ลวกสุกแล้ว นำมาหั่นเป็นท่อนเล็กๆ ประมาณ ๑ เซ็นติเมตร พักไว้ แล้วเผาพริกสด กระเทียม หอมแดง กะปิ โขลกรวมกัน ใส่เกลือเล็กน้อย ซอยข่าแก่ ใส่เล็กน้อย โขลกละเอียดแล้วนำถั่วฝักยาวกับมะเขือที่หั่นไว้มาโขลกพอเข้ากับพริกเครื่องยำ จากนั้นตั้งกระทะใส่น้ำมันหมู หรือน้ำมันพืช ทุบกระเทียมลงเจียวสัก ๔-๕ กลีบ นำเนื้อหมูสามชั้นซอยเป็นชิ้นเล็กๆ ลงผัดกับกระเทียมพอสุก นำยำบ่าถั่วบ่าเขือลงจ่าวหรือผัด คนพลิกไปมาอย่างเร็วๆ พอให้มีกลิ่นหอม แล้วยกลงตักรับประทานโดยโรยต้นหอมผักชี
ตำจิ๊นแห้ง
หมวดตำ
จิ๊นแห้ง คือ เนื้อวัวหรือเนื้อควายตากแห้ง เป็นอาหารประเภทยำ ที่นำเอาส่วนผสมที่เป็นของที่สุกแล้วลงไปผสมกับเครื่องปรุง จะใช้พริกแกงธรรมดา หรือเครื่องปรุงสำหรับลาบ มาใช้เป็นเครื่องปรุงก็ได้ ส่วนผสมคือ จิ๊นแห้ง ใบมะกรูด ต้นหอม ผักชี ผักชีฝรั่ง น้ำมันสำหรับผัด เครื่องแกงมีพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม กะปิ เกลือ ข่า ตะไคร้
ต้มขม
หมวดต้ม
ต้มขม หมายถึง ต้มเครื่องในควาย หรือ หมูใส่เพลี้ย หรือ น้ำดี เพื่อให้มีรสขม
ต้มยำปลาน้ำโขง
หมวดต้ม
ต้มยำปลาน้ำโขง (ปลาแคร่ ปลากัง ปลาก่วง) ส่วนประกอบ ปลาน้ำโขง ข่า กระเทียม ตะไคร้ ใบมะกรูด หอมแดง พริกขี้หนูสด มะเขือเทศ มะนาว ผักส้มป่อย น้ำปลา
วิธีทำ ตั้งน้ำเดือด ใส่ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ทุบหอมแดง กระเทียมใส่ลงไป รอน้ำเดือดใส่ปลาและมะเขือเทศลงไปไม่ต้องคน เพราะจะทำให้ปลามีกลิ่นคาว สุกแล้วปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำปลาหรือเกลือ โรยหน้าด้วยต้นหอมผักชี และใบแมงลัก
ต้มส้มไก่เมือง
หมวดต้ม
ต้มส้ม หมายถึง ต้มที่มีรสเปรี้ยว เป็นอาหารจานเด็ดอีกชนิดหนึ่งของล้านนา มักทำต้อนรับแขกคนสำคัญ หรือต้อนรับญาติผู้ใหญ่ที่มาเยี่ยมเยียน หรือ ทำรับประทานในงานเลี้ยงฉลอง และ งานบุญต่างๆ เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน ฯลฯ ส่วนไก่เมือง หมายถึง ไก่พันธุ์พื้นเมืองที่เลี้ยงไว้อย่างอิสระ หากินจิกพืชผักใบหญ้า หนอนและแมลงทั่วไป ทำให้ไก่เมืองมีรสชาติอร่อย ไม่มีไขมันมากเหมือนไก่ที่เลี้ยงในฟาร์ม
น้ำพริกกบ
หมวดน้ำพริก
มีลักษณะแห้ง ส่วนผสม คือ กบ พริกแห้ง หรือพริกขี้หนูแห้ง กระเทียม ข่า ดีปลี มะแข่วน มะเขือขื่น เกลือ ผักชี ต้นหอม
น้ำพริกข่า
หมวดน้ำพริก
ส่วนผสม กระเทียม ข่าหั่นเป็นชิ้นเล็ก เกลือ พริกแห้งย่างไฟให้หอม
ยำจิ๊นไก่
หมวดยำ
ยำจิ๊นไก่ หมายถึง การนำไก่ไปต้มแล้วนำมายำคลุกเคล้ากับน้ำพริกลาบ หรือ น้ำพริกที่ปรุงเช่นเดียวกับลาบ มีเครื่องเทศเป็นส่วนประกอบ ข้อสำคัญ ยำจิ๊นไก่ ต้องย่างพริกแห้งให้สุกเกรียมจนมีสีเกือบดำถึงจะให้รสชาติอร่อย มีกลิ่นพริกหอม
ยำน้ำโจ้
หมวดยำ
น้ำโจ้ หมายถึง ข้าวที่ได้จากการหุงเหล้า โดยนำเศษข้าวที่หมักเหล้ามายำใส่กล้วยดิบ (กล้วยคล้าว) มะละกอห่ามๆ เม็ดแมงลัก ใส่พริกแห้งเผาไฟ ข่า เกลือ ปลาร้าโขลกละเอียดแล้วนำมายำคลุกเคล้ากับน้ำโจ้ รับประทานยามบ่ายๆ ช่วยให้สดชื่นมีกำลัง แต่หากรับประทานมากเกินไปอาจมีอาการเมา
ยำบ่าถั่วบ่าเขือ
หมวดยำ
ยำบ่าถั่วบ่าเขือ หรือยำถั่วฝักยาวกับมะเขือยาว หรือมะเขือม่วง ส่วนผสมคือ ถั่วฝักยาว มะเขือยาวหรือมะเขือม่วง หมูสับ กระเทียมเจียว ผักชี ต้นหอม น้ำมันสำหรับผัด เครื่องแกงใช้พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ข่า กะปิ ปลาร้าสับ
ยำปลาแห้ง
หมวดยำ
ยำปลาแห้ง ส่วนผสม ปลาช่อนตากแห้ง หรือปลาเนื้ออ่อนตากแห้ง ตะไคร้ ต้นหอม ผักชี ผักไผ่ เครื่องแกงใช้พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ข่า กะปิ เกลือ
ยำผักจุ๋มป๋า
หมวดยำ
ยำผักจุ๋มป๋า หรือ ผักกาดนา เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ในนาข้าว มีรสขมเล็กน้อย นิยมนำมาจิ้มน้ำพริก หรือนำมายำ มีส่วนผสม คือ ผักจุ๋มป๋า หมูสับ ข่า ผักชี ต้นหอม กระเทียมเจียว น้ำมันสำหรับผัด เครื่องแกงใช้พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ข่า กะปิ ปลาร้า
ยำผักเฮือด
หมวดยำ
ยำผักเฮือด เป็นคำเรียกชื่ออาหารอีกชนิดหนึ่ง ผักเฮือด เป็นพืชยืนต้น ชาวล้านนามักตอนกิ่ง ตัดยอดไม่ให้ต้นสูง และให้ผักแตกยอดอ่อนเพื่อจะเก็บมาทำอาหารได้สะดวก รสชาติของผักเฮือดจะออกฝาดเล็กน้อย จึงมีสูตรการปรุงที่จะต้องแก้ความฝาดด้วยมะเขือเทศ
ยำสะนัด
หมวดยำ
ยำสะนัด เป็นการนำผักหลายๆ อย่าง ลวกหรือนึ่งมายำรวมกัน แล้วนำมาปรุงกับเครื่องปรุง เช่นเดียวกับยำถั่วฝักยาวและมะเขือยาว มีส่วนผสมคือ ถั่วฝักยาว มะเขือยาวหรือมะเขือม่วง ถั่วแปบ มะเขือพวง ผักบุ้ง หัวปลี บางสูตรใส่ผักชะอม กระถิน หมูสับ กระเทียมเจียว ผักชี ต้นหอม น้ำมันสำหรับผัด เครื่องแกงใช้พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ข่า กะปิ ปลาร้าสับ
ยำเห็ดฟาง
หมวดยำ
ยำเห็ดฟาง หรือยำเห็ดเฟือง เป็นอาหารประเภทยำ ที่นำเอาส่วนผสมที่เป็นของที่สุกแล้ว ลงไปผสมกับเครื่องปรุง มีวิธีการปรุงเช่นเดียวกับยำจิ๊นไก่ หรือจะใช้พริกลาบ หรือเครื่องปรุงลาบ มาเป็นเครื่องปรุงก็ได้ ส่วนผสมคือ เห็ดฟาง ตะไคร้ ผักไผ่ สะระแหน่ ผักชี ต้นหอม หอมแดง บางสูตรใส่ข้าวคั่ว เครื่องแกงใช้พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม กะปิ ข่า เกลือ
ลาบควาย
หมวดลาบ
วัตถุดิบ เนื้อควาย (เนื้อสันนอกหรือสันใน) เครื่องใน ผ้าขี้ริ้ว (ย่อ) กระเพาะ (คันนาหรือต๋าสับปะรด) ตับ (อย่าลืมดี กับเพลี้ยหัวดี) เลือดก้อน
เครื่องปรุงที่ใช้ดิบ ข่า ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง (หัวสีเหลือง) ขีดกะปิ ส่วนสูตรของจังหวัดลำปางจะเผาหอมแดง และนำกะปิไปย่างไฟจะทำให้มีกลิ่นหอมยิ่งขึ้น
เครื่องเทศที่แห้งนำมาคั่วให้พอมีกลิ่นหอมและป่นหรือโขลกตำให้ละเอียด
ลาบปลาน้ำโขง
หมวดลาบ
ลาบปลาน้ำโขง (ปลาหนัง) เป็นอาหารประจำถิ่นอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ส่วนประกอบได้แก่ ปลาบึก ข่า หอมแดง กระเทียม ผักไผ่ ต้นหอม ผักชี ส่วนน้ำพริกลาบ มีพริกแห้ง มะแขว่น เมล็ดผักชี เมล็ดยี่หร่า
ลาบหมู
หมวดลาบ
วัตถุดิบ เนื้อหมู (เนื้อสันนอกหรือสันใน) เครื่องในหมู เช่น ตับ ไต (มะแกว หรือเซี่ยงจี้) ไส้หวาน หนังหมู กระเพาะ ม้าม มันคอ เลือดหมู (เลือดก้อน)
เครื่องปรุงที่ใช้นำมาคั่วให้มีกลิ่นหอม ข่า ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง (หัวสีเหลือง) กะปิ (ห่อใบตองแล้วปิ้งให้พอหอม) เครื่องเทศที่ใช้แห้งมาคั่วให้พอมีกลิ่นหอมและป่นหรือโขลกตำให้ละเอียด
หมาก-ลางต๋ำ (ตำขนุน)
หมวดตำ
มีส่วนประกอบหลัก คือ ขนุนดิบ ข่า หอมแดง กระเทียม กะปิ พริกแห้ง ต้นหอม ผักชี เกลือป่น น้ำมันพืช
หลามบอน
หมวดหลาม
หลามบอน หรือ แกงบอน บางท้องที่ เช่น อำเภอแม่แจ่ม หมายถึง แกงบอนที่เอาไปใส่กระบอกไม้ไผ่ดิบ แล้วนำไปย่างถ่านไม้ เหมือนข้าวหลาม ไม่ผัดเครื่องแกงกับน้ำมันพืช การเรียกแกงบอน บางคนถือเคล็ด ให้เรียกว่า แกงผักหวาน เพราะกลัวว่าจะทำให้คันปาก บางตำรับ ก่อนนำบอนมาแกง จะแขวนผึ่งลมไว้ ๑ คืน ก่อนที่จะนำมาแกง มีส่วนผสมคือ บอนต้นอ่อน หูหมู หรือใช้เท้าหมู (คากิ) น้ำมะขามเปียก ข่าหั่น ตะไคร้ กระเทียม ใบมะกรูด กระเทียมเจียว น้ำมันสำหรับเจียวและผัด มีเครื่องแกง คือ พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง ตะไคร้ซอย กะปิ ปลาร้าต้มสุก เกลือ
หลู้เลือด
หมวดหลู้
นิยมใช้เฉพาะหมู วัตถุดิบ เนื้อหมู (เนื้อสันนอกหรือสันใน) เครื่องในหมู เช่น ตับ ไต (มะแกว หรือเซี่ยงจี้) ไส้หวาน หนังหมู มันแพร นำไปตากแดดให้แห้งกรอบ และหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เลือดหมู (เลือดก้อนและเลือดน้ำ) เครื่องปรุงที่ใช้นำมาทอดให้มีกลิ่นหอมและกรอบ ข่า ตะไคร้ ขิง กระเทียม หอมแดง (หัวสีเหลือง) เส้นหมี่ขาวมาทอดกรอบ หนังหมู หรือใช้แคบหมูแทนก็ได้เช่นกัน น้ำกระเทียมดอง และเนื้อกระเทียมดองสักหนึ่งหัว เพื่อให้รสชาติหวานหอม ใบมะนาวทอดกรอบ เครื่องเทศที่ใช้แห้งมาคั่วให้พอมีกลิ่นหอมและโขลกป่นหรือตำให้ละเอียด
ห่อนึ่งปลามง
หมวดนึ่ง
ห่อนึ่งปลามง มีเครื่องประกอบด้วย ปลามง ซึ่งเป็นปลาแม่น้ำโขง เป็นอาหารประจำถิ่นของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย พร้อมเครื่องในและไข่ปลา ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด กระเทียม หอมแดง พริกแห้ง กะปิ เกลือ นำเครื่องปรุงทุกอย่างโขลกให้เข้ากันแล้วนำมาคลุกกับปลา เครื่องใน และไข่ไก่ให้ส่วนผสมเข้ากัน ซอยต้นหอม ผักชีใส่ แล้วนำไปห่อด้วยใบตอง นำไปนึ่งจนสุก
ห่อนึ่งหน่อไม้
หมวดนึ่ง
ห่อนึ่งหน่อไม้ มีส่วนผสม คือ หน่อไม้ไร่ หมูบด ไข่ไก่ น้ำกะทิ ต้นหอมซอย ผักชีซอย เครื่องแกง ประกอบด้วย พริกขี้หนูสด ตะไคร้ ขมิ้น ข่า หอมแดง กระเทียม กะปิ เกลือ
ห่อนึ่งไก่
หมวดนึ่ง
ส่วนผสม เนื้อไก่บ้าน ข้าวคั่ว ใบมะกรูด ผักชีซอย ต้นหอมซอย ใบยอ ผักกาดเขียว หรือผักกาดขาว น้ำมันสำหรับผัด เครื่องแกง คือ พริกแห้ง ข่าหั่น ตะไคร้ซอย ขมิ้น หอมแดง กระเทียม กะปิ เกลือ
อุ๊กไก่
หมวดอุ๊ก
มีส่วนผสมคือเนื้อไก่บ้าน ใบมะกรูด ข่าหั่น ผักชีซอย ต้นหอมซอย ผักชีฝรั่งซอย น้ำมัน เครื่องแกงใช้พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม กะปิ ตะไคร้ซอย ข่าหั่น ขมิ้น เกลือ
อุ๊บเครื่องในหมู
หมวดอุ๊ก
ส่วนประกอบหลัก คือ ใช้เครื่องในหมู หรือตับ ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หอมแดง กระเทียม พริกแห้งเม็ดใหญ่ป่น มะเขือเทศ กะปิ เครื่องปรุงรส เกลือ ขมิ้น น้ำมันพืช
เจียวไก
หมวดเจี๋ยว
เจียวไก เป็นคำเรียกชื่ออาหารของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีส่วนประกอบคือ ไกน้ำโขง หมูบด เกลือ พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง ใบมะกรูดหั่นฝอย ข่าอ่อนสับละเอียด
แกงขนุน
หมวดแกง
แกงขนุน เป็นแกงที่ชาวล้านนานิยมกันทั่วไป โดยเฉพาะในช่วงสงกรานต์หรือปี๋ใหม่เมือง วันที่ถัดจากวันพญาวัน ถือเป็น “วันปากปี” คือเริ่มต้นปีใหม่วันแรก ชาวล้านนาจะนิยมทำแกงขนุนรับประทานกัน นัยว่าเป็นการเอาเคล็ดให้มีแต่บุญวาสนาหนุนส่งให้ได้พบแต่สิ่งดี ๆ ไปตลอดทั้งปี
แกงบ่าค้อนก้อม
หมวดแกง
แกงบ่าค้อนก้อมหรือแกงมะรุม ใช้ฝักมะรุม หรือบ่าค้อนก้อมเป็นผักแกง นิยมแกงกับปลาแห้งหรือกระดูกหมู มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักเสี้ยว (ยอดชงโค) แกงผักหวาน แกงผักเซียงดา ใส่ผักชะอม เพื่อให้แกงหอม รสชาติกลมกล่อมยิ่งขึ้น บางตำรา ใส่มะเขือเทศลูกเล็ก แคบหมู ส่วนผสม ฝักมะรุม ปลาแห้ง ผักชะอม เครื่องแกงมี พริกชี้ฟ้าแห้ง กระเทียม หอมแดง ข่าซอย กะปิ ปลาร้าต้มสุก
แกงบ่าถั่วใส่เห็ดใส่ปลาแห้ง
หมวดแกง
แกงบ่าถั่วใส่เห็ด ใส่ปลาแห้ง เป็นแกงพื้นบ้านของทางภาคเหนือที่นิยมทำกันมาก เพราะเป็นผักที่หาง่ายตามพื้นบ้าน หรือแต่ละบ้านจะปลูกไว้กินเองตามบ้าน เครื่องปรุงประกอบด้วย ถั่วฝักยาว เห็ดหูหนู หรือเห็ดสด ปลาแห้ง ข่า นิยมใช้ปลาช่อน (ปลาหลิม) พริกขี้หนู หรือพริกชี้ฟ้า กระเทียม หอมแดง กะปิ ปลาร้า เกลือ
แกงผักขี้หูด (ผักเปิ๊ก) ใส่ปลาแห้ง
หมวดแกง
ผักขี้หูด หรือในเชียงใหม่เรียกว่าผักเปิ๊ก เป็นผักที่มีรสชาติเผ็ดนิดๆ ใช้กินสดแกล้มกับลาบ หรือยำต่างๆ ที่มีรสหวานอร่อย แต่จะเอามาทำแกงใส่ปลาแห้ง ใส่เห็ดลมอ่อนด้วยยิ่งอร่อย
แกงผักพ่อค้าตีเมีย
หมวดแกง
ผักพ่อค้าตีเมียเป็นพืชป่าตระกูลเฟิร์นชนิดหนึ่ง เหตุที่เรียกว่า ผักพ่อค้าตีเมีย มีเรื่องเล่าว่า พ่อค้าให้เมียแกงผักชนิดนี้เพื่อเตรียมตัวออกไปค้าขาย แต่ผักชนิดนี้มีความกรอบมากต้องใช้เวลาแกงนาน ผักไม่สุกสักทีเป็นเหตุให้พ่อค้าโมโหเมียตัวเองที่ทำให้ออกไปค้าขายช้า จึงตีเมีย อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นเพียงเรื่องเล่าเชิงคติชนพื้นบ้าน หากในความเป็นจริง การเล่าเรื่องสื่อถึงความพิเศษของผักชนิดนี้ว่ามีความกรุบกรอบจนทำให้รู้สึกว่าผักยังไม่สุกดี หรือสุกยากนั่นเอง
แกงฟักหม่นใส่ไก่
หมวดแกง
แกงฟักหม่นหรือฟักเขียวใส่ไก่ เป็นอาหารที่นิยมทำในงานบุญ หรืองานที่เป็นมงคล เพราะชื่อฟักมีความหมายแสดงถึงความฟูมฟัก คือฟูมฟักสิ่งดีๆ อาทิ ความรัก ความสมัครสมานสามัคคี ความมีน้ำใจร่วมไม้ร่วมมือช่วยเหลือกันของเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะการสร้างบ้านเรือน สมัยโบราณมักจะใช้วิธีไหว้วานเพื่อนบ้านให้มาช่วยกันโดยไม่มีการจ้าง จึงมีการแกงฟักใส่ไก่เลี้ยงผู้มาช่วยงาน
แกงยอดต๋าว
หมวดแกง
มีส่วนประกอบคือ ยอดต๋าว เนื้อหมู น้ำพริกแกง ได้แก่ พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง เกลือ ข่า ตะไคร้ กะปิ
แกงหยวกใส่ไก่, ใส่ปลาแห้ง, ใส่วุ้นเส้น
หมวดแกง
หยวกกล้วยอ่อนๆ นำมาแกงใส่เนื้อไก่ หรือปลาแห้ง และวุ้นเส้น เป็นอาหารแสนอร่อยอย่างหนึ่งของชาวล้านนา การเลือกหยวกกล้วย เลือกจากต้นขนาดกลาง แล้วตัดเอาส่วนต้นๆ และเปลือกนอกออกจนเหลือแต่เนื้อในที่อ่อนนุ่ม
แกงหลามจิ้นแห้ง
หมวดแกง
มีส่วนประกอบคือ จิ๊นแห้ง (เนื้อควายแห้ง) ผักพื้นบ้าน เครื่องปรุง ได้แก่ ข่า ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง เกลือ กะปิ พริกขี้หนู มะแขว่น
แกงหัวปลี
หมวดแกง
แกงหัวปลี เป็นแกงที่นิยมทำรับประทานกันทั่วไปในกลุ่มชาวล้านนา เพราะหัวปลีเป็นของหาง่าย โดยทุกบ้านมักจะปลูกกล้วยไว้ที่หน้าบ้านหรือหลังบ้าน และกล้วยมักจะมีลูกออกตลอดทั้งปี หากกล้วยตกปลีออกจนสุดเครือแล้ว หัวปลีที่หมดลูกจะต้องถูกตัดออก ไม่อย่างนั้นกล้วยจะลูกเล็กไม่อวบอ้วน เพราะน้ำถูกแย่งไปเลี้ยงหัวปลีหมด ซึ่งถือเป็นสิ่งไร้ประโยชน์สำหรับต้นกล้วย แต่หัวปลี กลับมีประโยชน์ต่อคน เพราะสามารถนำไปประกอบอาหารให้เอร็ดอร่อยได้
แกงหัวมันแกว
หมวดแกง
เป็นอาหารของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีส่วนประกอบคือ หัวมันแกว เนื้อหมู น้ำพริกแกง ได้แก่ พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง เกลือ ข่า ตะไคร้ กะปิ
แกงหางหวาย
หมวดแกง
มีส่วนประกอบ คือ หางหวาย เนื้อหมู พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง เกลือ ตะไคร้ กะปิ ใบมะกรูด ดอกข่า ดอกต้าง จะค่าน (สะค้าน) ชะอม ผักแค
แกงอ่อมปลา
หมวดอ่อม
ถือเป็นอาหารชั้นดีอีกชนิดหนึ่งของชาวล้านนา แตกต่างจากแกงอ่อมเนื้อสัตว์ชนิดอื่น คือปรุงรสด้วยน้ำมะนาว แต่ไม่นิยมทำเป็นอาหารเลี้ยงแขกในเทศกาลงานพิธีต่างๆ เหมือนแกงอ่อมเนื้อสัตว์อื่นๆ ส่วนผสมคือ ปลาช่อน ข่าอ่อนซอย ตะไคร้หั่น ใบมะกรูดฉีก มะนาว ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ ผักชี ต้นหอม น้ำมันสำหรับผัดเครื่องแกง โดยใช้พริกแห้ง พริกขี้หนูแห้ง หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ซอย ข่าซอย ขมิ้น เกลือ กะปิหยาบ
แกงอ่อมหมู
หมวดอ่อม
นิยมใช้เนื้อหมูและเครื่องในหมูเป็นส่วนผสมหลัก บ้างใช้แต่เครื่องใน เรียก แกงอ่อมเครื่องในหมู มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงเนื้อสัตว์อื่นๆ นิยมใช้เลี้ยงแขกในเทศกาลงานเลี้ยงต่างๆ ส่วนผสมคือ เนื้อหมูและเครื่องในหมู ข่าอ่อนซอย ตะไคร้ซอย ใบมะกรูดฉีก รากผักชี ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ ผักชีซอย ต้นหอมซอย น้ำมันสำหรับผัดเครื่องแกง โดยใช้พริกแห้ง พริกขี้หนูแห้ง หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ซอย ข่าซอย ขมิ้น เกลือ กะปิหยาบ
แกงอ่อมเนื้อ
หมวดอ่อม
นิยมใช้เนื้อวัวและเครื่องในวัว เป็นส่วนผสมหลัก บ้างใช้เนื้อควายและเครื่องในควายเป็นส่วนผสม บ้างใช้แต่เครื่องใน เรียกชื่อตามเนื้อที่นำมาแกง เช่น แกงอ่อมเครื่องในวัว แกงอ่อมเครื่องในหมู แกงอ่อมเครื่องในควาย มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงเนื้อสัตว์อื่นๆ ส่วนผสม เนื้อวัวและเครื่องในวัว น้ำเพลี้ย ข่าอ่อนซอย ตะไคร้ซอย ใบมะกรูดฉีก รากผักชี ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ ผักชีซอย ต้นหอมซอย น้ำมันสำหรับผัดเครื่องแกง โดยเครื่องแกงมีพริกแห้ง พริกขี้หนูแห้ง หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ซอย ข่าซอย ขมิ้น เกลือ กะปิหยาบ
แกงอ่อมไก่
หมวดอ่อม
ส่วนผสม เนื้อไก่บ้าน ข่าอ่อนซอย ตะไคร้ซอย ใบมะกรูด รากผักชี ใบอ่อนเล็บครุฑ ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ ผักชี ต้นหอม น้ำมันสำหรับผัดเครื่องแกง
เครื่องแกง พริกแห้ง พริกขี้หนูแห้ง หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ซอย ข่าซอย ขมิ้น เกลือ กะปิหยาบ
แกงฮังเล
หมวดแกง
แกงฮังเล เป็นแกงประเภทน้ำขลุกขลิก รสชาติหวานอมเปรี้ยว ใช้หมูสามชั้นเป็นส่วนประกอบหลัก บางท้องถิ่นใช้เนื้อ (วัว ควาย) หั่นเป็นชิ้นๆ ผสมกับเนื้อหมู คำว่า ฮังเล สันนิษฐานว่าเป็นคำในภาษาพม่า ซึ่งพ้องกับชื่อเมืองหนึ่งในประเทศเมียนมาร์ คือ เมืองอินเลความหมายของคำว่า ฮังเล มาจากคำว่า ฮัง หรือ ฮิน แปลว่า แกง ส่วนคำว่า เล แปลว่า เนื้อ ดังนั้น ฮังเล จึงแปลว่า แกงเนื้อ โดยชาวล้านนารับวัฒนธรรมอาหารประเภทนี้มาจากพม่า ลักษณะสีสันและรสชาติก็คล้ายกับแกงกะหรี่ของพม่าที่มีน้ำแกงเข้มข้นรสหวานอมเปรี้ยวลงตัว ใช้รับประทานกับโรตีทอดกรอบที่ไม่ปรุงรส
แกงเหมือน
หมวดแกง
ล้านนาเรียก แกงอ่อมเนื้อชาโดว์ (เนื้อสุนัข) ใช้เนื้อสุนัข เป็นส่วนผสมหลัก
แกงเห็ดถั่วเหลือง
หมวดแกง
มีส่วนประกอบคือ เห็ดถั่วเหลือง เนื้อหมู เครื่องแกง ได้แก่ พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง เกลือ ข่า ตะไคร้ กะปิ
แกงเห็ดปีด
หมวดแกง
มีส่วนประกอบคือ เห็ดปีด น้ำพริกแกง ได้แก่ พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง เกลือ ข่า ตะไคร้ กะปิ
แกงเห็ดลม
หมวดแกง
เห็ดลม หมายถึง เห็ดชนิดหนึ่งของล้านนา มีลักษณะดอกบางแต่เหนียว มีสีน้ำตาลเหมือนเปลือกไม้ มักรับประทานขณะยังอ่อนเพราะไม่เหนียวเกินไป นิยมแกงใส่ชะอม หรือถั่วฝักยาว และใบชะพลูลงไปด้วย บางที่ใส่ปลาแห้ง ทำให้น้ำแกงมีรสชาติกลมกล่อม สำหรับสูตรนี้ ใส่ข่าและตะไคร้เป็นเครื่องแกง เพิ่มกลิ่นหอมของแกงด้วย ส่วนผสมคือ เห็ดลมอ่อน ชะอมเด็ด ใบชะพลูหั่นหยาบ เครื่องแกงมี พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง ข่าหั่น ตะไคร้หั่น กะปิ ปลาร้าต้มสุก เกลือ
แกงแค
หมวดแกง
แกงแคเป็นอาหารที่มีผักต่างๆ เป็นส่วนประกอบหลากหลายชนิด โดยเฉพาะผักที่ได้จากสวนครัวหรือริมรั้ว เช่น ผักตำลึง ผักชะอม ดอกแค ถั่วฝักยาว มะเขือขื่น มะเขือพวง พริกขี้หนู ใบพริก ผักเผ็ด ผักปราบ รวมทั้งเห็ดลมอ่อน ตูน ยอดมะพร้าวอ่อน โดยอาจมีเนื้อสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของแกง อาทิ เนื้อไก่ นก หมู ส่วนเครื่องแกงประกอบด้วย พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง ข่า ตะไคร้ กะปิ หรือปลาร้า
แอ็บหมู
หมวดแอ็บ
แอ็บหมู คืออาหารที่ปรุงด้วยการนำเนื้อหมูสด นำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง แล้วห่อด้วยใบตอง เช่นเดียวกับแอ็บอ่องออ แอ็บปลา ทำให้สุกโดยปิ้งหรือย่าง ด้วยไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก มีส่วนผสมคือ หมูบดติดมันเล็กน้อย ใบมะกรูดซอย ผักชี ต้นหอมซอย ไข่ไก่ มีเครื่องปรุง คือ พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ซอย ขมิ้นหั่น ข่าหั่น กะปิ เกลือ
แอ็บอ่องออ
หมวดแอ็บ
แอ็บอ่องออ หรือแอ็บสมองหมู คือ อาหารที่ปรุงด้วยการนำสมองหมูสด นำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง แล้วห่อด้วยใบตอง เช่นเดียวกับแอ็บหมู แอ็บปลา ทำให้สุกโดยปิ้งหรือย่าง ด้วยไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก ส่วนผสมคือ สมองหมู ใบมะกรูดซอย ผักชีซอย ต้นหอมซอย มีเครื่องปรุง คือ พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ซอย ขมิ้นหั่น ข่าหั่น กะปิ เกลือ
ไกน้ำเกลือ
หมวดอาหารว่าง/ ของทานเล่น/ ขนม
ไกน้ำเกลือ มีส่วนประกอบ คือ ไกแม่น้ำโขง เกลือ กระเทียมเจียว ข่าสับละเอียด